บันทึกอนุทินครั้งที่ 3 เรื่อง After Action Review & Learning Organization โดย นางสาวศุภรัตน์ ภิรมย์ชม


บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

เรื่อง After Action Review & Learning Organization

รายวิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ 102611

วันที่เรียน วันอาทิตย์ ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วันที่บันทึก วันจันทร์ ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อาจารย์ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์

ผู้บันทึก นางสาวศุภรัตน์ ภิรมย์ชม รหัสนักศึกษา 57D0103117 ป.โท หลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ รุ่นที่ 13 หมู่ 1

1 . การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าห้องเรียน/ความคาดหวัง

           ได้ศึกษาความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้เพิ่มเติม ทำให้เราทราบว่า KM นั้นเกิดขึ้นจากการค้นพบว่าองค์กรต้องสูญเสียความรู้ไปพร้อมๆกับการที่บุคลากรลาออกหรือเกษียณอายุราชการ อันส่งผลกระทบต่อการทำงานขององค์กรเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นจากแนวคิดที่มุ่งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้มากแต่เพียงอย่างเดียวจึงเปลี่ยนไป จึงจำเป็นต้องมีระบบการบริหารจัดการเข้ามาช่วยในการบริหารความรู้ภายในองค์กร ดังนั้นการจัดการความรู้นั้นผู้บริหารจะต้องหาวิธีในการดึงความรู้ออกมาจากตัวบุคคล และกระตุ้นให้บุคลากรถ่ายทอดความรู้ให้กับเพื่อนร่วมงาน

และสิ่งที่ดิฉันอยากทราบคือ องค์กรส่วนใหญ่มีอุปสรรคมากน้อยเพียงใดการจัดการความรู้ภายในองค์กร

2. ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการเรียน

          ในการเรียนวันนี้ดิฉันได้เรียนรู้ในเรื่องของ After Action Review หรือ AAR , Learning Organization หรือ LO และการทำเว็บบล็อกจาก www.gotoknow.org

          การทำ After Action Review หรือ AAR เป็นการบันทึกความรู้ที่เราเรียน ทำเพื่อให้รู้ว่าเราได้เรียนรู้อะไร ความรู้ที่ได้มีคุณค่าต่อชีวิตอนาคตอย่างไร อยากเรียนรู้อะไรต่อ และจะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของเราอย่างไร เมื่อเราบันทึก AAR ของเราเสร็จเราก็นำสิ่งที่เราบันทึกไว้ ไปบันทึกลงในเว็บบล็อก

           Weblog คือเว็บที่ให้เราได้บันทึกความรู้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้ามาอ่านและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ซึ่งก่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้อีกวิธีหนึ่งที่ใช้กันอย่างทั่วถึง วิธีการทำเว็บบล็อกอันดับแรกเราต้องเข้าเว็บ www.gotoknow.org สมัคสมาชิก เมื่อเป็นสมาชิกแล้วเราก็สามารถเข้าไปบันทึกความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้เลย และเราสามารเผยแพร่ความรู้โดยลิงค์เว็บเพจไปที่ Social Network ได้ตามต้องการ

          Learning Organization หรือ LO คือองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการของการปรับปรุงการกระทำด้วยความรู้ ความเข้าใจที่ดีกว่าเดิม พิจารณาจากองค์ประกอบ 4 ส่วน ได้แก่ LO (learning Organization) องค์กรของการเรียนรู้ OL (Organizational Learning) กระบวนการเรียนรู้ในระดับองค์กร OK (Organizational Knowledge) องค์ความรู้หรือความรู้ที่สำคัญและจำเป็น และ KM (Knowledge Management) การจัดการความรู้

3. บรรยากาศในชั้นเรียน

         นักศึกษาได้เรียนรู้ในการเขียนเว็บบล็อก และได้ร่วมสมัครสมาชิก ได้เรียนรู้ถึงการเขียน AAR เพื่อนำไปเขียนลงในเว็บบล็อก ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสนุกสนาน ได้กระบวนการใหม่ๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

4. การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

             เนื่องจาก LO เป็นกระบวนการปรับปรุงการกระทำด้วยความรู้ ความเข้าใจที่ดีกว่า ดังนั้น LO เปรียบเสมือนการปลูกต้นไม้ ที่ประกอบด้วยใบที่เปรียบเสมือนความรู้ที่มีหลากหลายความรู้มารวมกันเป็นองค์กร เราสามารถนำไปใช้กับโรงเรียนที่เราสอน โดยการนำความรู้ของครูในวิชาวิทยาศาสตร์ของครูหลายๆคน หลายๆ ความรู้มารวมกันเป็นองค์กร แล้วร่วมกันนำไปสอนให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ที่หลากหลาย น่าสนใจ และดีกว่าเดิม

หมายเลขบันทึก: 579062เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2014 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2014 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท