หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

เข้าทาง


ถ้าเลือกปลูกไม้พื้นถิ่น ตั้งหลัก ๓ ปีแรกไว้สำหรับการดูแล หลังจากนั้นต้นไม้จะปรับตัวของมันเอง ด้วยคุณสมบัติที่มันทนต่อสภาวะอากาศของท้องถิ่นได้ดี พันธุ์ไม้พื้นถิ่นระดับสูงของพื้นที่นี่แหละเหมาะเชียว

ตั้งใจไว้ว่า เมื่อได้เดินทางบนถนนสาย ๖๐ เต็มเวลา จะแบ่งเวลาให้กับการคืนธรรมชาติให้แผ่นดิน เมื่อได้เวลาคืนมาเต็มๆ ก็ยังต้องตั้งหลัก จะคืนธรรมชาติให้แผ่นดินวิธีไหนได้บ้าง จะแบ่งเวลาไปทำจริงยังไง

ลงมือลองมาก่อนเริ่มเดินบนถนนสายนี้ไว้บางเรื่อง แอบสำรวจพันธุ์พืชตามหมู่บ้าน เห็นพืชพรรณก็กลับมาตั้งหลัก จะไหวหรือเปล่า พันธุ์พืชที่เติบโตได้ดีเป็นพืชประจำถิ่นทั้งนั้นแหละ ปลูกตรงไหนดี ปลูกพืชประจำถิ่นดีตรงไหน

เคยสนุกกับการช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมในรพ. พอไม่สวมหมวกใบไหนๆแล้ว ถ้าหวนกลับไปชวนให้คนรพ.ปลูกพืชประจำถิ่น จะมีคนทำตามมั๊ยนะ

เอาเหอะ ทำยังงี้ก่อนเหอะน่า ตั้งหลักแนวคิดตัวเองก่อน ต้องการอะไรเป็นผล แล้วค่อยตัดสินใจเรื่องการปลูกพืชประจำถิ่น เอาละ ได้ความแล้ว อยากคืนป่านิเวศให้แผ่นดิน

ที่ลองๆไว้ก่อนเข้าทางพอดี เข้าทางตามแนวความรู้ที่นักวิชาการแบ่งปันไว้เรื่องการปลูกป่านิเวศ เขาว่าปลูกพืชประจำถิ่นจะร่นเวลาให้ได้ป่าคืนมาใน ๑๐ ปี ไม่ต้องรอ ๑๐๐ ปี

เขาว่าให้จัดลำดับปลูก ลำดับแรกเริ่มจากทุ่งหญ้าไปสู่การปลูกพืชคลุมดิน เพื่อให้มันช่วยปรับสภาวะที่เหมาะสม แล้วจึงปลูกไม้พุ่ม เมื่อไม้พุ่มเจริญเติบโตเต็มที่ก็จะช่วยให้เกิดสภาวะเหมาะสมสำหรับไม้ยืนต้น ปลูกไม้ยืนต้นแล้วจึงเพิ่มพันธุ์ไม้ให้หลากหลาย นั่นแหละจึงได้ป่านิเวศกลับมา

ถ้าเลือกปลูกไม้พื้นถิ่น ตั้งหลัก ๓ ปีแรกไว้สำหรับการดูแล หลังจากนั้นต้นไม้จะปรับตัวของมันเอง ด้วยคุณสมบัติที่มันทนต่อสภาวะอากาศของท้องถิ่นได้ดี พันธุ์ไม้พื้นถิ่นระดับสูงของพื้นที่นี่แหละเหมาะเชียว

ลงไปคลุกพื้นที่สังเกตพันธุ์พืช หญ้าเอย วัชพืชเอย มีไม้พุ่มขนาดเล็กแทรกตัวอยู่บ้าง บางต้นรู้จัก บางต้นก็ไม่รู้จัก

หญ้าเจ้าชู้ หญ้าคานี่เยอะเลย ไม่ชอบหญ้าเจ้าชู้ตรงที่ชอบเจ้าชู้ ไม่ชอบหญ้าคาตรงใบคมบาดง่าย และรก ได้หญ้า ๒ ชนิดนี่แหละมาช่วยห่มดิน

ไม้พุ่มกลุ่มสาบเสือเยอะเลย อีกชนิดก็เป็นขลู่ เมื่อไรสาบเสืองาม ถ้าแถบนั้นมีขลู่ ขลู่จะค่อยๆตาย

ต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกมีตะไคร้ และต้นไม้ตระกูลมะ มะขาม มะม่วง ขนุน มะพร้าว ปาล์ม นักศึกษาฝึกงานที่พาตัวเข้าหมู่บ้านลองปลูกตะไคร้ไว้ให้ตรงดินที่มีหินปนเยอะ

รอหน้าฝนถัดมา ได้ผลแฮะ มันกลายเป็นพืชให้ร่มกับดินตรงนั้น พิสูจน์คำทายอะไรเอ่ยที่คุ้นหูเมื่อวัยเด็ก "ต้นเท่าครก ใบปรกดิน" จะจะเลย มีกำลังใจขึ้นอีกโขว่าไปต่อได้น่า "ป่านิเวศ"

หมายเลขบันทึก: 579657เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2014 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2014 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เขาว่าให้จัดลำดับปลูก ลำดับแรกเริ่มจากทุ่งหญ้าไปสู่การปลูกพืชคลุมดิน เพื่อให้มันช่วยปรับสภาวะที่เหมาะสม แล้วจึงปลูกไม้พุ่ม เมื่อไม้พุ่มเจริญเติบโตเต็มที่ก็จะช่วยให้เกิดสภาวะเหมาะสมสำหรับไม้ยืนต้น ปลูกไม้ยืนต้นแล้วจึงเพิ่มพันธุ์ไม้ให้หลากหลาย นั่นแหละจึงได้ป่านิเวศกลับมา

...
ขอบพระคุณหลักคิดที่ดี เหล่านี้ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท