เด็กน้อยไม่ยอมกินข้าว ตอน รักแรกพบ


ชีวิตนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2 เป็นปีแห่งการออกไปท่องโลกกว้างพบเจอกับประสบการณ์ใหม่ๆนอกห้องเรียน มันช่างน่าตื่นเต้นและท้าทายสำหรับพวกเขาเหลือเกิน จะไม่มีอาจารย์บอกชี้แนะแนวทางแล้ว เหมือนกับว่าเรากำลังนั่งเรื่อออกไปผจญภัยในทะเลกว้างใหญ่ จะพบเจออะไรไม่มีใครคาดเดาได้ สิ่งที่ทำได้ดีที่สุด คือการเตรียมตัวให้พร้อม ทั้งความรู้ที่สั่งสมมาตลอด3 ปี ความพร้อมทางร่างกายและจิตใจ แต่ละคนจะได้เจอประบการณ์ที่แตกต่างกันไปตามโรงพยาบาลที่ได้ไปฝึกปฏิบัติงาน

ในการฝึกปฏิบัติงานเทิร์น2 เราจะไปตามติดชีวิตนักศึกษากิจกรรมบำบัดคนนึงกับการฝึกเด็กน้อย การฝึกงานครั้งนี้เธอจะได้เจอแต่ผู้รับบริการเด็ก เป็นครั้งแรกของเธอสำหรับการฝึกงานฝ่ายเด็กแบบเต็มตัวซึ่งหลังจบการฝึกงานเทิร์นแรก เพื่อนๆก็จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการฝึกงานแต่ละที่ ว่าต้องเจอกับอะไรบ้าง ต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้รับบริการในแต่ละที่ส่วนใหญ่มาด้วยอาการแบบไหน อะไรคือด่านหินของแต่ละที่ เพื่อที่ทุกคนจะได้เตรียมตัวให้พร้อมกับที่ฝึกงานใหม่

วันแรกของการฝึกงานเธอมาฝึกงานแต่เช้า เช้ามากจนไม่ทันได้กินข้าวเช้า แว๊ปแรกที่เปิดประตู ทุกอย่างยังคงมืด “เอ๋ หรือว่าเรามาเช้าไปนะ ลองเดินเข้าไปดูข้างในอีกิดหน่ะเผื่อมีใครมาแล้ว” เป็นอย่างที่เธอคิดไว้ เพื่อนอีกคนของเธอกำลังนั่งคุยกับรุ่นพี่ปี 4 ที่มาฝึกงานที่นี่เหมือนกัน เธอเดินเข้าไปร่วมวงสนทนา ไม่นานพี่นักกิจกรรมบำบัดก็เดินเข้ามาเรียกให้ไปแนะนำตัว แต่ดูเหมือนว่าเพื่อนที่มาฝึกที่นี่ก่อนหน้าเธอจะได้แนะนำเธอเพื่อนๆให้พี่ๆได้รุจักไปบ้างแล้ว วันแรกนี่พี่ๆให้แค่สังเกตุพี่ๆทำเคสไปก่อน โดยเธอและเพื่อนต้องแยกกันสังเกต แต่ละเคสที่เข้ามามีความแตกต่างกัน แม้ว่าจะเป็โรคเดียวกัน ความรุนแรงของอาการก็แตกต่างกันไปด้วย เช่น เด็กออทิสติคบางคน ไม่มีปัญหาพฤติกรรมเลยแต่บางคนปัญหาหลักคือปัญหาฤติกรรม การฝึกของที่นี่จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก 15-20 นาทีแล้วแต่เคส ส่วนแรกนี่จะให้เด็กได้ออกแรงหรือออกกำลังกาย เพื่อให้เด็กได้ปรับระดับความตื่นตัว สำหรับเด็กที่เฉยเซื่องซึม ก็จะปรับให้เด็กตื่นตัวขึ้น แต่สำหรับเด็กที่แรงเยอะอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactive) ก็จะลดพลังงานของเด็กลงทั้งหมดนี้เพื่อให้เด็กพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในส่วนต่อไป กิจกรรมในส่วนที่ 2 จะเป็นกิจกรรมเพื่อสงเสริมในส่วนที่เด็กบกพร่อง เช่นเด็กบางคนมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ล่า(fine motor) การรับรู้ทางสายตา(Perception) การติดต่อสื่อสาร(communication) และอื่นๆอีกมากมาย นักกิจกรรมบำบัดจะให้กิจกรรมที่ส่งเสริมในด้านที่เด็กบกพร่อง โดยแต่ละกิจกรรมที่ให้จะเป็นกิจกรมที่เด็กๆให้ความสนใจและท้าทายความสามารถเด็ก ในส่วนที่ 2 นีจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที จากนั้นออกไปพบผู้ปกครองของเด็กๆเพื่อให้คำแนะนำกลับไปฝึกเด็กๆต่อที่บ้าน เพราะการที่เข้ารับการบริการทางกิจกรรมบำบัดเพียงแค่ครั้งเดียวไม่เพียงพอสำหรับเด็กน้อยอย่างแน่นอน

ในบางครั้งอาชีพนักกิจกรรมบำบัดก็เป็นอะไรได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน เป็นได้ทั้งคุณครูของเด็กน้อย เป็นคุณหมอในบางครั้ง เป็นผู้ใหคำแนะนำให้คำปรึกษา และอื่นๆอีกมากมายตามมุมมองของผู้รับบริการ จะไม่ว่าจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ สิ่งที่นักกิจกรรมบำบัดคาดหวังสูงสุด คงมีแค่การได้เห็นผู้รับบริการเหล่านั้นสามารถกลับไปดำเนินชีวิต ตามบริบทของตนได้ ได้ทำหน้าที่ของตนเองได้ด้วยตนเองทุกๆครั้งการที่ได้เห็นแววตาที่มีความหวังของผู้รับบริการณ์ ของญาติ ของผู้ปกครอง มันทำให้นักกิจกรรมบำบัดทุกคนมีกำลังใจที่จะให้การบำบัดรักษาอย่างเต็มที่ นอกเหนือค่าตอบแทนการได้เห็นรอยยิ้มเสียงหัวเราะและคนผู้รับบริการเป็นอีกหนึ่งความสุขของเหล่านักกิจกรรมบำบัด

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 579106เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2014 23:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2014 23:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท