​อารักขาพืชกับตัวอย่างที่ถูกศัตรูพืชทำลาย


ปรับแนวคิดที่จะใช้วิธีการสำรวจตรวจนับแมลงศัตรูพืช และมีการตรวจแมลงศัตรูธรรมชาติที่เรียกว่าแมลงที่มีประโยชน์นั่นเอง แมลงศัตรูธรรมชาติเหล่านี้ ปกติในทางธรรมชาติจะมีอยู่แล้ว แต่เกษตรกรละเลยการตรวจสอบ สังเกตว่ามีอยู่ในแปลงปลูกพืชของเกษตรกรหรือไม่

                     

                            

                    อารักขาพืชกับตัวอย่างที่ถูกศัตรูพืชทำลาย ในฤดูการทำนาในปีนี้ในเขตพื้นที่จังหวัดลำปาง สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ช่วงฝนที่ตกชุกติดต่อกันหลายวัน อุณหภูมิ ความชื้นในอากาศ ซึ่งเอื้อต่อการแพร่ขยายของแมลงศัตรูพืชที่เหมาะสม ซึ่งบางครั้งก็จะมีเกษตรกรและนักส่งเสริมการเกษตร เกษตรอำเภอ ที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ เกิดแมลงศัตรูพืช เข้าทำลายพืชเศรษฐกิจที่ปลูก เป็นต้นว่าสาเหตุเกิดจากโรคและแมลงศัตรูพืช ที่ก่อให้เกิดการระบาด ได้นำตัวอย่างต้นข้าวที่เกิดจากถูกโรคและแมลงเข้าทำลาย มาให้ ท่านเกษตรจังหวัดลำปาง (นายสมพร เจียรประวัติ ) และกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง ได้ให้คำแนะนำและวินิจฉัยตัวอย่าง แต่ที่สำคัญที่สุดการดูแลผลผลิตทางการเกษตรให้ได้คุณภาพนั้น มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่หลายประการ เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตของเกษตรกรตั้งแต่การเตรียมดิน พันธุ์ การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวผลผลิต จะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง บางครั้งก็ต้องยอมรับว่าแมลงศัตรูพืชระบาด แต่เกษตรกรบางรายยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ยังมีการเกษตรส่วนหนึ่ง ได้รวมตัวรวมกลุ่มกันเพื่อการเรียนรู้ หรือ ปรับแนวคิดที่จะใช้วิธีการสำรวจตรวจนับแมลงศัตรูพืช และมีการตรวจแมลงศัตรูธรรมชาติที่เรียกว่าแมลงที่มีประโยชน์นั่นเอง แมลงศัตรูธรรมชาติเหล่านี้ ปกติในทางธรรมชาติจะมีอยู่แล้ว แต่เกษตรกรละเลยการตรวจสอบ สังเกตว่ามีอยู่ในแปลงปลูกพืชของเกษตรกรหรือไม่

                       

                     บางครั้งเมื่อทีมงานของกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง ได้ลงไปเยี่ยมแปลงนาเกษตรกร และได้พบ วิธีการตัดใบข้าวของเกษตรกร นี่จึงเกิดคำถามว่า เกษตรกรเจ้าของแปลงนาเขาตัดใบข้าวทิ้งทำไม เมื่อเราได้สอบถามเกษตรกร ได้ตอบเราว่า ในข้าวงามเกิน( ต้นข้าวงามมากเกินไป ) เกิดอาการเฝือใบ หากไม่ตัดใบข้าวทิ้งต้นข้าวจะล้มลงระนาบกับพื้นนา จะทำให้ผลผลิตข้าวนั้นเสียหายในกรณีที่ลุ่มและมีน้ำแช่ขัง


                       การลงพื้นที่นาของเกษตรกร เราได้แนะนำเกษตรกรได้ใช้สวิงโฉบแมลง เพื่อสำรวจว่า จะมีแมลงศัตรูธรรมชาติ และแมลงศัตรูพืช มีอยู่หรือไม่ มันจะสามารถควบคุมการระบาดทางธรรมชาติอยู่ได้หรือไม่ ประเด็นนี้ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน(อกม.) นักส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบพื้นที่ จะต้องมีความเข้าใจในการใช้ศัตรูธรรมชาติ ควบคุมศัตรูพืช เพื่อส่งเสริมแนวคิดให้เกษตรกรและชุมชน ได้มีการอนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติไว้ พร้อมทั้งกระตุ้นให้เกษตรกร ได้เกิดความตระหนักในการใช้สารเคมีเกินความจำเป็นของเกษตรกร

                      

                   

                   

                         ทั้งนี้ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปางร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอ อปท. เกษตรกรผู้นำ อกม. ต้องให้มีเป้าหมายการทำงานเชิงบูรณาการ ร่วมกันพัฒนาศูนย์จัดการศัตรูชุมชนให้สามารถขับเคลื่อน โดยชุมชนให้ได้ หากเกิดการระบาดของศัตรูพืชขึ้นมาในแปลงปลูกพืชของเกษตรกร เกษตรกรและชุมชนจะสามารถแก้ไข และป้องกันกำจัดได้อย่างรวดเร็ว ด้วยชุมชนเองครับ



เขียวมรกต

๓๑ ตค.๕๗



หมายเลขบันทึก: 579531เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2014 16:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2014 18:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สุดยอด  ท่านเขียว เทคนิคง่ายๆ ที่เกษตรกรทำได้เอง

อาศัยการสังเกต และขยัน ก็จัดการเองได้

...ศัตรูของพืชมีทั้งคุณ และโทษ...ที่ทำให้เกิดสมดุลทางธรรมชาติที่เราละเลยมานาน...น่าสนใจนะคะ

ขอขอบคุณท่านวอญ่าฯ ที่กรุณาแวะมาทักทายและแลกเปลี่ยนกัน เป็นประจำครับ

ขอบคุณ ท่านอาจารย์ ดร.พจนา ที่กรุณาแวะมาทักทายและแลกเปลี่ยนให้ข้อคิดดีๆๆเสมอมาครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท