การศึกษาและทดสอบการส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย "เขาแก้วโมเดม"


คำนำ

ในการติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตระยะไกล ( Ubiquiti Nanostation M5) ในครั้งนี้ เป็นการทดลอง ทดสอบ เพื่อการศึกษา เพื่อหาทางแก้ปัญหาการใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตระบบดาวเทียมของโรงเรียน ซึ่งเป็นสัญญาณที่มีความเร็วต่ำ ประมาณ 512 Kbps– 1 Mbps ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการใช้งานตลอดมา ทำให้โหลดงาน หรือ อัพโหลดงานได้ช้า แม้แต่การจะพิมพ์สลิปเงินเดือนสักหนึ่งแผ่น ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30 นาที หรืออาจจะพิมพ์ไม่ได้เลย หรือถ้าจะพูดกันถึงเป็นแหล่งสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต ก็เป็นเพียงความฝัน เป็นหลักการ เป็นนโยบาย ซึ่งในการใช้งานจริง ๆ นั้น คงได้ผลไม่ถึง 20-30 เปอร์เซ็นต์

ในโอกาสที่ได้ไปร่วมทีมช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ที่โรงเรียนบ้านนาสี ได้พูดคุยเรื่องการใช้อินเตอร์ของแต่ละโรงเรียน ทุกโรงเรียนก็เจอปัญหาในลักษณะเดียวกัน ได้มีโอกาสใช้อินเตอร์เน็ตของโรงเรียนบ้านนาสี สามารถโหลดงานได้เร็ว ดูหนัง ฟังเพลงได้ไม่กระตุก สอบถามได้ความว่าเป็นระบบ ADSL ความเร็วสูงของ TOT นั้นคือจุดเริ่มต้นที่อยากได้สัญญาณความเร็วสูงแบบนี้ไปใช้ที่โรงเรียนบ้าง ได้เข้าไปติดต่อประสานงานที่ ที่ทำการของทีโอทีอำเภอเชียงคาน ได้รับคำตอบว่ายังไม่มีนโยบายที่จะขยายเขตคู่สายไปทางบ้านตาดซ้อ บ้านท่าบม ปีนี้มีโครงการไปที่บ้านสงเปือยกับบ้านโสก

ครูกมล ได้เล่าให้ฟังถึงเรื่องการเชื่อมโครงข่ายระยะไกล ซึ่งการศึกษาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต มีหลายที่เขาทำกันอยู่ และก็ใช้ได้ผล จึงได้ประสานกับ ผอ.แสงทอง โรงเรียนบ้านนาป่าหนาด ขอใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตระบบ ADSL ความเร็วสูงที่โรงเรียนของท่าน เป็นจุดทดสอบ ท่านตอบตกลงทันที จึงได้ทำการศึกษาและทดสอบ ในช่วงแรก ได้พบเจอปัญหาทางเทคนิคมากมายหลายอย่าง จนบางครั้งก็เกือบท้อ แต่ไม่ยอมถอย ทีมงานพยามวิเคราะห์หาสาเหตุปัญหา และตั้งเป็นสมมุติฐานแก้ปัญหาเรื่อยมา จนมาถึงบัดนี้เวลาผ่านไป 1 เดือน ครูบัวได้พบกับคุณครูประสบการณ์มากมายหลายอย่าง ใช่แล้ว “มันคือการเรียนรู้จากสภาพจริง”

ผอ.แสงทอง ธนะสูตร หนึ่งในทีมงาน จึงตั้งชื่อการทดสอบ การทดลอง เพื่อการศึกษาในครั้งนี้ว่า “Khaokeaw Modem” เป็นพัฒนาการในด้าน ICT อีกรูปแบบหนึ่ง ที่ช่วยแก้ปัญหาการใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตได้จริง ซึ่งสามารถใช้ประกอบการเรียนการสอน ในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตพร้อมกันได้ถึง 10 – 20 เครื่องแบบไม่กระตุกเลย หวังว่าบันทึกประสบการณ์นี้คงจะเป็นประโยชน์ กับท่านที่กำลังมองหาช่องทางในการแก้ปัญหาอินเตอร์เน็ตของโรงเรียน ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ WWW.KRUBUE.COM

บทที่ 1

ปัญหาสาเหตุที่ทำให้เกิด Khaokeaw Modem

1.สืบเนื่องมาจากการใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตในระบบดาวเทียมประสบปัญหา เพราะเป็นสัญญาณที่มีความเร็วต่ำอยู่ที่ 512 kbps ถึง1 kbps ทำให้การ โหลด และอัพโหลดข้อมูลได้ช้า ทำให้เกิดความไม่คล่องตัวในการบริหารจัดการ

จากภาพเป็นการทดสอบวัดสัญญาณอินเตอร์เน็ตระบบดาวเทียมของโรงเรียน ซึ่งวัดสัญญาณ Uploadได้ 0.20Mbps Download 0.12 Mbpsได้

2.ในระยะหลังบางโรงเรียนที่มีคู่สายของ TOT ขยายเขตมาถึง ก็เปลี่ยนจากการใช้ดาวเทียม ไปใช้ระบบคู่สายของทีโอที ADSL ความเร็วสูง 4 เมกก์

ภาพการทดสอบสัญญาณระบบ ADSL ความเร็วสูงของ TOT ที่โรงเรียนนาป่าหนาด

บทที่ 2

การออกแบบและสำรวจพื้นที่

1. ในการออกแบบในการเลือกใช้อุปกรณ์ ได้ศึกษาดูข้อมูลจากผู้รู้ ที่ได้บันทึกประสบการณ์ ไว้ในเว็บในหลาย ๆ เว็บ พอสรุปได้ดังนี้

1.1เลือกแบบสัญญาณเปิดมุมกว้าง เพราะจะช่วยให้ทำการติดตั้งได้ง่าย

1.2เลือกขนาดกำลังส่งให้พอเหมาะกับระยะทาง จะได้ช่วยลดต้นทุน

1.3เลือกอุปกรณ์ที่มีผู้รู้ ได้ให้ข้อแนะนำ ข้อคิด ความเห็น ประสบการณ์ ไว้ที่สามารถ

สืบค้นข้อมูลดูได้

จากการศึกษาข้อมูล ทีมงานเลือกใช้ Ubiquiti Nanostation M5 เพื่อใช้ในการทดสอบระยะทาง 5 กิโลเมตร และเลือกความเร็วเป็น 150 Mbps

2. การสำรวจพื้นที่ ในการออกแบบการสำรวจพื้นที่ ได้ข้อสรุปดังนี้

2.1 ต้อง เป็นพื้นที่ที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง เช่น ภูเขา ป่าไม้ทึบ ต้องสามารถมองเห็นกันได้ในระดับสายตา

2.2 ถ้าไม่ได้ต้องขึ้นเสาสูง ให้สามารถมองเห็นกันได้

2.3 ถ้ามีสิ่งกีดขวางจำเป็นจะต้องมีสถานีกลางเพื่อเชื่อมต่อสัญญาณ

3. เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจพื้นที่

3.1 กล้องส่องทางไกล

3.2 เครื่องวัดสัญญาณดาวเทียม GPS

3.3 ใช้ข้อมูลทางเว็บไซด์ Google Earth

3.4 กล้องถ่ายภาพที่สามารถซูมได้มาก ๆ

ภาพการใช้ GPS และกล้องส่องทางไกลสำรวจทิศทางและวัดระดับความสูงเพื่อเปรียบเทียบความสูงพื้นที่ต้นทางกับปลายทาง

งานสำรวจออกแบบติดตั้งอุปกรณ์ เชื่อมต่อสัญญาณ “เขาแก้วโมเดม” ส่งสัญญาณจากโรงเรียนบ้านนาป่าหนาด ไปวัดดอยศิลา ด้วย NanoStation M5 และส่งต่อสัญญาณไปโรงเรียนตาดซ้อ ด้วย NanoStation Loco M2 และ ต่อไปที่โรงเรียนท่าบม ด้วย NanoStation M5

บทที่ 3

การติดตั้งอุปกรณ์และการตั้งค่าระบบ

1. การติดตั้งอุปกรณ์ตัวต้นทาง ที่โรงเรียนบ้านนาป่าหนาด

1.1ติดตั้งอุปกรณ์บนเสา

1.2เชื่อมสายLanไปที่ตัว Router ที่จ่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ต โดยต่อที่ช่อง Lan

2. รูปแบบการต่อสัญญาณตัวต้นทาง

ไปสายโทรศัพท์

ข้อแนะนำ

1.แหล่งจ่ายไฟ ถ้าเป็นไปได้ควรแยกจากวงจรอื่น

2.ควรอยู่ใกล้เสาที่สุด เพื่อให้เดินสาย Lan สั้น (ถ้ายาวจะมีปัญหาเรื่องสัญญาณ)

3.สาย Lan ที่ต่อไปบนเสา ควรเป็นสายประเภท Out door เป็นสายใช้ภายนอกโดยเฉพาะ จะได้ทนแดดทนฝน

4. ควรจะมีคีมเข้าหัว Lan หัวRJ45 และเครื่องมือวัดสาย Lan เอาไว้เข้าหัวใช้เอง (ครูบัวทำตอนแรก เข้า 3 หัว จะใช้ได้ประมาณ 1 หัว มือใหม่ หัดเรียนรู้ บางครั้งเราต้องยอม)

ภาพถ่ายการติดตั้งอุปกรณ์ที่ต้นทาง

  1. อุปกรณ์เชื่อมต่อสัญญาณระยะไกลแบบไร้สาย NanoStation M5 ติดยึดกับเสาและเพื่อให้

สามารถ ปรับมุม ก้ม/ เงย และปรับ ช้าย/ฃวา ต้องใช้ขายึด( ซื้อเพิ่มต่างหาก ไม่อยู่ในชุดอุปกรณ์ ) และต่อสายแลนจากช่อง Main ไปที่ช่อง PoE ที่ตัว Power Active ควรใช้สาย Lan ประเภท Out door เพื่อให้ทนแดน ทนฝน

ชุดเบรคเกอร์จ่ายไฟ พร้อม Power Active และ โมเดมจ่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ต

3.การเชื่อมต่ออุปกรณ์ปลายทาง

3.1ติดอุปกรณ์กับเสา

3.2ต่อสาย Mainไปที่ Power Active ที่ช่อง PoE ช่อง Secondary เอาไว้เชื่อมตัวอื่น

3.3ต่อสายจากช่อง Lan ของ Power Active ไปที่ คอมพิวเตอร์ เพื่อ

ตรวจสอบสัญญาณ

3.4ถ้าเรียบร้อยแล้ว เดินสายเข้า Hub Switch เพื่อจ่ายต่อเข้าระบบ

รูปแบบการเชื่อมต่อปลายทาง

หมายเหตุ

1.NanoStation M5 ที่จุดต่อสายจะมี 2 ช่อง Main ต่อไป PoE ที่ Power

Active ส่วนช่อง Secondary เอาไว้เชื่อมสัญญาณไปตัวอื่น ในกรณีใช้ร่วมกันหลายตัว

2.NanoStation LocoM2 ตัวเล็กมีช่องเดียว ต่อเชื่อมตัวอื่นไม่ได้

4.สถานีถ่ายทอดสัญญาณ ( Station )

ในการเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างตาดซ้อ กับ นาป่าหนาด ถือว่าใช้การได้ในระดับค่อนข้างดี

แต่การเชื่อมต่อสัญญาณไปโรงเรียนบ้านท่าบม ทีมงานเจอปัญหาเนินเขาบัง จากการดักทดสอบสัญญาณที่เนินเขารับได้ดีมาก แต่สัญญาณไม่ถึงโรงเรียน จากการตรวจสอบความสูงระดับน้ำทะเลด้วย GPS เนินเขาสูงกว่าโรงเรียนประมาณ 15 เมตร ทีมงานได้ปรับแผน โดยตั้งสถานีกลางที่วัดดอยศิลา

4.1อุปกรณ์ที่อยู่บนเสาสถานีถ่ายทอสัญญาณ

4.1.1NanoStation M5 (ตัวที่ 1 )ทำหน้าที่รับสัญญาณจากตัวต้นทาง(ที่โรงเรียนบ้านนาป่าหนาด)

4.1.2เชื่อมต่อสัญญาณจากช่อง Secondary ไปที่ตัว NanoStation M5 (ตัวที่2) เพื่อส่งสัญญาณต่อไปให้โรงเรียนบ้านท่าบม

4.1.3เชื่อมต่อสัญญาณจาก NanoStation M5(ตัวที่2)ไปเข้า Loco M2เพื่อส่งสัญญาณไปที่โรงเรียนบ้านตาดซ้อ

ภาพตัวรับสัญญาณ Loco M2 ที่หอกระจายข่าวโรงเรียนบ้านตาดซ้อ และต่อเข้า Hub

ภาพการติดตั้งอุปกรณ์ตัวรับ / ส่ง สัญญาณ จากตาดซ้อไปที่ท่าบม

ติดตั้งสูงขนาดนี้ยังรับสัญญาณได้ไม่ดี ทีมงานได้วิเคราะห์ทดสอบ สัณนิฐานว่าเนินเขาบังทิศทางของสัญญาณ ช่วงระหว่างตาดซ้อกับท่าบม

ได้ทดสอบโดยการปรับหน้าอุปกรณ์ตัวส่งสัญญาณที่ตาดซ้อ ให้หันหน้าออกจากเนินเขานิดหนึ่ง และตามหาสัญญาณในเวลามืดค่ำ เพราะจะได้อาศัยแสงไฟบอกทิศทางให้สามารถชี้ตำแหน่งที่ตั้งได้ชัดขึ้น เพราะมองด้วยกล้องก็มองไม่เห็น เพราะว่ามีป่ามะพร้าวบัง ผลปรากฏว่าตามหาสัญญาณได้ห่างจากโรงเรียนบ้านท่าบม ประมาณ 100 เมตร รับสัญญาณได้ดี จึงได้ข้อสรุปว่า การรับสัญญาณที่หอกระจ่ายข่าว รับได้ไม่ดี เพราะเนินเขาบัง วิธีการแก้ปัญหาก็คือ ตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณกลางที่วัดดอยศิลา

ภาพถ่ายจากยอดเสาสถานีกลางไปโรงเรียนบ้านท่าบม

จากภาพถ่ายบนยอดเสาสถานีกลางที่วัดดอยศิลา เราสามารถมองเห็นหมู่บ้านตาดซ้อ บ้านเขาแก้ว และมองเห็นหมู่บ้านท่าบมและโรงเรียนบ้านท่าบมได้ชัดเจน จึงเป็นที่มั่นใจว่าเที่ยวนี้ผ่านแน่นอน

การตั้งค่า IP ของ NanoStation M5/ Loco M2

การที่จะให้อุปกรณ์สื่อสารกันได้ในระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ต เราจะต้องมีการตั้งค่าให้กับอุปกรณ์นั้นก่อน เราเรียกว่าค่า IP ( IP Address) นั้นเอง ในกรณีที่เราใช้ ส่ง / รับเพียง 2 ตัว และต่อสัญญาณเข้า Hub ไปเข้าระบบเลยมักจะไม่มีปัญหา แต่กรณีใช้มากกว่า 2 ตัว จะต้องตั้งค่า IP ไม่ให้ซ้ำกัน อย่างเด็ดขาด เพราะอุปกรณ์จะเกิดอาการ“ งง” มาก ๆ เลย เพราะไม่รู้จะเลือกใคร สุดท้ายก็ไม่ทำดีกว่า “แฮ๊ง”

การตั้งค่าในการใช้อุปกรณ์ 2 ตัว

1.หมวด Wireless

Basic Wireless setting

1.1ตัวส่งตั้งเป็น Access Point WDS

1.2ตัวรับตั้งเป็น Station WDS

SSID : ให้ตั้งชื่อเพื่อให้จำมันได้ เวลาเราเข้าไปดู เช่น ตัวที่อยู่หนาป่าหนาดก็ตังชื่อ

เป็น napanad ตัวปลายทางอยู่ตาดซ้อ ก็ตั้งเป็น thadsho

( การตั้งชื่อไม่มีผลต่อการทำงานของเครื่อง แต่ตั้งเพื่อให้เราจำมันได้เวลาเข้า

ไปเช็คค่าอุปกรณ์ )

Max TX Rate : ตั้งเป็น Auto

  1. การตั้งค่าในหมวด NETWORK ( Network setting)

2.1การตั้งค่า IP : 192.168.1.20 เป็นค่าที่มาจากโรงงาน(จะเหมือนกันทุกตัว ) ถ้าเราใช้ 2 ตัว ตัวที่2 ต้องตั้งใหม่ให้เป็นอย่างอื่นแต่ควรใกล้เคียงกัน เพื่อจำง่าย เช่น 192.168.1.21 (เปลี่ยนเฉพาะตัวสุดท้าย)

2.2Netmark : 255.255.255.0

2.3Getway IP : 192.168.1.1

2.4Primary DNS : 192.168.1.1

2.5Bridge IP Address : เลือก Static

  1. การตั้งค่าในหมวด Advaced

3.1Distance : ให้ปรับเลื่อนระยะทางให้สัมพันธ์กับระยะทางจริง ไม่ควรตั้งค่าสูงสุด เพราะจะทำให้เครื่องทำงานหนัก ร้อนเร็ว อาจเสียง่าย

**** อย่าลืมคลิกปุ่ม change ด้านล่าง แล้วก็คลิกปุ่ม Apply ที่ด้านบนขวา ***

บทที่ 3

การทดสอบก่อนทำการติดตั้งจริง

ในการติดตั้งจริงนั้น เราจะต้องเดินสายยาวและติดตั้งในที่สูง การที่จะตั้งค่าอุปกรณ์นั้นทำได้ยากเราจะต้องทำการทดสอบ ทางภาคพื้นดินก่อน ให้อุปกรณ์ทั้ง 2 ตัวนั้น มองเห็นกัน( ครูบัวพูดยังกะมันมีตา –ว่าตามครูกมล)สามารถเชื่อมต่อกันได้ เมื่อทำการทดสอบเรียบร้อยแล้ว พอขึ้นไปติดตั้งบนเสาเราก็เพียงแต่ ปรับหมุนทิศทางให้หันหน้าไปหาอีกตัวหนึ่ง และทำมุมขึ้น / ลง ให้ตรงเป้า

( ประมาณว่าเหมือนจะยิงเป้า ต้องมีการเล็งเป้า) โดยสังเกตที่สถานะไฟด้านหลังตัวอุปกรณ์ ไฟสีเขียวจะบอกให้รู้ว่าไฟเข้าเครื่อง สีเหลือง จะมีความหมายว่าเริ่มรับสัญญาณได้แล้ว และ เลยไปมีแดง จะมีความหมายว่ารับสัญญาณได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ

ลำดับขั้นตอนการการต่ออุปกรณ์กับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อ เซ็ตค่าในเบื้องต้น

(๑) การต่อ NanoStation M5 กับเครื่องคอมพิวเตอร์

  1. ต่อสาย Lan จากช่อง PoE ของ Power Active (ตัวจ่ายไฟ) ไปเข้าตัว M5
  2. ต่อสายจากช่อง Lan ไปเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
  3. เสียบปลั๊กตัวจ่ายไฟ

*** ในขั้นตอนนี้ ยังไม่ต้องไปติดตั้งบนเสานะครับ วางไว้ที่โต๊ะทำงานเราหนี้แหละ***

(๒) การตั้งค่า Configure ให้กับตัว M5 ( ตัวส่งสัญญาณ)

  1. ให้ตั้งค่าการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต(Network Connection)ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราก่อน โดย

1.1คลิกขวาที่ Icon My network pleas แล้วเลือกคำสั่ง Properties

1.2คลิกขวาที่ Local Area Connection แล้วเลือกคำสั่ง Properties

1.3คลิกที่ Internet Protocol ( TCP/IP) แล้วเลือกคำสั่ง Properties

1.4 คลิกที่ Use the following IP address แล้วตั้งค่าดังนี้

1.4.1IP address 192.168.1.100

1.4.2Subnet mask 255.255.255.0

1.4.3Default gateway 192.168.1.1

1.4.4Preferred DNS server 192.168.1.1

1.4.5คลิกที่ OK

  1. การเข้าไปตั้งค่าในตัว M5

2.1เข้าอินเตอร์เน็ตที่ Icon Internet Explorer

2.2 ที่ช่อง IP Address พิมพ์ 192.168.1.20 ( ค่า IP ตัว M5 เป็นค่ามาจากโรงงาน) จะมีหน้าต่างWindows Air OS ให้กรอก Username และ Password

2.3 Username ubnt Password ubnt

2.4 คลิกที่ปุ่ม Login

2.5 เราก็จะเห็นหน้าตาเมนูของ M5 และ M2 ซึ่งประกอบไปด้วยเมนูหลัก 6 เมนูดังนี้

หน้าตาเมนูหลัก Ubiquiti NanoStation M5 / NanoStation Loco M2

หน้าเมนู Main ที่ยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อสัญญาณ กับอีกตัวหนึ่งจะไม่มีแถบสัญญาณใด ๆ เลย

***** จะสังเกตเห็นว่า เมนูย่อยทางด้านขวา ไม่มีแถบสัญญาณใด ๆ เลย ****

ขั้นตอนต่อไปเราจะเข้าไปตั้งค่าในเมนูหลักทั้ง 6 เมนู ซึ่งในบางเมนูก็ไม่ได้ตั้งค่าใดๆ เป็นเพียงการแสดงค่า จากเมนูอื่น ๆ ดังนี้

Main : ไม่ได้ตั้งค่า

Wireless : มีการตั้งค่า

Network : มีการตั้งค่า

Advance : มีการตั้งค่า

Service : ไม่มีการตั้งค่า

System : ไม่มีการตั้งค่า

  1. การตั้งค่าในเมนู Main

ในหมวดนี้จะเป็นการแสดงค่า จากค่าที่ตั้งในหมวดอื่น ๆ ที่เราตั้งไว้แล้ว เราไม่ได้ตั้งค่าโดยตรง ในหมวดนี้

ข้อสังเกต 1. ถ้าสามารถเชื่อมต่อกับอีกตัวหนึ่งได้ ค่าของ Connection จะมีค่าเป็น 1

2. จะแสดงให้เห็นแถบสัญญาณ ที่ Air Max Quality และ Air Max Capacity

2. การตั้งค่าในหมวด Wireless

2.1Wireless Mode

2.1.1ตัวส่งตั้งเป็น Access Point WDS โดยคลิกเลือกที่ปุ่ม drop down คลิกเลือก AUTO

2.1.2ตัวรับตั้งเป็น Station WDS

2.2 SSID เป็นการตั้งชื่อ จะตั้งก็ได้ เหมือนเดิมก็ได้(แต่ในกรณีในระบบมีหลายตัว ต้องตั้ง เพื่อให้รู้ว่าตัวไหน

เป็นตัวไหน ตัวไหนรับ ตัวไหนส่ง ส่งไปไหน

2.3Max TX Rate เลือกเป็น Auto

3. การตั้งค่าในหมวด Network ( Network Setting )

3.1IP Address เลือกเป็น Static

3.1.1ตัวส่งตั้งเป็น 192.168.1.20 (ใช้ค่าที่มากับเครื่องหรือจะตั้งเป็นอย่างอื่นก็ได้ เช่น 192.168.1.100 )

3.1.2ตัวรับสัญญาณ 192.168.1.21( มากับเครื่องเป็น 192.168.1.20)

3.2 Subnet mask 255.255.255.0( เหมือนกันทั้งตัวรับ ตัวส่ง)

3.3Gateway IP 192.168.1.1(ตั้งตามค่าตัว Router ที่จ่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ตจากต้นทาง)

3.4Primary DNS IP 192.168.1.1(ตั้งตามข้อ 3.3 )

3.5Auto IP Aliasing เลือก Auto ในกรณีให้เชื่อมต่อแบบ Auto

3.6IP Aliases ใช้ตั้งค่าในกรณีจ่ายแบบแจก IP

  1. การตั้งค่าในหมวด Advance ( หมวดนี้เลื่อนปรับเฉพาะระยะทาง )

4.1คลิกค้างที่ปุ่มในแถบ Distance แล้วเลื่อนไปทางขวา สังเกตระยะทางที่เปลี่ยนไปตั้งให้เกินระยะใช้งานจริงไปนิดหนึ่ง อย่าตั้งจนสุด จะมีผลต่อความเร็วสัญญาณ เครื่องจะร้อนเร็ว

5. การตั้งค่าในหมวด SERVICE ( หมวดนี้ก็ไม่ได้ตั้งค่า)

6. การตั้งค่าในหมวด SYSTEM( หมวดนี้ก็ไม่ได้ตั้งค่า)

หมายเหตุ 1. เมื่อตั้งค่าในแต่ละเมนูเสร็จแล้ว ต้องคลิกที่ ปุ่ม Change ทุกครั้ง(อยู่ด้านล่าง)

2. สุดท้ายต้องคลิกที่ปุ่ม Apply (อยู้ด้านบนขวา)

** ตรงนี้ครูบัว Change แล้ว Change อีก หลายตลบ มันไม่จำ ไม่เปลี่ยน เพราะลืม Apply ***

ขั้นการทดสอบสัญญาณ

เมื่อเราตั้งค่า M2 ทั้งสองตัวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงการทดสอบว่า มันจะลืมตาเห็นกันไหม เชื่อมต่อกันได้หรือไม่( ขั้นตอนนี้ตื่นเต้นมาก จะออกหมู่ หรือจ่า มาลองดูกัน) มีลำดับขั้นตอนดังนี้

1. ต่อปลั๊กไฟ ต่อสายแลน ทั้งสองตัวให้เรียบร้อย แล้วหันหน้าเข้าหากัน ห่างกัน 2-3 เมตร ก็ได้

2. ที่ตัวส่ง หรือ ตัวรับ ก็ได้ต่อสาย Lan จากตับ Power Active เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์

3. เข้าอินเตอรเน็ตที่ Icon internet Explorer

4. ที่ช่อง IP Address พิมพ์ IP 192.168.1.20( เครื่องที่ต่อสาย Lan ไปคอม )

5. จะเข้าสู่หน้าต่างของ Ubiquiti NanoStation M5

6. พิมพ์ Username ubnt Password ubnt

7. จะเข้าสู่เมนูเมน ถ้าไม่ผิดพลาดทางอาชีวะ ก็จะเห็นแถบสัญญาณนี้

แต่ในการทดสอบ ครูบัวเจอแบบนี้ครับท่านไม่มีแถบสัญญาณใด ๆ เลย

การแก้ปัญหา

มองย้อนรอยถอยหลังว่า ปัญหามันคืออะไร จึงทำให้เกิดการผิดพลาดทางเทคนิคอย่างนี้ พอจำได้ว่าครูกมนบอกว่า “ ให้เอาค่า Max address ของตัวส่ง มาไว้ในตัวรับ” ทดลองต่อดังนี้ครับ

1. เข้าไปที่ตัวรับ IP address 192.168.1.20 ( ค่า IP มันไม่เปลี่ยนเป็น 192.168.1.21 ให้ เพราะว่าลืม Apply มันจึงมองเห็นเป็นตัวเดียวกัน)

2. ไปตั้งค่าในหมวด Wireless ของตัวรับดังนี้

2.1 Wireless Mode ตั้งเป็น Station WDS

2.2 คลิกที่ปุ่ม Select จะมีกรอบหน้าต่างใหม่ให้เลือก

2.3 ให้มองหาชื่อตัวที่ใช้ส่งสัญญาณ ( ถ้าไม่เจอ ให้คลิกที่ปุ่ม Scan )

2.4 คลิกเลือกตัวที่เราต้องการ แล้วคลิกปุ่ม Select กรอบหน้าต่างจะหายไป

2.5 ค่าของ SSID จะเปลี่ยนเป็นชื่อตามตัวที่เราเลือก

2.6 และจะเอาค่า Max address มาด้วย

2.7 คลิกที่ปุ่ม Change

2.8 แล้วคลิกปุ่ม Apply ที่ด้านบน

2.9 คลิกกลับมาที่เมนูเมน “ โอโฮ! บางอ้อ”Thank god ขอบคุณพระเจ้า มันเป็นความรู้สึกที่ดีมากเลยจะได้หน้า( ตามรูปด้านล่าง)ครับท่าน

2.9.1 ค่า AP Max ด้านขวาจะเปลี่ยนไปตามตัวส่ง

2.9.2 จะมีแถบ Signal Strength แสดงว่าเชื่อมต่อได้

2.9.3 จะมีแถบ AirMax Quaility และ Airmax Capacity แสดงคุณภาพของสัญญาณ

รูปนี้แสดงให้เห็นการเชื่อมต่อสัญญาณ แสดงว่าเชื่อมต่อกันได้แล้ว

Signal Strength แสดงให้เห็นการปรับรับสัญญาณ ค่าตัวเลขยิ่งต่ำ คุณภาพจะยิ่งสูง

AirMax Quality แสดงให้เห็นคุณภาพของสัญญาณ

AirMax Capacity แสดงให้เห็นความเข้มข้นของสัญญาณ

*** เอาเป็นว่า ให้มีแถบ 3 แถบนี้ขึ้นก็แล้วกัน ได้แถบสีฟ้า แสดงว่ารับได้ดี มีฝีมือครับท่าน ***

ขั้นติดตั้งใช้งานจริง

ต่อไปก็เป็นขั้นตอนการนำอุปกรณ์ไปติดตั้งบนยอดเสาเพื่อใช้งานจริง มีข้อที่น่าสังเกตดังนี้

  1. ระยะห่างต้องไม่เกินความสามารถของอุปกรณ์เช่น M5 ไม่เกิน 10 กม. M2 ไม่เกิน 3 กม.
  2. ต้องสามารถมองเห็นกันระหว่างจุดรับ กับ จุดส่ง( ไม่มีสิ่งกีดขวาง)
  3. ติดตั้ง ต่อไฟ เชื่อมสาย ทดสอบสัญญาณ ให้สามารถรับกันให้ได้ ( ใช้งานจริงระยะทางไกล มือเอื้อมไม่ถึงครับท่าน ห่างกันหลายกิโล ต้องพึงพาทีมงานหละครับตอนนี้ ต้องอยู่คนละฝั่ง หรือไม่ก็ต้องขับรถวิ่งไป มาทีละจุด สนุกแน่ครับ)

การปรับค่าในการรับสัญญาณ

1 คลิกที่เมนู drop down ในช่อง Tool

2 เลือก Align Antenna

จะได้หน้าตาแบบนี้ครับ

3. Max Signal คลิกปุ่มเลื่อนไปให้แสดงค่า -65

4.ปรับที่ตัว ส่ง – รับ โดยปรับ ซ้าย / ขวา ขึ้น / ลง

5.ในขณะที่ปรับ ให้สังเกตที่ Signal Leve ให้ได้ค่าตัวเลขต่ำที่สุด แถบสีจะขึ้นสูงสุด

การตั้งค่าตัวรับ ( Station)

แสดงค่าต่างๆ ในหน้า Main

  1. ตัวรับจะแสดงค่า Signal Strength ในแถบที่ 1 ตัวส่งจะไม่มีค่านี้
  2. จะแสดงให้เห็นแถบสัญญาณ ที่ Air Max Quality และ Air Max Capacity

การตั้งค่าในหมวด Wierless

2.1Wireless Mode ตั้งเป็น Station WDS โดยคลิกเลือกที่ปุ่ม drop down

2.2 SSID เป็นการตั้งชื่อ จะตั้งก็ได้ เหมือนเดิมก็ได้

2.4 Max TX Rate เลือกเป็น Auto

2.5 ปรับคุณภาพการรับสัญญาณที่ เมนู Tool

หมวดที่ 4

ปัญหาอุปสรรคและการแก้ไข

ในหมวดนี้จะเป็นการรวบรวมปัญหาต่างๆ ที่ทีมงานพบในขณะที่ทำการทดสอบ ทดลองการใช้งานอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็น Ubiquiti NanoStation M5 หรือ Ubiquiti NanoStation Loco M2

1.อุปกรณ์มองไม่เห็นกัน

จากรูปด้านบน ค่า Connection เป็น 0 แสดงว่าเชื่อมต่อกันไม่ได้

สาเหตุที่ 1 เป็นเพราะยังไม่ได้ทำการไขว้ค่า Max address ที่ตัวรับและตัวส่ง (ในกรณีเชื่อมแบบ Access point WDS ทั้ง 2 ตัว , เชื่อมแบบให้ปล่อยสัญญาณ Wireless ในตัวด้วย)

วิธีแก้ ต้องตั้งค่าและทดสอบจากภาคพื้นดินให้เรียบร้อยก่อน ตามหัวข้อ การทดสอบสัญญาณ การตั้งค่าในหมวด Wireless ข้อ 2.1 – 2.9

สาเหตุที่ 2 เป็นเพราะเล็งเป้าไม่ตรง หันทิศทาง มุมก้ม / เงย ไม่ตรงเป้า

การแก้ไข 1. พยามปรับหมุนขายึด ซ้าย / ขวา ขึ้น / ลง และสังเกตที่สถานะไฟที่ด้านหลังเครื่อง

2. ให้คนที่อยู่ภาคพื้นดิน เข้าไปที่เมนู Tool โดย

2.1 คลิกที่เมนู drop down ในช่อง Tool

2.2 เลือก Align Antenna

2.3 สังเกตที่แถบสัญญาณ แล้วปรับไปเรื่อย ๆ ให้ได้ค่าตัวเลขต่ำที่สุด เท่าที่จะทำได้

2. ที่แถบเมนูด้านล่างของคอม บอกสถานะว่า Connect แต่เมื่อเข้าเน็ตแล้ว เข้าไม่ได้ ฟ้อง cannot display this page

สาเหตุ 1. เป็นเพราะการตั้งค่า IP Address ในหมวด Network Connection ไม่ถูกต้อง

2. ยังไม่ได้คืนค่า IP Address ให้เป็น Auto ตอนตั้งค่าอุปกรณ์

การแก้ไข ให้เข้าไปตั้งค่า IP Address ให้เป็นแบบ Auto ดังนี้

1. คลิกขวาที่ Icon My network pleas แล้วเลือกคำสั่ง Properties

2. คลิกขวาที่ Local Area Connection แล้วเลือกคำสั่ง Properties

3. คลิกที่ Internet Protocol ( TCP/IP) แล้วเลือกคำสั่ง Properties

4. คลิกที่ Obtain an IP address automatically

5. คลิกที่ Obtain DNS Sever address automatically

3. รูป Icons แสดงสถานการณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ที่แถบ Status bar ด้านล่าง เป็นเครื่องหมายตกใจ

สาเหตุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อสัญญาณไฟฟ้าดับ

การแก้ไข 1. ใช้คำสั่ง ping เข้าไปตรวจดูอุปกรณ์ต้นทาง โดย

1.1 คลิกที่ปุ่ม Start

1.2 คลิกที่ Run

1.3 พิมพ์ค่า 192.168.1.1

1.4 คลิก OK

*** ถ้าทำงานปกติจะมีข้อความดังนี้

Ping 192.168.1.1 with 32 bytes of data

Reply from 192.168.1.1 bytes = 32 time = 4ms TTL =64 (ค่าตัวเลขจะเปลี่ยนไปตามค่าที่รับได้ในขณะนั้น)

ถ้าทำงานไม่ได้จะมีข้อความดังนี้

Ping 192.168.1.1 with 32 bytes of data

Request timed out

2. ต้องเดินทางไปตรวจสอบอุปกรณ์ในแต่ละจุดหละที่นี่

4. รับได้ดีบางครั้ง เน็ตล่มบ่อย กลางวันรับได้ เย็นหาย กลางคืนหาย( ครูบัวเรียกมันว่า “เน็ตกลางวัน”

สาเหตุ เป็นเพราะการตั้งค่า IP ซ้ำกัน เกิดอาการ IP ชนกัน ( ถ้าเป็นหนุ่มก็เจอแฝดสาวหละวะ เลย

ตัดสินใจไม่ได้ ว่าจะเลือกใคร) เกิดอาการ “งง” เลยหยุดทำงาน เรียกอาการนี้ว่า “แฮ้ง”

การแก้ไข 1. ถอดปลั๊กแล้วเสียบใหม่

2. ต้องค้นหาว่าอุปกรณ์ใดมีค่า IP ตรงกัน ในกรณีของครูบัว เจอ NanoStation M5 กับ LinkSYS wireless –G Broadband Router มีค่า IP ตรงกัน คือ 192.168.1.1 การแก้ไข ตั่งค่าได้

ตั้งค่า IP ของ LinkSYS wireless –G Broadband Router เป็นค่าอื่น เช่น 192.168.1.2 อาการดังกล่าวก็จะหายไป( คักก่อพี่อ้ายฝากเยี่ยวหน้าสาวพูนแหล่ว)

ทีมงาน ศึกษา ทดสอบ และพัฒนา

อุปกรณ์เชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตระยะไกล

(KHAOKEAW MODEM ICT.)

บรรณานุกรม

http://www.sysnetcenter.com/

http//www.sys2you.com

http://www.google.co.th/

http//krubue.com

การส่งสัญญาณระบบ Wireless ภายในโรงเรียน

หลังจากที่เราได้สัญญาณอินเตอร์เน็ต ADSL ความเร็วสูงมาแล้ว ในการให้บริการภายในโรงเรียนนั้น เราสามารถดำเนินการได้ 2 วิธีดังนี้

1.ใช้ระบบสาย Lan โดยการต่อสายจาก Hub ไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละจุด

2.ใช้ระบบไร้สาย Wireless

ในการใช้ระบบ Lan นั้น เราจะต้องมีอุปกรณ์ดังนี้

1.สาย Lan

2.คีมเข้าหัวสาย Lan

3.หัวต่อสาย Lan ( RJ 45)

4.เครื่องวัดสาย Lan

การใช้ระบบ Wireless มีอุปกรณ์ดังนี้

1.Wireless broadband Router

2.สายแลน 1 เส้น

การตั้งค่า Wireless broadband Router

1.ต่อสายแลนจาก Wireless broadband Router ช่องแลนไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์

2.ตั้งค่า Internet Connection ดังนี้

2.1IP Address = 192.168.1.100

2.2 Netmark : 255.255.255.0

2.3 Getway IP : 192.168.1.1

2.4 Primary DNS : 192.168.1.1

3. เข้าIcon Internet explorer

4. ที่ช่อง Address พิมพ์ http//192.168.1.1

5. เข้าไปแก้ค่า IP จาก 192.168.1.1 ให้เป็น 192.168.1.2

6. OK … Close

7. ต่อสายสัญญาณจาก Hub เข้า Wireless broadband Router

8. ตั้งค่า Internet Connection ให้กลับมาเป็นแบบ AUTO

บันทึกการติดตั้ง NanoStation M5

( อุปกรณ์เชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตระยะไกล)

โดย

ครูบัว

โรงเรียนบ้านตาดซ้อเขาแก้ว

ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๑

หมายเลขบันทึก: 579144เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2014 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2014 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท