ภาพรวมทิศทางปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นไทย 2557


ภาพรวมทิศทางปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นไทย 2557

ภาพรวมทิศทางปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นไทย

(๑) ปัญหาการปกครองส่วนท้องถิ่น (ปัญหาเดิม ๆ ไม่ได้รับการแก้ไข)

(๒) รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ บัญญัติไขปัญหาได้ดีแล้ว

(๓) ร่างกฎหมายที่ต้องอนุวัติตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มีการจัดเตรียมไว้แล้ว แต่ไม่ได้รับการตราเป็นกฎหมาย

(๔) การศึกษาและงานวิจัยเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นมีจำนวนมาก แต่ไม่ได้รับนำไปปฏิบัติ

(๕) การปฏิรูปท้องถิ่นอยู่บนพื้นฐานของความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน

(๖) สรุปทิศทางข้อเสนอการปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น

(๑) ปัญหาการปกครองส่วนท้องถิ่น (ปัญหาเดิม ๆ ไม่ได้รับการแก้ไข)

จากการศึกษางานวิจัยตั้งแต่ ๒๕๔๐ – ๒๕๕๗ พบว่า ปัญหาการปกครองท้องถิ่นเป็นปัญหาเดิม ๆ ไม่ได้รับการแก้ไข ได้แก่

๑. รูปแบบและจำนวนของ อปท. มีมากเกินไป (๗,๘๕๓ แห่ง)

๒. ความอิสระด้านการคลัง และปัญหารายได้ของ อปท. มีจำกัด และน้อยเกินไป

๓. การกระจายอำนาจ และการซ้ำซ้อนด้านอำนาจหน้าที่ระหว่าง อปท.

๔. ปัญหาการกำกับดูแล

๕. ปัญหาการบริหารงานบุคคล

๖. ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองตนเอง

๗. ปัญหาการทุจริตภายใน อปท.

(๒) รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ บัญญัติไขปัญหาได้ดีแล้ว

ปัญหาท้องถิ่นนับแต่ ๒๕๔๐ – ๒๕๕๐ ได้รับการแก้ไขปัญหาโดยรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ในระดับที่ดีมาก คือ

๑. ปัญหาเรื่องโครงสร้าง คือ แยกหน้าที่ฝ่ายบริหารและฝ่ายสภา (มาตรา ๒๘๕)

๒. ปัญหาอำนาจหน้าที่

๒.๑ คณะกรรมการกระจายอำนาจไตรภาคี (มาตรา ๒๘๓)

๒.๒ กำหนดอำนาจหน้าที่ท้องถิ่นใน รธน. (มาตรา ๒๘๙, ๒๙๐)

๓. ปัญหารายได้ (มาตรา ๒๘๓) คือ

๓.๑ กำหนดเกณฑ์จัดสรรสัดส่วนภาษี ทบทวนทุก ๕ ปี รายงานต่อรัฐสภา

๓.๒ ให้มีกฎหมายกลางรวมรายได้ท้องถิ่นทุกประเภท

๔. ปัญหาการบริหารงานบุคคล (มาตรา ๒๘๘) คือ ให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลองค์กรเดียว (ไตรภาคี) กำหนดให้มีองค์กรพิทักษ์ระบบคุณธรรม

๕. ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน (มาตรา ๒๘๖)

๖. ปัญหาจำนวนและรูปแบบ อปท. (มาตรา ๗๖)

(๓) ร่างกฎหมายที่ต้องอนุวัติตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มีการจัดเตรียมไว้แล้ว แต่ไม่ได้รับการตราเป็นกฎหมาย

นับแต่ ๒๕๕๐ ได้มีการร่างกฎหมายที่ต้องอนุวัติตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ได้หลายฉบับ แต่ก็ไม่ได้รับการตราเป็นกฎหมาย ได้แก่

๑. ประมวลกฎหมายปกครองท้องถิ่น (กำหนดรูปแบบและควบรวม อปท. แก้ไขปัญหาการกำกับดูแล และบทบาทกรมส่งเสริมฯ)

๒. ร่างพระราชบัญญัติรายได้ท้องถิ่น

๓. ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น

๔. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

๕. ร่างพระราชบัญญัติจังหวัดปกครองตนเอง

๖. ร่างพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนในการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่...) แก้ไขเพิ่มเติม

(๔) การศึกษาและงานวิจัยเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นมีจำนวนมาก แต่ไม่ได้รับนำไปปฏิบัติ

ปัญหาเองการกระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้รับความสนใจจากนักวิชาการมหาวิทยาลัย และสถาบันต่าง ๆ จึงมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเป็นงานวิจัยที่ก้าวหน้าจำนวนมาก ได้แก่

๑. สถาบันพระปกเกล้า

๒. สถาบันให้คำปรึกษาและวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๓. คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.)

๔. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

แต่งานวิจัยเหล่านี้ กลับไม่ได้รับการนำไปปฏิบัติ

(๕) การปฏิรูปท้องถิ่นอยู่บนพื้นฐานของความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน

๑. การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่บนพื้นฐานความไม่วางใจซึ่งกันและกัน กล่าวคือ

๑.๑ ส่วนกลางไม่ไว้วางใจนักการเมืองท้องถิ่น

๑.๒ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ไว้วางใจกันเอง

๑.๓ นักการเมืองท้องถิ่นกับข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน

๑.๔ สมาคมเกี่ยวกับท้องถิ่น ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน

ผลของการไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันดังกล่าว ส่งผลให้กฎหมายการกระจายอำนาจท้องถิ่นที่ตราเป็นกฎหมายแล้วเป็นหมันไปโดยปริยายในหลายฉบับ

๒. ความสับสนของข้อเสนอแนะ ที่ไปตามทิศทางใครทิศทางมัน

ผลจากการไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน และจากงานวิจัยที่ต่างคนต่างทำ ทำให้ข้อเสนอแนะการปฏิรูปเป็นไปอย่างสับสน ส่วนข้อเสนอของกลุ่มต่าง ๆ แล้วจะไปคนละทางและขัดกันเอง

๓. สุดท้าย

การปฏิรูปท้องถิ่น ก็ยังอยู่ในวิถีทางที่กำหนดจากส่วนกลาง ซึ่งนักวิชาการจะมีบทบาทสูงในการจัดทำข้อเสนอแนะและแนวทางปฏิรูป

(๖) สรุปทิศทางข้อเสนอการปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น

ปัญหาการปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะมีการนำเสนอให้มีการปฏิรูปมีทิศทาง แบ่งได้ ๓ กลุ่ม

กลุ่มที่ ๑ ข้อเสนอในปัญหาที่จะได้รับการแก้ไขแน่นอน (พัฒนาให้ดีขึ้น)

(๑) การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

(๒) การกระจายรายได้ ความอิสระทางด้านการคลัง การปฏิรูปภาษีท้องถิ่น

(๒.๑) ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (แก้ไขปัญหาการกำกับดูแล)

(๒.๒) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองตนเอง

(๒.๓) การกระจายอำนาจ และแบ่งสรรอำนาจหน้าที่ระหว่าง อปท.

กลุ่มที่ ๒ ข้อเสนอที่สับสนไร้ทิศทาง

รูปแบบและจำนวนของ อปท. เช่น

(๑) ข้อเสนอให้มีเทศบาลจังหวัด เทศบาลอำเภอ

(๒) ข้อเสนอให้ควบรวม อปท. เพื่อลดจำนวน อปท.

(๓) กระทรวงปกครองท้องถิ่น หรือ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายปกครองท้องถิ่น

กลุ่มที่ ๓ ข้อเสนอที่ไม่ได้รับตอบรับ แน่นอน

(๑) การยุบองค์การบริหารส่วนจังหวัด

(๒) จังหวัดปกครองตนเอง

C R : ณรงค์ฤทธิ์ เพชรฤทธิ์, “หลักกฎหมายปกครองวันละเรื่อง"

น.บ., น.ม., เนติบัณฑิตไทย, ประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน มธ., ทนายความอิสระ

3 กันยายน 2557

อ้างอิง

ณัฐกร วิทิตานนท์, "10 ปี การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น(พ.ศ.2543-2552): ฤาการเดินทางเพื่อกลับมา "หยุด" ตรงจุดเดิม", 4 ตุลาคม 2553,

http://www.prachatai.com/journal/2010/10/31342

วิทยากรเชียงกูล, "การกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น", สำนักพิมพ์มิ่งมิตร : กทม. 2540, https://witayakornclub.wordpress.com/2008/10/01/การกระจายอำนาจการปกครอ/

"… แต่กระทรวงมหาดไทยที่รวมศูนย์อำนาจปกครองมาตั้งแต่ศตวรรษที่แล้ว กลับใช้วิธีบิดเบือนเป็นการกระจายอำนาจให้ข้าราชการในท้องถิ่น แทนที่จะกระจายอำนาจให้ประชาชน …"

หมายเลขบันทึก: 579541เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2014 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กันยายน 2016 06:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท