ลงมือทำทบทวน สังเคราะห์ในหนึ่งวัน


ลงมือทำทบทวน สังเคราะห์ ในหนึ่งวัน

วันอังคาร ที่ 4 พฤศจิกายน 2557

ตื่นเช้าขึ้นมา สิ่งแรกที่ทบทวนอะไรที่ไม่ได้จัดการ ไล่เรียงแล้วก็เดินหน้า ทำวัตรเช้า รีเซ็ตตนเอง

เตรียมข้อมูลสำหรับการทำงาน จะว่าไปวันนี้พลาดเยอะมาก ๆ

ไม่ได้ประสานผู้จัดเรื่องการเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ ทำไมหล่ะ เพราะใจมันหลง ไม่ทบทวนไม่ตระหนักในหน้าที่

ทำไมหล่ะ เพราะมันแต่ห่วงทุกข์ของตนเอง วิ่งวนอยู่แต่ในความคิด ทำให้พลาดพลั้ง หลงเหลิง

ปกติต้องแจ้งให้เตรียมอะไรบ้าง กระดาษ A4 กระดาษฟรู๊ป ปากการเคมี หรือ สี

สายเสียง โต๊ะ Noteker

พอครูตามก็ เงอะงะตอบไม่ถูกเพราะมันไม่ได้เตรียมการ

ตอนนั้นทำแค่ ดูเข้าไปข้างในถอนหายใจผนวกกับคาถาที่ครูให้ ย้ำเตือนตนเอง

พอเริ่มทำงาน วันนี้ลงมาคุยสื่อสารมากขึ้น ไม่ปล่อยให้ โทสะที่เกิดจากการไม่ยอมรับข้อบกพร่องเผาใจนาน ๆ เหมือนที่ผ่าน ๆ มา

ไม่ใช่จะยอมรับข้อบกพร่องได้ปุ๊บปับนะ แค่พอมันเริ่มขึ้นมา หรือ เริ่มหนัก ๆ ก็ใช้คาถา ซ้อนขึ้นมาประคอง แล้วด้วยเนื้อของคาถาที่ครูเมตตามอบให้ทำให้ได้เห็น ได้ดูสิ่งที่เกิดขึ้นชัด ๆ มันเลยดับเร็วขึ้น หรือ ไม่เติบโตเรื้อรัง

แต่ถามว่า เต็มศักยภาพในตนเองรึยัง

มันก็ยังห่างไกลอยู่นะ หากเตรียมความพร้อม หรือ สติตั้งกว่านี้ มันยังดึงออกมาใช้ได้อีกมาก

นี่ยังติดนิสัยแย่ ๆ เดิม ๆ ของความไม่ชอบเตรียมการอยู่มาก แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้เห็นกับตนเองครู

มรดกที่ครูและอาจารย์ เมตตามอบให้ มีมากมายนะ มันฝังลึก ถูกเก็บในลิ้นชักข้างในนี่เองแหละ

มันถูกดึงขึ้นมาใช้ตอนมีสติในการสื่อสาร รู้เลยว่า สิ่งนี้ครูสอนมาแบบทำให้ดู ทำให้เห็น สอนให้คิด สิ่งนี้อาจารย์ตือสอนมา ให้รากฐาน ปูพื้นความเข้าใจมา ได้เห็นจากที่อาจารย์ ทำให้ดูสม่ำเสมอ

บอกได้เต็มปากเลยว่า “ติ๋วมีครูดีมาทั้งชีวิต”

กับวันนี้ พอได้ลงมือทำหน้าที่ FA มากขึ้น ก็ได้เห็นว่า

บทบาทของ FA ไม่ใช่ไปสอนเขาหรอก หลงคิดผิดกลัวอยู่ตั้งนาน

มันก็ คือ การไปฟังงานเขาอย่างที่ครู เมตตาสอน

ผู้วิจัยรู้ดีที่สุด หน้าที่ของ FA คือ มีกรอบหลวม ๆ ไว้ชี้ ฟังอย่างตั้งใจ แล้วนำกรอบที่พอเหมาะวางลงไปในสื่อที่เข้าสื่อสาร ให้ได้เห็นอะไรชัด ๆ มากขึ้น เช่น การตั้งคำถาม PICO ดึงออกมาให้ชัดว่า อะไร คือ P อะไร คือ I อะไร คือ C หรือ O คนที่ตัดสินก็คือ ผู้วิจัย กว้างแคบ หรือ จะทำในมุมไหน ไม่ใช่หน้าที่ FA แต่เป็นผู้วิจัย FA คือ ผู้ฟังและส่งกำลังใจ เพื่อให้นักวิจัยไปต่อได้ นี่คือ บทสรุปที่ได้กับตนเอง

แตกต่างจากเมื่อก่อนอย่างไร เมื่อก่อนรู้สึกว่า “ฉันไม่เห็นจะมีความรู้เกี่ยวกับงานของ รพ. หรือ ของผู้วิจัยเลย ไม่รู้จะทำอย่างไร เดี๋ยวเขาจะรู้ว่า ฉันไม่รู้”

เพราะมัวติดอยู่แต่ในความคิดผิดแบบนี้ ที่คิดเอาเองว่า “ฉันต้องรู้ทุกอย่างถึงจะทำหน้าที่ FA ได้”

ฟังมาก็หลายที เห็นมาก็หลายเวที กว่าจะก้าวออกจาก กรอบความคิด แคบ ๆดำ ๆ ก็ ใช้เวลาหลายปีอยู่เหมือนกัน

กับอีกบทบาท คือ ครูให้บรรยายเรื่อง การทบทวนวรรณกรรม ทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้เป็นประเด็นโปรดที่สุดเลยก็ว่าได้ ในการทำวิจัย หลายครั้งหลายที ตกม้าตายเพราะหลงในความคิดผิด มั่ว ๆ สับสนในลำดับความคิดของตนเอง และติอยู่ในกรอบแคบ ๆ ของวารสารที่เคยอ่านและงานวิจัยที่เคยทำ

พอต้องมาสื่อสารในวงกว้าง มองภาพกว้าง ๆ ก็ถอยออกมาแบบเงอะงะ

ขอโอกาสยืมภาพประกอบจาก FB ครู Kapoom เจ้าค่ะ

วันนี้ก็ใช่ว่าจะทำไม่พลาด ต้องบอกดัง ๆ ปนเสียงหัวเราะกังวานว่า “มันพลาดแทบทุกช๊อต”

ต้องแต่ notebook ตนเอง ที่พึ่งลงเครื่องใหม่ก่อนมา (ตะลุมบอนกันทั้งคืน แต่ก็ไม่ได้ลง antivireus) ทำให้ต้องย้ายขยับมาใช้เครื่องของผู้จัด ซึ่งเป็น window แบบที่ไม่เคยใช้ งม ๆ ซาว ๆ อยู่พักใหญ่ ด้วยทิฐิมานะของตนที่ไม่ยอมถาม

กับไสลด์ที่ต้องเตรียมใหม่ทั้งหมดเพราะข้อมูลหายไปกับ Hardisk ลูกเก่าที่ถ่ายโอนข้อมูลออกมาไม่ได้เลย

อาจเพราะเครื่องโดนไวรัส ทำให้ไฟล์ที่โอนมาไม่สามารถฉายขึ้นโชว์ได้ แต่ก็ดูเป็นจอเล็กได้

ก็เหมือนย้ำกับตนเอง เอาน่า มีประเด็นกับตนเองที่ครู ไกด์ให้ละว่า จะต้องพูดอะไร บ้าง ขอแค่ไม่หลุดประเด็นที่ครูชี้

ก็เหมือนพูดเอา ผู้ฟังตั้งใจฟังมากๆ เป็นความกรุณาที่ให้โอกาสได้แชร์ ใจข้างในก็ย้อนทวนว่า ระวังอย่าให้เขาเครียด

แต่ก็สะดุด อยู่หลายทีกับตนเอง

ก็ได้บทเรียนว่า ภาพไม่ได้ออกมาดีอย่างที่คิดฝันจินตนาการไว้ แต่ก็ไม่ได้ย่ำแย่จนไม่ไหวแล้ว

แต่ก็ต้องบอกว่า “แค่พอได้ พอผ่าน แต่ไม่ถึงกับประทับใจ”

นี่เป็นโหมดการประเมินตนเอง

มีอะไรที่แตกต่างจากเมื่อก่อน เมื่อก่อนหลง กังวลอยู่นาน และสิ่งที่นำมาสื่อสารมักจะเป็นประเด็นที่ตนเองถนัดอย่างเดียวแบบไม่กล้าก้าวออกนอกฟิลด์ ตอนนี้เหมือนข้างในกล้ามาขึ้น ขยับห่างออกจากความเคยชินเก่า ๆ การเผชิญอุปสรรค ไม่ได้จมจ่อ ช่องว่างช่องไฟก็ไม่ได้ นิ่งนานเครียด เหมือนเมื่อก่อน อันนี้ถือว่า พอได้มากขึ้น แต่ก็นั่นแหละ รู้กับตนเองว่า

“ยังมีอะไรอีกมากอยู่นะ กับศักยภาพข้างในที่จะดึงออกมาใช้ในการสื่อสารประเด็นนี้ให้กระจ่างได้แบบสั้นกระชัด”

ต้องลงไปค้นหา มองทบทวนพัฒนากับตนเอง

เย็น ๆ ออกไปวิ่ง อืมวิ่งอยู่ไม่นานฝนก็ลงเม็ด ก็เหมือนโดนวัดใจเหมือนกันนะขำ ๆ แต่ก็นั่นแหละไม่หนักงาน แต่ข้างในฟุ้งมากตอนวิ่ง คิดนั่นคิดนี่ ไม่หยุดหย่อน เหมือนแค่ออกกำลังกายมากกว่าเจริญสติ

ภาพรวมวันนี้ศรัทธาลงใจมากขึ้นกับ คาถาที่ครูเมตตาให้ ช่วยชีวิต แม้ยังพลาดหลายอย่างที่ไม่น่าให้อภัย ความเพียรมีมากขึ้นในการที่จะแก้ไข ไม่ปล่อยให้ใจจมจ่อกับสภาวะเก่า ๆ สติ มีมากขึ้น รู้ทันกายใจได้มากขึ้น แม้ตอนนั่งหลับในช่วงเที่ยง ๆ รู้สึกแปลกดี รู้เลยว่า ตนเองสัปหงกอยู่หลายที แต่ก็ไม่ได้ห้ามไม่ได้หยุดอะไร มันก็สัปหงกอยู่นั่นแหละจนรู้สึกว่า ครูลุกขึ้น เป็นอะไรแปลกใหม่ดี แต่ก็แค่บางทีไม่ถี่นักแค่ดีกว่าเมื่อก่อน สมาธิ ข้างในมีการจดจ่อกับสิ่งที่คิด ที่ทำมากขึ้น ปัญญาก็เหมือนปล่อยอะไร ๆ ที่ไม่เกิดประโยชน์ได้มาขึ้น เช่น ปล่อยโทสะที่ไม่ยอมรับข้อบกพร่องของตนเอง พอผ่านจุดนี้ไปเห็นว่า มันผิดจริง ๆ แล้วจะเสียเวลาโกรธเคืองเพราะอยากดีหรือสร้างภาพมันเสียเวลา ก็เหมือนเป็นการปลดปล่อยตนเองแล้วก็ไปข้างหน้า เอาใหม่

พูดง่ายนะคำนี้ เอาเข้าจริง ๆ ทำยากเหมือนกัน ทำได้เพราะครูเมตตาสอนและมอบกุศโลบายมากมายพอให้ใจเบาขึ้นจากการกอดทุกข์ซ้ำซากน้อยลง

ศีลเบียดเบียนครูอยู่นะ ใจรู้ว่า ครูเหนื่อย รู้สึกได้ชัดจากน้ำเสีย การลุกขึ้นมาทำบทบาทแม้จะมากกว่าเดิมแต่ก็ยังน้อยอยู่ผ่อนแรงครูได้ไม่มาก ยังเบียดเบียนผู้จัดเพราะบกพร่องเรืองการสื่อสาร แต่การยอมรับทำให้ได้ร่วมกันแก้ไข เห็นความเดือดร้อนของผู้อื่นที่เกิดจากขึ้นบกพร่องของตนเองชัดขึ้น ประเด็นที่ว่านี้ผนวกความด่างพร้อยไปถึงศีลข้อสองด้วย ศีลข้อสามข้อนี้พอได้แต่ก็มีขณะที่ทำความรู้เรื่องราคะแล้วเลี่ยงถอยออกมากับตนเอง ศีลข้อสี่ยังด่างพร้อยอยู่มาก พูดบางทีตอนเผลอก็หลุดเพ้อเจ้ออยู่บ่อย ข้อวัตรที่ยังดีเลย์ไม่ตรงเวลา ศีลข้อห้าเหล้าไม่ดื่มสิ่งเสพติดไม่ยุ่ง แต่จิตบางทีก็มีเมาๆ หลง ๆบ่อยนะ สติมีมากกว่าเดิมแต่ก็ยังน้อยอยู่

สรุปว่าดีขึ้น แต่ก็ยังไม่มากมาย ยังต้องฝึกอีกมากอยู่ สู้ต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #aar#ภาวนา
หมายเลขบันทึก: 579749เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2014 03:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2014 03:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท