บันทึกอนุทินครั้งที่ 5 เรื่อง Knowledge Management Process 7 ขั้นตอน


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

เรื่อง Knowledge Management Process 7 ขั้นตอน

รายวิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ 102611

วันที่เรียน วันอาทิตย์ ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วันที่บันทึก วันจันทร์ ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อาจารย์ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์

ผู้บันทึก นางสาวศุภรัตน์ ภิรมย์ชม รหัสนักศึกษา 57D0103117 ป.โท หลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ รุ่นที่ 13 หมู่ 1

1 . การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าห้องเรียน/ความคาดหวัง

ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนของการจัดทำ KM โดยขั้นแรกจะต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่าสิ่งที่ต้องการคืออะไร ซึ่งอาจจะพิจารณาจากยุทธศาสตร์หรือปัญหาที่พบก็ได้ ขั้นที่สองคือวางแผนและกิจกรรมที่จะสนับสนุนองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการและเครื่องมือ การให้ความรู้กับองค์กร การวัดผล และการยกย่องชมเชย และขั้นที่สามคือ การจัดทำ KM process มี 7 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นค้นหาความรู้ที่ยังขาด หรือความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมาย

ขั้นที่ 2 ขั้นการสร้างและแสวงหาความรู้ ดึงเอาความรู้จากแหล่งต่างๆ มาใช้

ขั้นที่ 3 ขั้นการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ แบ่งประเภทความรู้เพื่อให้การเก็บข้อมูลและค้นหาข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว

ขั้นที่ 4 ขั้นประมวลและกลั่นกรองความรู้ ปรับปรุงเนื้อหาการใช้ภาษาให้เป็นภาษาเดียวกัน รวมทั้งรูปแบบข้อมูล เพื่อความสะดวกในการป้อนเข้าระบบ

ขั้นที่ 5 ขั้นเข้าถึงความรู้ เป็นการกำหนดวิธีการกระจายความรู้สู่ผู้ใช้

ขั้นที่ 6 ขั้นแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ จัดให้มีช่องทางการถ่ายเทความรู้

และ ขั้นที่ 7 ขั้นการเรียนรู้ เมื่อความรู้ถูกนำไปใช้จนเกิดการเรียนรู้ และเกิดความรู้ใหม่กลับมา โดยการแลกเปลี่ยน แบ่งปันให้ผู้อื่นนำไปใช้อีก

และสิ่งที่ดิฉันอยากรู้เพิ่มเติมคือ อยากเห็นความสัมพันธ์ ของ KM Process 7 ขั้นตอน ที่ชัดเจนมากขึ้น

2. ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการเรียน

             ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้คือ KM Process 7 ขั้นตอน ดังนี้

  • -ขั้นที่ 1 ค้นหาความรู้ ==>> องค์กรมีความรู้อะไร รูปแบบใดบ้าง อยู่ที่บุคลากรท่านใด ซึ่งจะใช้ Knowledge Mapping เป็นเครื่องมือ พร้อมทั้งวางกรอบของ KM
  • -ขั้นที่ 2 สร้างและแสวงหาความรู้ ==>> จาก Knowledge Mapping ถ้ารู้ว่ามีความรู้ให้ดึงเอาความรู้มารวบรวม แต่ถ้ายังไม่มีความรู้ ต้องสร้างความรู้เดิมโดยแลกเปลี่ยนจากภายนอก
  • -ขั้นที่ 3 จัดการความรู้ให้เป็นระบบ==>> จัดทำสารบัญ จัดทำหมวดหมู่ แยกประเภท เพื่อการค้นหาข้อมูลนั้นจะได้สะดวกขึ้น ใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้น
  • -ขั้นที่ 4 การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ==>> ความถูกต้องของเนื้อหา จัดทำให้ได้มาตรฐาน
  • -ขั้นที่ 5 การเข้าถึงความรู้ 2 ลักษณะ ==>>1) ป้อนความรู้ => หนังสือเรียน 2)ให้โอกาสใช้ =>ความรู้ห้องสมุดสำหรับครู
  • -ขั้นที่ 6 แบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้==>> จัดทำเอกสาร จัดทำข้อมูล จัดทำสมุดหนังสือ โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้
  • -ขั้นที่ 7 ขั้นการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับทิศทาง/ค่านิยมขององค์กร

ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ KM ประสบความสำเร็จได้แก่

  • 1.Leadership and Strategy ==>> ผู้นำต้องเข้าใจ เข้าถึงและตระหนักถึงประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจาก KM สื่อสารและผลักดันให้มี KM ในองค์กร
  • 2.Culture ==>> เป็นวัฒนธรรมที่ไม่หวงความรู้ มีวัฒนธรรมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ระหว่างบุคคลในองค์กร
  • 3.Technology ==>> ระบบอินเตอร์เน็ต ระบบฐานข้อมูล จะช่วยให้ KM มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • 4.Measuremeents ==>> การวัดผล KM จะช่วยให้องค์กรนั้น ทบทวน ประเมินผล ปรับปรุงกลยุทธ์ใหม่ให้กับองค์กร
  • 5.Infrastructure ==>> ทั้งที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้ เช่น สถานที่ เครื่องมือ โครงสร้างหน่วยงาน ระบบงาน เป็นต้น

3. บรรยากาศในชั้นเรียน

       ได้ฝึกกระบวนการคิด ได้เรียนรู้กระบวนการใหม่ๆ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซักถาม แสดงความคิดเห็น

4. การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

       นำไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน โดยการนำ KM Process ทั้ง 7 ขั้นตอนไปปรับใช้ในโรงเรียน เพื่อจะได้จัดระบบในองค์กร ให้ทุกคนมีระบบ ระเบียบในองค์กรมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เรามีความรอบคอบในการทำงาน

หมายเลขบันทึก: 579064เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2014 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2014 13:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท