เกณฑ์ความสำเร็จของตัวชี้วัดการทำKMในหน่วยงาน


ช่วยกำหนดเกณฑ์ในการวัดความสำเร็จให้กับตัวชี้วัดเหล่านี้ด้วยครับ ว่าต้องเป็นจำนวนเท่าไหร่(คืออยากให้ออกมาเป็นตัวเลขไปเลยครับเพื่อจะได้ประเมินระดับความสำเร็จในภาพรวมได้อย่างชัดเจนว่าอยู่ในระดับที่ผมตั้งสมมุติฐานไว้หรือไม่)

ทางโรงพยาบาลบ้านตากได้รับกระทู้คำถามเกี่ยวกับการทำวิทยานิพนธ์เรื่องKMในโรงพยาบาลบ้านตาก ในเรื่องของตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินของตัวชี้วัดต่างๆ ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ในภาพรวมของการทำKMของหน่วยงานต่างๆได้ จึงขอยกรายละเอียดมานำเสนอเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้นำเสนอความคิดเห็นตามรายการในกระทู้  ดังนี้ครับ

เรียนคุณหมอพิเชฐ พี่เกศราภรณ์ และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลบ้านตาก และผู้ที่เข้ามาอ่านข้อความนี้ ทุกๆ ท่าน
ผมได้สรรหาตัวชี้วัดความสำเร็จสำหรับวัดความสำเร็จของKM ในรพ.บ้านตาก จากการทบทวนวรรณกรรมทำให้ได้ตัวชี้วัดมาประมาณ 10 ตัวชี้วัด แต่ผมยังไม่ได้กำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของตัวชี้วัดแต่ละตัวทั้งนี้เพื่อให้การประเมินผล KM เหมาะกับกรณีศึกษามากที่สุดและเป็นการป้องกัน Bias ที่อาจเกิดจากตัวนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ ผมก็เลยอยากขอให้ทางคุณหมอ และพี่เกศราภรณ์ หรือเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ช่วยกำหนดเกณฑ์ในการวัดความสำเร็จให้กับตัวชี้วัดเหล่านี้ด้วยครับ ว่าต้องเป็นจำนวนเท่าไหร่(คืออยากให้ออกมาเป็นตัวเลขไปเลยครับเพื่อจะได้ประเมินระดับความสำเร็จในภาพรวมได้อย่างชัดเจนว่าอยู่ในระดับที่ผมตั้งสมมุติฐานไว้หรือไม่)


1. ลักษณะของบุคลากรตามแนวคิดThe fifth discipline ของ เซ็งเก้ (อันนี้ผมใช้Likert Scale)


2. จำนวนกลุ่ม CoP ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลบ้านตาก(ควรมีจำนวนเท่าไรหรือสัดส่วนเท่าไร?)


3. จำนวนสมาชิกของกล่ม CoP (แต่ละกลุ่มควรมีจำนวนสมาชิกเท่าไร?จึงจะเหมาะสม)


4. จำนวนองค์ความรู้ที่มีอยู่ในคลังความรู้ของโรงพยาบาลบ้านตาก (มีเท่าไรจึงถือว่าประสบความสำเร็จ?)


5. จำนวนอัตราการเพิ่มขึ้นขององค์ความรู้ที่อยู่ในคลังความรู้ของรพ.บ้านตาก (เทียบกับก่อนมี KM และปัจจุบันที่มี KM แล้ว สัดส่วนการเพิ่มต่อระยะเวลาควรจะเป็นเท่าไร?)


6. จำนวนนวัตกรรม/สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นจริงจากการคิดค้นของผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ ซึ่งรวมถึงตัวแบบทางการบริหารจัดการด้วย (เทียบกับช่วงก่อนที่จะมี KM ที่เป็นรูปแบบในรพ.แล้วในปัจจุบันควรจะมีเท่าไรจึงจะถือว่าประสบความสำเร็จ)


7. ต้นทุนที่ลดลงจากสิ่งประดิษฐ์ที่รพ.บ้านตากสร้างขึ้นเอง เปรียบเทียบกับการสั่งซื้อจากภายนอก (อันนี้ผมใช้เกณฑ์ว่า 50%ขึ้นไปดีมาก 40%ดี 30% ปานกลาง 20% พอใช้ 10%ยังต้องปรับปรุง-ตัวชี้วัดอันนี้พอจะใช้ได้ไหมครับ อยากให้ช่วยแสดงความคิดเห็นครับ)


8. มีการนำเอาตัวแบบด้านการบริหารจัดการที่คิดค้นขึ้นเองเอาไปใช้จริงในการบริหารงานในส่วนต่างๆ ของโรงพยาบาล(อันนี้ผมจะใช้ Checklist แล้วกำหนดเกณฑ์เหมือนข้อ 7)


9. การเข้าใช้ระบบ ดังนี้ครับ
9.1 จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ (กี่คนต่อวันจึงจะถือว่าประสบความสำเร็จ)
9.2 จำนวนสมาชิกของเว็บไซต์ (รพ.คาดหวังไว้เท่าไรจึงจะถือว่าประสบความสำเร็จ)
9.3 จำนวนการส่ง/Post ข้อความในเว็บบอร์ดและอัตราส่วนการเพิ่ม (เท่าไรจึงจะประสบความสำเร็จ?)
9.4 ความพึงพอใจของบุคลากรที่เข้าใช้ระบบ (อันนี้ผมทำเป็น Likert Scale แล้วครับ)
10. จำนวนการมาศึกษาดูงานด้าน KM จากหน่วยงานอื่น (ควรจะเป็นเท่าไรจึงจะประสบความสำเร็จ)
ตัวชี้วัดทั้ง 10 ตัวที่ผมได้มานี้จำเป็นที่จะต้องมีเกณฑ์ในแต่ละตัวครับ เพราะไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาเมื่อด้องสอบ Defend หัวข้ออีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นผมจึงขอรบกวนทางคุณหมอพิเชฐ พี่เกศราภรณ์ และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล หรือผู้ที่มีความรู้ด้าน KM ช่วยกัน Comment หรือกำหนดเกณฑ์ให้กับผมด้วยครับ ขอบคุณครับ
ขอแสดงความนับถือ
ไกรวุฒิ ใจคำปัน
09-1922878
[email protected]
[email protected]

 

ยินดีรับฟังข้อเสนอแนะครับ ผมอ่านแล้วก็หนักใจกับการตอบเหมือนกัน ตอนนี้ได้มอบให้ศูนย์คุณภาพ จัดทำคำตอบเบื้องต้นก่อนเสนอให้กรรมการบริหารโรงพยาบาลพิจารณาก่อนส่งให้คุณไกรวุธ

คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 5796เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2005 20:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 08:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ  ขอให้ประสบความสำเร็จในThesis

ส่วนความคิดเห็นในเรื่องต้วชี้วัด ต้องใช้ ข้อมูลก่อนทำ-หลังทำKM มาวิเคราะห์   การได้มาของข้อมูลคงไม่ยาก  เพราะทีมรพ.บ้านตากเก่งอยู่แล้วค่ะ

                         มลฤดี

 ผม-vเสนอความเห็นเบื้องต้นไปก่อนเผื่อจะนำไปใช้ประโยชน์หรือกระตุ้นความคิดอื่นๆครับ
1. เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ และทางกรรมการบริหารโรงพยาบาลได้นำทั้ง 5 ข้อของเซ็งเก้ มาแปลงเป็นCore competency ของเจ้าหน้าที่ทุกคนในโรงพยาบาลด้วยเพราะเรามีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อให้สามารถเป็นองค์กรคุณภาพได้อย่างยั่งยืน ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของลูกค้าได้ อาจประเมินเป็นน้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุดหรือให้คะแนนเป็น1-5 ก็ได้ และถ้าสามารถกำหนดได้ว่าถ้าจะตอบน้อยหรือมาก จะต้องเป็นอย่างไรมีเกณฑ์อย่างไร ซึ่งตอนนี้ทางโรงพยาบาลก็พยายามทำตัวนี้อยู่แต่ยังไม่เสร็จเป็นลักษณะProficiency level 5 ระดับ(แต่ไม่เริ่มจาก 0 ผมให้เริ่มจาก 1-5 เลย)
2,3. ข้อนี้จะตอบได้ยากว่าควรมีเท่าไหร่ เพราะไม่มีใครกำหนดไว้ อย่างที่บ้านตากเองก็มีไม่ม่ากนัก เป็นCoPตามกลุ่มทีมคร่อมหน่วยงาน ข้อนี้ควรหาBenchmark จากทฤษฎีหรือหน่วยงานอื่นๆมาพิจารณา ที่ได้จากโรงพยาบาลบ้านตากน่าจะเป็นการสำรวจว่ามีเท่าไหร่ แต่มีเท่าไหร่แล้วสำเร็จบอกยากครับ
4. บอกยากเช่นกัน ว่าต้องมีเท่าไหร่ น่าจะเป็นลักษณะRelativeหรือBenchmarking มากกว่า แล้วสำรวจดูว่าของบ้านตากมีจำนวนเท่าไหร่ ในความเห็นผมคิดว่ามีเท่าที่จะทำงานให้ครอบคลุมตามภารกิจได้
5,6. ก็เช่นกัน เราบอกได้ว่ามีเท่าไหร่ แต่อัตราการเพิ่มควรเป็นเท่าไหร่ ต้องหาทฤษฎีหรือต้นแบบมาอ้างอิงครับ
7,8. เห็นด้วยกับการกำหนดเกณฑ์ แต่จะบอกได้อย่างไรว่าจะใช้ตัวเลขเท่าไหร่ ตัวเลขที่กำหนดจะมีเหตุผลอะไรมาสนับสนุนได้บ้าง
9. ทีมงานจะคุยกันก่อนว่าเป็นเท่าไหร่ครับ
10. เหมือนข้อ 9
จากตัวชี้วัดทั้ง 9 กลุ่ม ผมคิดว่าเป็นแค่การวัดตัวKM วัดเครื่องมือหรือเป็นการวงัดกระบวนการ ไม่ได้วัดที่ผลสัมฤทธิ์ ทำให้ตอบได้ยากเนื่องจาก ไม่แน่ใจว่าจะสามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ที่ได้กับกระบวนการที่ทำได้ว่าต้องทำเท่าไหร่ ถึงจะได้ผลลัพธ์เท่านั้น

  เยี่ยมเลยครับ กำลังมองหา KPI อยู่พอดี ขออนุญาต นำไปปรับใช้นะครับ

JJ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท