After Action Review:การอบรมนวัตกรรมการเรียนการสอน : การสอนเพื่อพัฒนาการคิด


After Action Review

หัวข้อการอบรม การอบรมนวัตกรรมการเรียนการสอน : การสอนเพื่อพัฒนาการคิด

วิทยากร รศ.ดร. ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ

ผู้บันทึก นางสาวณัฐฏ์พัชรสร สมบัติ รหัสนักศึกษา 57D0103107

ระดับปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาหลักสูตรและการสอน

*************************************************************************************

1.ความคาดหวังในการเข้าร่วมอบรม

กระบวนการเรียนเรียนใดที่จะช่วยพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียน

2. ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงานในครั้งนี้

ปัญญาของบุคคล ไม่ได้มีเพียงความสามารถ ด้านภาษาและคณิตศาสตร์ เท่านั้น แต่มีอยู่หลากหลายด้าน แต่ละคนมีความสามารถเฉพาะด้าน แตกต่างกันไป ดังนั้นเด็กแต่ละคน มีความสามารถ เฉพาะด้าน แตกต่างกันออกไป ดังนั้นผู้เรียนแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเก่ง เหมือนๆกัน การที่จะทำให้เด็กเก่งและฉลาด หลายด้านนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษา การทำงานของสมอง โดยเฉพาะการใช้สมองทั้งสองซีก เพื่อให้เด็กเกิดความสมดุลของชีวิต ซิ่งการทำงานของสมองทำหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้

สมองซีกซ้ายทําหน้าที่ในเรื่องการใช้ภาษา การเขียน การอ่าน ทักษะด้านตัวเลข การใช้เหตุผลทักษะด้านวิทยาศาสตร์ อาจเรียกการทำงานของสมองซีกนี้ว่า ส่วนของการตัดสินใจ

สมองซีกขวา ทำหน้าที่ของความเข้าใจ การเห็นภาพสามมิติ ความรู้สึกต่อศิลปะ ความมีสุนทรียภาพ ด้านดนตรี และการใช้จินตนาการในการดำเนินชีวิต เรียกสมองส่วนนี้ว่า ส่วนของการสร้างสรรค์

ฉะนั้นการสอนที่เน้นคำตอบจากตำรา เป็นคำตอบที่ถูกต้องของปัญหาต่างๆ ซึ้งมาจากการจัดการเรียนการสอน ไม่เปิดโอกาสให้คิดในสิ่งที่แตกต่าง ทําให้ผู้เรียนเกิดความกลัว ขาดความมั่นใจ พฤติกรรมการเรียนเช่นนี้ เป็นการปิดกั้นการทำงานของสมองซีกขวาอย่างสิ้นเชิง

วิธีการสอนที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเปิดโอกาสให้ผู้เรียนลงมือถือทำ คิด รู้จักเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับความรู้ใหม่ ซึ่ง การเรียนการสอนแบบ 4 MAT ถือว่าเป็นส่วนสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน

การจัดการเรียนการสอนแบบ 4 MAT เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญต่อ ความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยเฉพาะ อย่างยิ่งการใช้กระบวนการสอนที่สอดคล้อง กับความสามารถและความถนัดของผู้เรียน ที่มีความแตกต่างกัน ตลอดจนคำนึงถึงกระบวนการสอน ที่มุ่งพัฒนาสมองทั้ง 2 ซีก คือซีกซ้ายและซีกขวาไปพร้อมๆกัน ซิ่งจะสอดคล้องกับทฤษฎีพหุปัญญา ที่อธิบาย ถึงความสามารถของผู้เรียนที่แตกต่างกัน การเรียนรู้ของผู้เรียนมี 4 แบบที่แตกต่างกัน

ผู้เรียนแบบที่ 1 เป็นคนช่างคิดช่างสงสัย อยากรู้อยากเห็น ชอบเรียนรู้ด้วยการสังเกตและสัมผัส การเฝ้าดู การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ชอบทำงานร่วมกับผู้อื่น ผู้เรียนในกลุ่มนี้จะชอบตั้งคำถาม ไม่ชอบฟังครูพูด แต่ชอบที่จะพูดและสังเกตความรู้ต่างๆด้วยตนเอง

การจัดกิจกรรม การเรียนรู้สำหรับผู้เรียนกลุ่มนี้ ครูจะต้องกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้กับ

ผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนได้สังเกต คิดไตร่ตรองอยากตั้งคำถาม วิธีการสอนอาจใช้สถานการณ์จำลอง การนำข่าว ภาพเหตุการณ์มาเล่า การให้ดูของจริงหรือฉายวีดิทัศน์ให้ดู จะทำให้ผู้เรียนมีความสุข เกิดความสบายใจในการเรียนมากที่สุด

ผู้เรียนแบบที่ 2 เป็นผู้สนใจข้อเท็จจริง ชอบเรียนรู้จากการรับข้อมูลและสิ่งต่างๆจากครูหรือจากผู้อื่น เป็นคนช่างคิดวิเคราะห์

การจัดกิจกรรม สำหรับผู้เรียนกลุ่มนี้ ครูจะเป็นผู้ป้อนความรู้ในเนื้อหาที่ลึกซึ้ง มีสาระและมีหลักการ วิธีการสอน จะเป็นการบอกเล่า การบรรยาย การให้อ่านหนังสือ อ่านใบความรู้

ผู้เรียนแบบที่ 3 เป็นผู้สนใจวิธีการต่างๆ ชอบที่จะได้ลงมือปฏิบัติจริง

สำหรับการจัดกิจกรรมนั้น ครูจะปล่อยให้นักเรียนลงมือปฏิบัติของจริง ด้วยตนเอง ครูแต่ทำหน้าที่อำนวยความสะดวก จัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ ชี้แนะ แนะนำเพื่อให้นักเรียนลงมือปฏิบัติงานได้สำเร็จ โดยการทำแบบฝึกหัด การเคลื่อนไหวร่างกาย การเล่นเกมส์ การร้องเพลง การทดลองเป็นต้น

ผู้เรียนแบบที่ 4 เป็นผู้ชอบคนหาว่าสิ่งๆนั้น เป็นไปได้หรือไม่ ถ้าไม่เป็นอย่างนี้แล้วเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่ จึงสนใจในการค้นหาสิ่งใหม่ๆด้วยตนเอง ด้วยการทดลอง การพิสูจน์ การเรียนรู้จากความรู้สึกของตนเอง เรียนรู้ด้วยการลองผิดลองถูก

การจัดกิจกรรม สำหรับผู้เรียนกลุ่มนี้ ครูจะต้องจัดสถานการณ์ให้นักเรียน ได้ค้นหา คิดค้นและทดลองสิ่งใหม่ๆ ครูคอยกระตุ้นให้นักเรียนลองผิดลองถูก ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ครูเป็นเพียงแต่เป็นผู้เรียนรู้ไปพร้อมกับนักเรียน ทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินความรู้และคอยแนะนํา

ถึงแม้ว่าสมองจะทำงานแตกต่างกัน แต่งสมองทั้ง 2 ซีก ก็จะทำงานเชื่อมโยงกัน โดยมีการคิดร่วมกัน ตลอดเวลาในทุกๆ กิจกรรม ที่ทำ สมองทั้งสองซีก จึงมีการทำงานควบคู่กัน เพียงแต่จะใช้สมองซีกที่ตนเองถนัดมากกว่า

ดังนั้นการพัฒนาความคิดจึง มิได้ หมายถึงการพัฒนาให้ผู้เรียน มีทักษะการคิดและกระบวนการคิด ที่ดีเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการพัฒนาสมองทั้งสองซีกให้ทำหน้าที่อย่างสมดุลกัน

3.รู้แล้วคิดอะไรต่อ

การจัดการเรียนการสอน มักจะให้ความสำคัญกับวิชาคณิตศาสตร์ และภาษา วิธีการเรียนการสอนก็มักให้ผู้เรียนอ่านหนังสือเป็นสำคัญ วิธีการสอนแบบนี้เป็นการฝึก พัฒนาการสมองซีกซ้ายเป็นหลัก ผู้เรียนที่มีความถนัดตามการควบคุมของสมองซีก ขวา จึงมักมีปัญหา ด้านการเรียนวิชาต่างๆ ทำให้ถูกมองว่าเป็นพวกเรียนอ่อน ไม่ฉลาด แต่ที่จริงแล้วหากครู ใช้วิธีการสอนที่เน้นการเรียนจากการลงมือทำ การใช้จินตนาการ การใช้ประสาทสัมผัส เน้นการใช้สมองซีกขวา แล้วจะพบว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดี

4.นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร

จะพบว่าทุกครั้งที่สอนวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียน ครูใช้วิธีให้นักเรียนได้ฝึกพูด ทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน แสดงละคร ทำให้ผู้เรียนกลุ่มหนึ่งรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่กล้าแสดงออก ไม่มีส่วนร่วมในห้องเรียน จากการที่ได้ศึกษาการทำงานของสมองทั้ง 2 ซีก ทำให้ครูต้องเพิ่มกิจกรรม การค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนได้พัฒนาตนเอง ตามการทำงานของสมอง และทำให้ผู้เรียนสนุกในการเรียนและอยากเรียนวิชาภาษาอังกฤษ การเรียนการสอนแบบ 4 MAT นับว่าเป็นการสอน ที่ที่สามารถใช้เทคนิคการสอนอื่นๆ เข้าร่วมด้วย นับว่าเป็นการจัดการเรียนรู้ ที่สามารถพัฒนาผู้เรียน ที่มีความแตกต่างของแต่ละบุคคลได้ดีทีเดียว

คำสำคัญ (Tags): #4 mat
หมายเลขบันทึก: 580130เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2014 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2014 13:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท