เกษตรกร...มือหนัก


แม้ว่าเกษตรกร จะให้ปุ๋ยถูกต้องตามสูตรการสร้างลูกลำไยเพิ่มเติมเพื่อหวังจะแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้น (ที่มองเห็นจากภายนอก)ไปมากมายเพียงใด ก็ไม่ได้เกิดผลดี เพราะรากฝอยซึ่งทำหน้าที่ดูดน้ำ และแร่ธาตุ การแตกกิ่งของต้นลำไย ถูกรบกวนด้วยสารฯ ตกค้างดังกล่าว

สวัสดี..ค่ะ

           ห่างหายไปนาน...ก็ใกล้จะจบแล้ว ต้องไปฝึกงาน... กลับมาทำงานวิจัย แล้วก็...เรียนหนัก

เลยห่างเหิน ไปนานกับ GTK... แต่อย่างไร ก็ยังคิดถึง พี่ๆ และสมาชิก ที่เคยทักทาย...อยู่เสมอ...ค่ะ

.

           ไหนๆ ก็กลับมาแล้ว ขอเขียนบันทึก...สักเรื่อง สำหรับเกษตรกรไทย.... โดยเฉพาะ...เกษตรกร...มือหนัก

และเกษตรกร...ที่ ผลผลิตลำไยภายในสวน มีคุณภาพ และปริมาณผลผลิต ค่อยๆ ลดลง ทุกปี...ทุกปี...ค่ะ

ก็เรื่องการใช้สารฯ เพื่อการชักนำการออกดอกของลำไย...ค่ะ

.

เรื่องมีอยู่...ว่า

.

สารฯ ที่ใช้ในการชักนำให้ลำไยออกดอก....คุณสมบัติ ก็เหมือนยากำจัดวัชพืช  

.

เราใส่ครั้งที่ 1 ด้วยมีวัตถุประสงค์ ทำลายระบบการดูดซึมของรากลำไย เป็นการสร้างความเครียด

.

และจะใส่ครั้งที่ 2  ในสัปดาห์ถัดมา โดยจะใช้ปริมาณน้อยลงกว่าเดิมครึ่งหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะเน้นเพียงให้สารฯ ตัวเดียวกันนี้ ไปรบกวนการดูดซึมของ....รากฝอย

.

มีงานวิจัย ถึงปริมาณการใข้สารฯ ที่มีความบริสุทธิ์ ของสารฯ ที่ 99.9 %  ในสัดส่วนของปริมาณที่จะใช้ ซึ่งเหมาะสม และเพียงพอกับขนาดทรงพุ่ม และอายุของต้นลำไย

.

ซึ่งผลที่ได้ ก็เป็นที่....น่าพอใจ

.

แต่เกษตรกร...บ้านเรา มือหนัก 

.

รวมไปถึง กลัวว่าลำไย......จะไม่ออกดอก

.

เลยอัดซะ....เต็มที

.

เบิ้ลสอง...สาม..เท่าตัว

.

ตามด้วย สารพัดสาร...สารพ้ดปุ๋ย...สารพัดฮอร์โมน

.

บางตัว เป็นสารตัวเดียวกัน....แต่ต่างกันแค่...ยี่ห้อ

.

ก็ใส่...มันเข้าไป...ไม่อ่าน หรืออ่านไม่เข้าใจ เขาบอกให้ใส่..ก็ใส่

.

ผลที่ได้...ลำไยออกดอก...สมใจ

.

ได้ใจ...ปีหน้า เอาใหม่....จัดเต็ม...แถม...จัดเพิ่ม

.

คราวนี้....ผลที่ได้....ลำไยไม่...ออกดอก

.

เอาใหม่...ปีนี้...ยังมีเวลา  คิดว่าปุ๋ยยาบำรุง...คงน้อย ใส่มัน....เข้าไปอีก

.

แล้วก็...ราดสารใหม่ เบิ้ลสอง...สาม..อาจถึง...สี่

.

สมใจ.....ลำไยออกดอก...จนได้

.

แล้วก็ดูแลไป....อย่างดี.....แต่ผลที่ได้.....ผลผลิตมีคุณภาพ และปริมาณ....ลดลง

.

ผลที่ได้.....ขาดทุน

.

ผลผลิตลดลง...ทุกปี...ทุกปี.... 

.

แถมต้นลำไยในสวน เริ่มใบเล็ก ใบร่วง....แห้งตายไปทีละต้น....ที่ละต้น

.

มันเกิดอะไรขึ้น....?

.

เขาเรียกว่า ตายผ่อนส่ง สาเหตุ....เพราะเรากำลังสะสม...สารพิษ

.

มาทำความเข้าใจกัหน่อย...ค่ะ 

.

สารฯ ชักนำการออกดอกสำหรับลำไย...นั้น

.

ควรใช้ให้แต่...พอเหมาะ...พอสม...ค่ะ

.

อย่าใช้มากเกิน เพราะส่วนเกินมันจะ...สะสม 

.

สารชักนำการออกดอกเหล่านี้ ถ้าเกษตรกรให้มากเกินไป ก็จะกลับกลายเป็นสารพิษตกค้างคงอยู่ในดิน

.

หากไม่มีฝนตก หรือปริมาณน้ำท่ี่เกษตรกรให้ไปนั้น ไม่มากพอที่จะละลายให้สารฯ ตกค้างเหล่านี้ จมลงเลยระดับการหาอาหารของรากฝอยของลำไย ซึ่งจะหากินอยู่ในแนวระดับผิวดินแล้ว

.

ผลที่จะเกิดขึ้นคือ : 

.

ผลผลิตของลำไยที่จะได้....ส่วนมากลูกจะเล็ก เปลือกหนาแข็ง ผิวสีเข้ม แตกง่าย

.

แม้ว่าเกษตรกร จะให้ปุ๋ยถูกต้องตามสูตรการสร้างลูกลำไยเพิ่มเติมเพื่อหวังจะแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้น (ที่มองเห็นจากภายนอก)ไปมากมายเพียงใด ก็ไม่ได้เกิดผลดี เพราะรากฝอยซึ่งทำหน้าที่ดูดน้ำ และแร่ธาตุ การแตกกิ่งของต้นลำไย ถูกรบกวนด้วยสารฯ ตกค้างดังกล่าว 

.

ผลที่จะตามมาคือ ปุ๋ย ยา และสารเคมี ที่ใส่ในดินช่วงพัฒนาลูกลำไย และที่ใส่เพิ่มเพราะนึกว่าปุ๋ย ยา ไม่เพียงพอเหล่านั้น... รากของต้นลำไยไมสามารถดูดซึมนำไปใชได้เท่าที่ควร 

.

ปุ๋ย ยา สารเคมี ที่ตกค้างอยู่ จะทำให้ดินเสื่อม น้ำซึมผ่านได้น้อย ออกซิเจนในดินน้อย ดินแข็ง ออกซิเจนน้อย  ไม่เหมาะกับการอาศัยของสัตว์ในธรรมชาติ ที่เป็นประโยชน์ในการบำรุงดิน เช่นไส้เดือน ฯลฯ 

.

ในที่สุด...ดินจะมีสภาพเป็นกรด เกิดเชื้อรา และมีเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อรา

.

ภาวะดังกล่าวที่เกิดขึ้น ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ ทำให้ปริมาณของจุลินทรีย์ ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสลายสารพิษตามธรรมชาติ....ลดลงไปด้วย 

.

รากลำไยถูกรบกวนจากสารฯ พิษตกค้าง ทำให้ดูดซึมน้ำ และธาตุอาหารในดิน...ได้น้อย

.

เมื่อต้นลำไย ไม่มีธาตุอาหาร มากพอไปสู่ใบ..ซึ่งจะทำหน้าที่เปลี่ยนธาตุอาหารที่ได้มานั้น ให้เปลี่ยนกลายเป็นสารอาหาร สำหรับจะส่งไปเลี้ยงทุกๆ ส่วนของต้นลำไย

.

อวัยวะ ทุกๆส่วนของต้นลำไย ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มเซลล์เนื้อเยื้อเจริญใหม่ในทุกๆ เซลล์

ก็จะมีภาวะผิดปกติ 

.

ใบใหม่ของลำไย ที่เดขึ้น ก็จะซีด ใบเล็ก กิ่งเปราะ เกิดเชื้อราเป็นรอยด่างขาวเป็นจุดๆ หรือเป็นวงแหวน หรือในลักษณะอื่นๆ (ตามชนิดของเชื้อที่เข้าทำลาย)

.

ใบแก่จะซีดเหลืองลง เพราะสารอารหารมีน้อย จึงจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายสารอาหาร ที่มีสะสมอยู่ในใบแก่เหล่านั้น  เคลื่อนย้ายไปเพื่อส่งไปเลี้ยงใบอ่อนที่เกิดออกมาใหม่ ทำให้ใบแก่ซีดเหลือง แห้งกรอบ หลุดร่วงไปในที่สุด

.

แต่เนื่องจากใบอ่อนที่ออกมาใหมนั้น...มีมาก สารอาหารสะสมจากใบแก่ มีไม่เพียงพอ ส่งผลให้ใบลำใยใหม่จะมีขนาดเล็ก สีซีดจาง ไม่สมบรณ์

.

เมื่อใบใหม่ของลำไย....ไม่สมบูรณ์  ก็จะส่งผลให้ระบบการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างสารอาหาร...บกพร่อง ได้สารอาหารน้อย

.

เมื่อลำไยมีอาหารน้อย ระบบต่างๆ ภายในเซลล์  ภายในกลุ่มของเซลล์ (เนื้อเยื่อ) หรือภายในกลุ่มของเนื้อเยื่อ (อวัยวะ) ของต้นไม้  คือราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ก็จะไม่สมบูรณ์ 

.

เมื่อระบบไม่สมบูรณ์  จะเริ่มต้นที่กลุ่มเนื้อเยื่อแต่ละส่วนก็จะเปราะบาง จนเซลล์วอลล์เสื่อมสภาพ ถูกเชื้อโรคโจมตีจากภายนอก 

.

ในส่วนภายในของระบบโครงสร้างของเซลล์  จะไม่สามารถคัดแยก หรือกักเก็บสารพิษ หรือของเสียที่เข้ามาได้

.

เมื่อภายในเซลล์เสื่อมสภาพ ของเสียต่างๆ ที่ถูกกักเก็บไว้ ก็จะแพร่ไปสู่เซลล์อื่นๆ เซลล์อื่นๆ เกิดสภาวะแบบเดียวกัน 

.

ในที่สุด กลุ่มของเนื้อเยื่อ (อวัยวะ) ก็จะชำรุด และเสื่อมสลายไป....ในที่สุด

.

อวัยวะแรกของลำไย ที่จะถูกทำลายได้ง่ายที่สุดคือ "ราก" เพราะอยู่ใกล้ความชื้น และเชื้อรา 

.

.

.

สรุปอาการที่เกิดขึ้นจากปริมาณสารตกค้างในดิน จนเกิดภาวะเป็นพิษ...คือ

.

ต้นลำไยจะเริ่มให้ผลผลิตคุณภาพ และปริมาณ...ลดลง/ ต้นลำไยใบใหม่จะ....เล็ก  /ใบเก่าจะ....เหลือง /กิ่งเล็กจะ....เปราะ /กิ่งใหญ่จะ...แห้งแข็ง...มีเชื้อราด่างขาว)

.

.

.

อาการที่จะเกิดขึ้นกับต้นลำไยของเกษตรกร ภายใน 1 ปี (หากไม่รีบแก้ไข)

.

ปลายยอดอ่อนใหม่ ทุกๆ ยอด จะมีสีน้ำตาล...เข้มขึ้น 

.

ยอดอ่อนเกร็ง...แข็ง

.

ยอดเหี่ยว...คอตก

.

ยอดไหม้

.

ปลายใบอ่อนรอบๆ ยอดจะเริ่ม...ไหม้...หงอย...ห้อย...คอตก

.

ใบอ่อนแข็งกรอบ

.

ใบเก่า....เริ่มหลุดร่วง

.

ใบใหม่....ไม่แตกออกมาอีก

.

ใบร่วงจน....เหลือแต่กิ่งก้าน

.

กิ่งก้านเกิด...เชื้อรา

.

ลำไย....แห้ง....ตาย 

.

แห้งเด่นเป็นที่สังเกตุภายในสวนลำไย  ทิ้งไว้ให้เกษตรกร...งง...เล่น ว่ามันเกิดอะไรขึ้น

.

หมายเหตุ : 

.

1. อาการที่กล่าวมาจะเกิดขึ้น....เฉพาะต้น  และไม่ระบาด (ยกเว้น เชื้อรา จะระบาดไปยังต้นอื่นๆ...ได้ง่าย)

2. ต้นที่อ่อนแอ จะตายก่อน

3. ต้นที่ไม่ตาย จะ...ไม่โต

4. ต้นที่ยังมีพื้นดินบางส่วน ไม่เสียหาย จะให้ผลผลิตตกต่ำ คุณภาพลดลง

.

.

อนึ่ง :

.

อาการที่ต้นลำไยไหน แห้งตาย อย่างรวดเร็ว โดยใบไม่เหลือง ไม่สบัดใบ...นั้น 

เป็นคนละเรื่องกับ ดินเป็นพิษ

.

โดยจะเกิดจากสภาวะ...รากขาดเฉียบพลัน หรือมีหนอนเจาะกิ่ง มาอาศัยอยู่ในกิ่งหลัก...เป็นจำนวนมาก

.

เรื่องนี้...น่ากลัวกว่าเดิมอีก 

.

เพราะมัน ระบาดเร็วกว่า..ค่ะ

.

.

.

เก่งนะ...อ่านมาได้....จนจบ

.

.

เกษตรกร...ลองหันกลับไป มองดูต้นลำไยในสวนของท่าน...สิคะ

.

ไว้ว่างๆ... จะนำภาพมาลงประกอบให้ชม...นะคะ

หมายเลขบันทึก: 579149เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2014 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ตุลาคม 2014 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สาเหตุสำคัญ..เห็นได้แจ้ง..ชัด..โลภโมโทสัน..โบราณ..เขาว่าไว้..๕

ลงรูปมาให้ดูหน่อย..อยากเห็น..เจ้าค่ะ...

"ขอชมเชย..เป็น..พิเศษ..จากยายธี"....บทความนี้...ยายธี..อยากจะยกย่อง..ให้ได้รับ.."ทุน..มะกะโท."...จังค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท