รูปแบบการเสริมสร้างความสามัคคีของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยหลักธรรมสังคหวัตถุ 4


รูปแบบการเสริมสร้างความสามัคคีของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 (A Model of Northeastern Thais’ unity Reinforcement through Sanghavatthu (Fourfold Principle of Kindly Treatment))

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ประเมินรูปแบบ และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวิธีการเสริมสร้างความสามัคคีของประชาชนด้วยหลักธรรม สังคหวัตถุ 4 สมมติฐานของการวิจัย คือ ประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสนับสนุน แตกต่างกันมีรูปแบบการเสริมสร้างความสามัคคีด้วยหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 แตกต่างกัน เป็นการวิจัยผสมระหว่างการวิจัยเชิงสำรวจกับการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีการวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 582 คน และแบบสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ จากการสัมภาษณ์รายบุคคล จำนวน 23 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย() ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD) การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพได้ทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนมีการเสริมสร้างความสามัคคีด้วยหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการเสริมสร้างความสามัคคี โดยรวมทั้ง 8 ด้าน อยู่ในระดับมาก และประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา จังหวัด และปัจจัยสนับสนุนที่แตกต่างกัน มีการเสริมสร้างความสามัคคีด้วยหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 โดยรวมทั้ง 8 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนอาชีพไม่แตกต่างกัน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า การเสริมสร้างความสามัคคีของประชาชนด้วยหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 มีรูปแบบที่ดีและเหมาะสม ประกอบด้วย การเสียสละ เอื้อเฟื้อแบ่งปันสิ่งของเพื่อประโยชน์สุขของคนอื่น โดยไม่เห็นแก่ตัว การกล่าวถ้อยคำที่อ่อนหวานหรือการกล่าวคำสุภาพไพเราะ อ่อนหวาน ทำให้เกิดไมตรี รักใคร่นับถือกัน การร่วมมือร่วมใจกันในหน้าที่การงานเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในหมู่คณะ โดยมีการแบ่งภาระหน้าที่ตามความรับผิดชอบ รวมถึงการเสียสละเวลาในการช่วยเหลือสังคมหรือส่วนรวมเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และการทำตนเสนอต้นเสมอปลาย ตลอดถึงวางตนเหมาะสมแก่ฐานะ ภาวะ บุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม เหมาะสมกับฐานะที่ตนมีอยู่ในสังคม นอกจากนี้ยังต้องปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอต่อคนทั้งหลาย ให้ความเสมอภาคไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เสมอในสุขและทุกข์ ร่วมรับรู้ปัญหาและร่วมแก้ปัญหาเพื่อประโยชน์ของสังคม  ดาวน์โหลด บทความวิจัย.pdf

หมายเลขบันทึก: 579709เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2014 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2014 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท