CADL ขับเคลื่อน ปศพพ. ใน มมส. _ ๐๒ : เจตน์จำนงค์


วันอังคารที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ กลุ่ม "เด็กดีมีที่เรียน" จัดกิจกรรมประจำสัปดาห์ เวลา ๑๘:๐๐ น. ถึง ๒๐:oo น. ณ ห้อง GE Learning ชั้น ๑ อาคารราชนครินทร์ (ตึก RN) สมาชิก "จิตอาสา" ที่มารวมกันวันนี้ นอกจากรุ่นน้อง "เด็กดีมีที่เรียน" แล้ว ยังมีรุ่นพี่ปี ๒-๓-๔ และรุ่นพี่ ป.โท มาร่วมขับเคลื่อนฯ "ความดี" ในมหาวิทยาลัย

สัปดาห์ นี้เราคุยกันเรื่อง "เจตน์จำนงค์" ผมชวนคุยเรื่องสำคัญนี้ เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ที่มาร่วมกิจกรรมวันนี้เกือบทั้งหมดเป็น "รุ่นพี่" และ รุ่นน้องปี ๑ ที่จัดได้ว่าเป็นนิสิตแกนนำ ที่จะร่วมกัน "ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"

"พิธีกรรมกระบวนการ" ที่ทำกันวันนี้ เริ่มที่การสวดมนต์ไหว้พระ ทำวัตรเย็นเช่นเคย บทมนต์คาถาที่เราสวดเป็นประจำ ได้แก่

ผมเสนอว่า เราควรจะมาเรียนรู้ "ความหมาย" และ "เป้าหมาย" ของการสวดมนต์และคาถาเหล่านี้ให้ดี ผมชวนให้ อุ้ม (ประธานแกนนำ) เรียนเชิญ "อาจารย์แม่" (รองศาสตราจารย์ ดร.นารีรัตน์ รักวิจิตรกุล) มาร่วมสวดมนต์กับเราในสัปดาห์ถัดไป เพื่อเราจะได้เรียนถาม "เกร็ดธรรม" เรื่อง "อานิสงส์" ของการสวดมนต์ ต่อไป (ขณะที่เขียนบันทึกนี้ มีข่าวดีว่า ท่านรับปากแล้วว่าจะมาร่วมกับเรา)

ดังที่บอกไว้ กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่วันนี้คือ "รุ่นพี่" และ "แกนนำขับเคลื่อน" วง PLC ที่ดีต้องมี "เป้าหมายร่วม" หรือ "วิสัยทัศน์ร่วม" เพื่อนำไปสู่ "ค่านิยมร่วม" กัน ผมในฐานะ "วิทยากรกระบวนการ" หรือ "กระบวนกร" จึงออกแบบทันที ปรับเอากิจกรรมทำ "เจตน์จำนงค์" ที่เคยเรียนรู้จากเวทีอาจารย์ชัยวัตน์ ถิระพันธ์ มาใช้ทันที

พวกเราแบ่งกันออกเป็นกลุ่มๆ ละ ๓-๔ คน รับอุปกรณ์เป็น "กระดาษร่วมใจ" ๑ แผ่น (กระดาษปลู๊ฟ) และสีชอร์ค ๑ แผ่น ใช้เวลา ๑๕ นาที ให้พูดคุยกันในกลุ่มว่า "เจตนา" และ ความ "จำนงค์" หรือวัตถุประสงค์ ที่เรามารวมกัน ไม่ใช่เฉพาะวันนี้ แต่เป็นกิจกรรมดีๆ ที่เราจะร่วมกันทำไปทั้งหมดในภายหน้า แล้วสรุปเป็น "รูปภาพ" ที่นำเสนอ "เจตนา และ ความประสงค์" หรือเรียกว่า "เจตน์จำนงค์" ของเราคืออะไร

แล้วก็มานั่งล้อมวงนำเสนอและแนะนำตัวกัน

กลุ่ม แรกแม้เวลาจะจำกัด แต่ "เจตน์จำนงค์" ชัดว่า เราจะใช้กลุ่มนี้ เป็นที่ปลูกฝังและบ่มเพาะความดีด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการ ศึกษา เพื่อความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนไป

กลุ่ม ที่ ๒ จากน้องบัญชีและการจัดการ บอกว่า เราต้อง "ร่วมมือ" กันใช้กลุ่มนี้สร้างความดีให้เป็น "กิจวัตร" ตอนเช้ามีการทำบุญตักบาตร ตอนเย็นมีไหว้พระสวดมนต์ มีกิจกรรมไป "พัฒนา" และ "ประชาสัมพันธ์" ให้ "คนดี" มารวมกันทำความดีเยอะๆ ... ในฐานะที่พวกเขาอยู่ชมรมพุทธศาสน์ จะมาช่วยงานเต็มที่....

รุ่น พี่ ป.โท บอกว่า เราควรเริ่มจาก "ตนเอง" เริ่มจากการฝึกฝนเรียนรู้วิธีการอยู่ให้ได้ด้วยตนเอง "พึ่งตนเอง" จากประสบการณ์ของพี่ๆ เราควรส่งเสริมความดีในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การออม การรักษาสุขภาพ หวังดีต่อตนเองและผู้อื่น เช่น เราสามารถหารายได้ระหว่างดำเนินชีวิตในมหาวิทยาลัย ได้ด้วยการ ทำ "แซนวิชเพื่อสุขภาพ" ไปขาย นอกจากทำให้คนหันมากินอาหารปลอดสารพิษ และมีรายได้ตามสมควร แล้ว ยังได้ช่วยฝึกทักษะชีวิตและการทำงานของตนเองด้วย

ผม และน้องอุ้ม ในฐานะที่ทำงานเป็นผู้ประสานงาน เปรียบ "เจตน์จำนงค์" ของเราว่า จะเป็นเหมือน "เสาหลัก" ในการรวบรวม "คนดี" และ "ความดี" จากทุกคณะ หน่วยงาน ที่พอจะประสานได้ ให้เวทีนี้กลายเป็นเหมือน เทียนพรรษา ที่จุดเมื่อไรจะให้กำลังแสงส่องสว่าง นำทางไปสู่ "ปัญญา" ตาม "ปรัชญา" ของมหาวิทยาลัยต่อไป

กลุ่ม รุ่นพี่ปี ๒-๓ บอกว่า ต้องเอาคำว่า "ส่วนรวม" เป็นสำคัญ คือนิยาม "ความดี" คือการทำเพื่อส่วนรวม ฝึกฝนให้ตนและเป็นปัจจัยให้คนอื่น "เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน"

กลุ่ม พี่ปี ๔ นิติศาสตร์ บอกว่า ขอนำเสนอตัวอย่าง เป้าหมายของกลุ่มตน ซึ่งแต่ก่อนแต่ละคนในกลุ่มอาจแตกต่าง แต่วันนี้เรามีเป้าหมายเดียวกัน คือ เราจะเป็น "ศาลยุติธรรม" ทำงานเป็นที่พึ่งด้านความเป็นธรรมในสังคม

น้อง มายด์ตัวแทนกลุ่มสุดท้าย บอกว่า เราทุกคน จะมาร่วมกัน ฟันฝ่าอุปสรรคตามลำดับขั้น ไปสู่ความสำเร็จ ความฝันของแต่ละคน ในคือ "ประสบความสำเร็จในชีวิต"

ขั้นตอนสุดท้ายคือ การนำ "เจตน์จำนงค์" ของทุกกลุ่มมาเป็นองค์ประกอบของ "เจตน์จำนงค์ร่วม" รวมไว้ในใจ เราร่วมกันสรุปได้ว่า

"เรา จะมาปลูกฝังและบ่มเพาะความดีด้วยการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการทำวัตรปฏิบัติกิจกรรมความดีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อฝึกฝนตนให้พึ่งตนเองได้ ร่วมไม้ร่วมมือกันทำความดีเพื่อส่วนรวม ยึดมั่นความเป็นธรรม ก้าวไปสู่ความสำเร็จในชีวิตร่วมกัน"

"เด็ก ดีมีที่เรียน" ที่เข้ามาอ่าน อาจารย์อยากเชิญชวน ให้สร้างบล็อคบน www.gotoknow.org แล้วมาเขียนแลกเปลี่ยนแบ่งปันความดีกันครับ ....

หมายเลขบันทึก: 579148เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2014 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ตุลาคม 2014 11:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท