เศรษฐศาสตร์การผลิตแนวพุทธ


พลวัฒน์ชุมสุข[๑]

เศรษฐศาสตร์การผลิตแนวพุทธ

การมองปัจจัยการผลิตแนวพุทธจะแตกต่างจากหลักเศรษฐศาสตร์ตะตกมากเพราะหลักเศรษฐศาสตร์ตะวันตกจะหวังผลกำไรในส่วนต่างการผลิตส่วนเศรษฐศาสตร์การผลิตแนวพุทธจะหลีกเลี่ยงส่วนต่างการผลิตเช่นการผลิตที่ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง คือ เว้นจากการเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติเป็นต้นไม่วิ่งตามความต้องการ ต้องมีความสันโดษ หรือมีความยีนดี มีความพอใจในสิ่งของ ๆ ตนในสิ่งที่ตนมีอยู่คือ ความพอดีมีความพอเหมาะและรู้จักประมาณ ในสินค้าที่ผลิตไม่สนับสนุนพฤติกรรมฟุ้งเฟ้อไม่ปลุกเร้า ให้เกิดความอยาก แต่มุ่งความพอเพียงต่อชีวิตประจำวัน และสนับสนุนความปรองดองความเป็นเอกภาพระหว่างองค์กรหรือหน่วยการผลิตทั้งหนดและต้องเป็นเอกภาพระหว่าง ผู้ประกอบการรวมกับผู้ใช้แรงงานการมองปัจจัยการผลิตแนวพุทธไม่มุ่งหวังกำไรและไม่หวังผลตอบแทนทางด้านธุรกิจเกินไป

การมองปัจจัยการผลิตในทางด้านเศรษฐศาสตร์ปัจจัยการผลิต(Factorsofproduction)หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตนำมาผ่านกระบวนการในการผลิตขึ้นเป็นสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค หรือการตอบสนองของผู้บริโภคให้ผู้บริโภคได้รับความพอใจมากที่สุดและจะไม่คำนึงในเรื่องผิดศีลธรรมแต่หลักของเศรษฐศาสตร์การผลิตแนวพุทธจะคำนึงเรื่องศีลธรรมและการผลิตโดยแยกออกอย่างน้อยเป็น๒ประเภท คือ การผลิตที่มีค่าเท่ากับการทำลาย เช่น การผลิตที่เป็นการทำลายทรัพยากร และทำให้สภาพแวดล้อมเสียกับการผลิตเพื่อการทำลายเช่น การผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ มีทั้งการผลิตที่มีผลในทางบวก และการผลิตที่มีผลในทางลบ มีผลในทางเสริมคุณภาพชีวิตและในทางทำลายคุณภาพชีวิต[๒] ในหลักแห่งมรรคมีองค์๘ จะเห็นว่าหลักแห่งศีล คือ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะล้วนมุ่งให้มีการผลิตที่ถูกต้อง ผู้ประกอบการต้องมีคุณธรรมและปัจจัยในการผลิตจะต้องเป็นไปในแนวแห่งสัมมาอาชีวะซึ่งหลักศีลในองค์มรรคดังกล่าว อาจกล่าวได้ในทางปัจจุบัน ดังนี้

สัมมาวาจา คือหลักมนุษยสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ใช้แรงงานจะต้องไม่หลอกลวงกล่าวเท็จต่อกันไม่หยาบคายก้าวร้าว มุ่งความสามัคคีและจริงใจต่อกัน

สัมมากัมมันตะคือการงานดี ได้แก่ความชอบธรรมในกิจกรรมของชีวิตทุกประเภทต้องตั้งอยู่ในกรอบของ สัมมากัมมันตะ คือ ความถูกต้องเช่น กิจกรรมทางเศรษฐศาสตร์การผลิตแนวพุทธที่มองไปในสิ่งที่ดีที่ไม่หวังในประโยชน์จนเกินไปและไม่เป็นไปเพื่อการมุ่งร้ายฆ่าฟันกันไม่เป็นไปเพื่อการเอารัดเอาเรียบกันในสังคม และไม่เป็นไปเพื่อการกดขี่ข่มเหงทางเพศเป็นต้น

สัมมาอาชีวะ คือ อาชีพที่ชอบ มิใช่อาชีพที่ผิดศีลธรรมไม่ผลิตหรือค้าขายสิ่งที่ผิดศีลธรรม อย่างพระพุทธองค์ทรงห้ามอุบาสกอุบาสิกาไม่ให้ค้าขายไว้๕อย่างในอังคุตตรนิกายปัญจกนิบาตหรือในวณิชชาสูตร[๓] พระผู้มีพระภาคพระองค์ได้ทรงตรัสมิให้ค้าขายและทรงแนะมิให้ค้าขาย หรือทรงปฏิเสธการผลิตไปในตัวด้วยคือสินค้าที่เป็นโทษไม่ควรจะผลิตหรือค้าขาย ได้แก่

๑. สตฺถวณิชชาการค้าขายศัสตราวุธ รวมไปถึงการค้าขายหรือผลิตอาวุธหรือเครื่องประหารทุกประเภทเพราะเป็นเหตุให้ทำความผิดก่อโทษกับผู้อื่น

๒. สตฺตวณิชชาการค้าขายสัตว์ ในที่นี้หมายถึง การค้าขายมนุษย์ เพราะทำให้หมดอิสรภาพ

๓. มงฺสวณิชชาการค้าขายเนื้อรวมไปถึงการค้าขายหรือการผลิตเนื้อสัตว์ เพราะการค้าขายเนื้อสัตว์เป็นเหตุให้ต้องฆ่าสัตว์

๔. มชฺชวณิชชาการค้าขายของมึนเมาคือการค้าขายหรือการผลิตน้ำเมาเพราะเมื่อดื่มเข้าไปแล้วทำให้เกิดความประมาทคำว่าน้ำเมา มีความหมายคลุมไปถึงสิ่งเสพติดทุกประเภทที่ก่อให้เกิดความประมาททำให้มนุษย์ที่เสพไปเผลอสติและบั่นทอนคุณภาพชีวิต

๕. วีสวณิชชาการขายหรือการผลิตยาพิษคำว่ายาพิษย่อมคลุ่มไปถึงสารพิษทุกประเภทที่ออกฤทธิ์ทางประสาท

การค้าขายสิ่งเหล่านี้รวมถึงการห้ามมิให้ผลิตขึ้นมาขายด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นโทษต่อมนุษยชาติมากเฉพาะเรื่องอาวุธสงครามเรื่องค้ากามเรื่องผลิตและขายสิ่งเสพติดให้โทษแก่มนุษย์เหลือคณาดังนั้นหลักการผลิตของชาวพุทธจึงต้องเป็นไปเพื่อความสุขความเจริญของเพื่อนมนุษย์ในฐานะเพื่อนรวมเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันดังคำแผ่เมตตาที่เราแผ่ทุกวันว่า"ขอสัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรมีภัยต่อกันเลย อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนกันเลย จงมีความสุขกายสุขใจรัษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด"

แม้ในหลักกามโภคี๑๐ประการพระพุทธองค์ก็ทรงแสดงถึงผู้ครองเรือนประเภทที่๑๐ว่าเป็นการดำรงชีวิตอยู่ในบ้านเรือนที่ประเสริฐที่สุดเพราะมีหลักปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์ที่ถูกต้องตามหลักธรรม ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

๑. การผลิตต้องเป็นการผลิตสิ่งที่ได้มาโดยชอบธรรมไม่เบียดเบียนผู้อื่น

๒. การใช้สอยก็ควร

-เลี้ยงตนและผู้เกี่ยวข้องให้เป็นสุข

-เผื่อแผ่แบ่งปัน

- ใช้ทรัพย์ทำสิ่งที่ดีงานและเป็นประโยชน์ เป็นบุญ

๓. คุณค่าทางจิตและปัญญาไม่ลุ่มหลงมัวเมา ผลิตกินใช้ทรัพย์สมบัติอย่างรู้เท่ากัน เห็นคุณและโทษ มีจิตใจอิสระด้วยนิสรณปัญญา (ความคิดแก้ปัญหาทางออกที่ถูกต้อง) และอาศัยทรัพย์ที่ผลิตหามาได้เป็นอุปกรณ์สนับสนุนโอกาสที่จะใช้ปัจจัย๔ไปในทางที่ผิด[๔]

ในหลักเศรษฐศาสตร์ตะวันตกได้แบ่งปัจจัยการผลิตออกเป็น๔ประเภท[๕]คือ

๑. ที่ดิน(Land)ซึ่งรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภทได้แก่ที่ดิน ป่าไม้ แร่ธาตุ น้ำมันน้ำแก๊สเป็นต้น ทั้งที่อยู่บนดินและอยู่ใต้ดิน ที่ดินมีลักษณะที่ต่างไปจากปัจจัยการผลิตอื่น ๆ คือ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เคลื่อนย้ายไม่ได้ มีปริมาณจำกัด การดำเนินกิจกรรมทางการผลิตที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้ในแง่คิดทางเศรษฐศาสตร์การผลิตแนวพุทธจะมองต่างจากเศรษฐศาสตร์ตะวันตก ดังที่กล่าวมาเพราะว่าเศรษฐศาสตร์การผลิตแนวพุทธจะมองเรื่องการทำลายระบบนิเวศและสัตว์น้อยใหญ่ที่อยู่อาศัยในธรรมชาติก็จะถูกทำลายไปด้วยการผลิตจะต้องผลิตให้เป็นธรรมต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆไม่ใช้จะนึกถึงแต่ประโยชน์ส่วนตนไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมหลักของเศรษฐศาสตร์การผลิตแนวพุทธจะต้องคำนึกถึงผลของความเสียหายทางธรรมชาติเป็นหลักไม่หวังผลตอบทางกำไรจนเกินควร

๒. แรงงาน(Labor)หมายถึง ทรัพยากรมนุษย์คือผู้ที่ทำงานให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในการผลิตสินค้าและบริการ โดยอาศัยทั้งกำลังแรงกายและกำลังความคิด สติปัญญา แต่ไม่รวมในด้านของความสามารถในการประกอบการของแต่ละบุคคล ในทางเศรษฐศาสตร์ การใช้แรงงานจะต้องเป็นการใช้แรงงานที่ได้รับค่าตอบแทนเป็นตัวเงินหรือสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นส่วนแรงงานที่ไม่ได้รับผลตอบแทนจะไม่ถือว่าเป็นแรงงานตามความหมายนี้ เช่น แรงงานสัตว์แรงงานหุ่นยนต์ไม่ถือเป็นแรงงาน แต่จะถือเป็นทุน แรงงานหรือที่นิยมเรียกกันว่า กำลังแรงงาน (Laborforce)ในอีกความหมายหนึ่งก็คือกลุ่มคนที่อยู่ในวัยทำงานที่มีความพร้อมและเต็มใจที่จะทำงานไม่ว่าจะมีงานให้ทำหรือไม่ก็ตามแบ่งออกเป็นแรงงานที่มีทักษะ (skilledlabor) ซึ่งเป็นแรงงานที่ได้รับการฝึกฝนอบรมมาเป็นอย่างดีเช่นแพทย์วิศวกรสถาปนิกเป็นต้น กับแรงงานที่ไม่มีทักษะ(unskilledlabor)ซึงเป็นแรงงานที่ไม่ได้รับการฝึกฝนอบรมมาก่อนส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ใช้กำลังกายเป็นหลักเช่นกรรมกรแบกหามคนงานรับจ้างทั่วไปเป็นต้น

๓. ทุน(capitalgoods)คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการหรือทุนคือการสะสมสินค้าในรูปของเครื่องจักรเครื่องมืออุปกรณ์การผลิตต่าง ๆ ทุนในทางเศรษฐศาสตร์จะหมายถึงสินค้าประเภททุนซึ่งจัดเป็นทุนที่แท้จริง(realcapital)โดยไม่นับรวมเงินทุนซึ่งเป็นทุนที่เป็นตัวเงิน[๖](moneycapital)เข้าไว้ในความหมายดังกล่าวโดยทั่วไปทุนแบ่งออกเป็น๓ประเภทคือ

๓.๑ ทุนถาวร(Fixed capital) คืออุปกรณ์ในการผลิต เครื่องจักร เครื่องมือ ที่มีความคงทนถาวร มีอายุการใช้งานยาวนาน เช่น โรงงานถนนสะพานทางรถไฟเป็นต้น

๓.๒ ทุนดำเนินงาน(workingcapital)คือทุนประเภทวัตถุดิบต่าง ๆซึ่งมีอายุการใช้งานค่อนข้างสั้นเป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไปต้องหามาทดแทนใหม่อยู่ตลอดเวลาเช่นน้ำมันไม้ยางเหล็ก เป็นต้นบางครั้งเรียกทุนประเภทนี้ว่าทุนหมุนเวียน (circulatingcapital)

๓.๓ ทุนสังคม(socialcapital)เป็นทุนที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการผลิตโดยตรง เป็นตัวช่วยเสริมให้การใช้ทุนทั้งสองประเภทข้างต้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเช่นสวนสาธารณะโรงเรียนโรงพยาบาลสนามกีฬาสระว่ายน้ำเป็นต้นสิ่งเหล่านี้ล้านเป็นทุนของประเทศโดยส่วนรวมมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตโดยทางอ้อมคือช่วยให้ความรู้การรักษาสุขภาพอนามัยการพัฒนาในเรื่องของคุณภาพชีวิตของบุคคลที่อยู่ในสังคม

๔. ความสามารถในการประกอบการ (Entrepreneurship)หมายถึง ความสามารถในการดำเนินการวางแผน จัดการทางด้านธุรกิจการผลิตภายใต้ความเสี่ยงในระดับต่าง ๆ ผู้ประกอบการ (entrepreneur) จะเป็นผู้รวบรวมปัจจัยการผลินต่าง ๆ เพื่อทำการผลิตขึ้นเป็นสินค้าและบริการและเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไรผลิตเพื่อใครและความซื่อตรงต่ออาชีพผู้ประกอบการต้องยึดอุดมคติสัมมาอาชีวะในการผลิตและแสวงหา คือผลิตและแสวงหาเฉพาะสินค้าและบริการที่เป็นสัมมาอาชีวะ เว้นมิจฉาณิชชา คือ การเว้นการค้าขายหรือการผลิตสินค้าไม่ชอบธรรมผู้ประกอบการอย่ามุ่งแต่กำไรเพียงอย่างเดียวต้องมีหลักเมตตาธรรมแก่ผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าที่ผลิตออกจำหน่าย

ผู้ประกอบการต้องเป็นคนใจกว้างมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ที่เกี่ยวข้องมีความจริงใจและต้องเกิดจากส่วนลึกของหัวใจมิใช่พฤติกรรมหวังผลประโยชน์หลักมนุษย์สัมพันธ์คือสังคหวัตถุธรรม[๗]เป็นคุณธรรมเพื่อเกื้อกุลสงเคราะห์กันเป็นหนึ่งของหลักมนุษยสัมพันธ์ที่ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการตลอดจนผู้ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจทุกระดับจำเป็นต้องมีสังคหวัตถุธรรม ๔ประการ เพราะหลักธรรมดังกล่าวเป็นหลักมนุษยสัมพันธ์ที่ผู้ประกอบการต้องควรมีได้แก่

๑. ทาน ต้องคิดให้บ้างอย่าคิดแต่เอาอย่างเดี่ยว เพราะไม่ว่าจะเป็นสังคมไหนโดยส่วนลึกแล้วย่อมมีความรู้สึกต่อต้านคนเห็นแก่ตัวเพราะคนที่มีความเห็นแก่ตัวรุนแรงไม่เห็นประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ถ้าเป็นผู้นำก็ไม่อาจครองใจผู้ใต้บังคับบัญชาได้

๒. ปิยวาจาเจรจาไพเราะอ่อนหวานคำพูดเป็นเรื่องสำคัญ อาจบั่นทอนให้คนหมดกำลังใจหรือเสริมให้เกิดกำลักใจและมีผลกระทบไปถึงพลังการผลิตด้วยผู้ประกอบการจึงต้องรู้จักพูดจาไพเราะรู้จักจิตวิทยาที่จะให้เกิดแรงจูงใจต่อพลังการผลิต

๓. อัตถจริยาประพฤติประโยชน์ปกติคนเราถ้าใครประพฤติประโยชน์ให้ยากที่จะลืมยิ่งมีคุณธรรมเรื่องกตัญญูกตเวทีเข้ามาโยงด้วยมโนสำนึกที่จะตอบแทนคุณผู้ให้ประโยชน์ย่อมมีมากขึ้น จะเห็นว่าอุดมคติเช่นนี้ได้กลายเป็นระบบอุปถัมภ์ของสังคมไทยในปัจจุบันไปแล้ว ผู้ประกอบการจึงควรมีมนุษยสัมพันธ์ส่วนนี้ เพื่อช่วยส่งเสริมคุณธรรมที่จะพึ่งมีต่อกันทั้งผู้วางนโยบายและผู้สนองนโยบายตลอดจนพลังขับเคลื่อนในการผลิตทุกระดับ

๔. สมานัตตตาความเป็นผู้มีตนเสนอ ผู้ประกอบการต้องวางตัวเสมอเป็นกันเอง เสมอต้นเสมอปลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เคยสงเคราะห์อย่างไรก็สงเคราะห์เคยประพฤติประโยชน์อย่างไร ก็ประพฤติเคยพูดจาไพเราะอย่างไรก็ทำให้เป็นปกติต่อเนื่องอย่างที่เคย ไม่แสดงพฤติกรรมสูง ๆ ต่ำ ต่อผู้สนองนโยบาย การผลิต หลักของสังคหวัตถุธรรมเห็นหลักมนุษยสัมพันธ์หรือสายใยที่สำคัญยิ่งเพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างระหว่างพลังการผลิตด้วยกัน
ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์การผลิตแนวพุทธจะมีแนวคิดที่แตกต่างกันเพราะผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์การผลิตแนวพุทธจะไม่เป็นรูปธรรมแต่จะเป็นเรื่องความสุขทางใจไม่หวังผลกำไรเหมือนกับเศรษฐศาสตร์ตะวันตกผลตอบแทนของปัจจัยการผลิต หรือ ผลตอบแทนที่เจ้าของปัจจัยการผลิตจะได้รับจากการถือครองปัจจัยการผลิต ซึ่งจะได้มากหรือน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้และปริมาณของปัจจัยการผลิตนั้นๆ ที่มีอยู่ในตลาดดังนี้

ผู้ที่ถือครองที่ดินและให้ผู้อื่นเช่าจะได้ผลตอบแทนอยู่ในรูปของค่าเช่า(Rent)แรงงาน ผู้เป็นเจ้าของแรงงานจะได้รับผลตอบตอบแทนอยู่ในรูปของค่าจ้างหรือเงินเดือน(wageor salary)ทุนผู้เป็นเจ้าของทุนจะได้รับผลตอบแทนอยู่ในรูปของดอกเบี้ย (interest)ผู้ประกอบการจะได้รับผลตอบแทนอยู่ในรูปของ กำไร (profit)เป็นต้น

****************

หนังสืออ้างอิง

พระธรรมปิฎก. (ป.อ.ปยุตฺโต), "เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ"กรุงเทพฯ : พิมพ์ครั้งที่ ๗.พิมพ์ที่ บริษัท สหธรรมิกจำกัด.๒๕๔๑

พระไตรปิฎกภาษา. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,เล่มที่๒๒. กรุงเทพฯ: พิมพ์ที่โรงพิมพ์มหาจุลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๓๙ หน้า ๒๙๕.

พระไตรปิฎกภาษา. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,เล่มที่๒๑. กรุงเทพฯ: พิมพ์ที่โรงพิมพ์มหาจุลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๓๙ หน้า ๕๐.

สำราญอิ่มจิตต์. เศรษฐปรัชญาในพุทธศาสนา,กรุงเทพฯ : พิมพ์ที่ บริษัท ธนาเพรส จำกัด. ๒๕๔๗

แก้วชิตตะขบ. "พุทธธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ" ฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนา กองพุทธศาสนศึกษาสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์สำนักพาระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ๒๕๕๐

ณรงค์ธนาวิภาส"เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น" บริษัท วิทยาพัฒน์จำกัด.บางกะปิ. กรุงเทพฯ๒๕๔๑



[๑] พลวัฒน์ชุมสุข. อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์.คณะสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

[๒] พระธรรมปิฎก.(ป.อ. ปยุตฺโต), "เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ"กรุงเทพฯ : พิมพ์ครั้งที่ ๗.พิมพ์ที่ บริษัท สหธรรมิกจำกัด.๒๕๔๑. หน้า ๕๐

[๓] พระไตรปิฎกภาษา. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,เล่มที่๒๒. กรุงเทพฯ: พิมพ์ที่โรงพิมพ์มหาจุลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๓๙ หน้า ๒๙๕.อ้างในสำราญอิ่มจิตต์. เศรษฐปรัชญาในพุทธศาสนา,กรุงเทพฯ : พิมพ์ที บริษัท ธนาเพรส จำกัด. ๒๕๔๗. หน้า ๑๓-๑๔

[๔] แก้วชิตตะขบ. "พุทธธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ" ฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนา กองพุทธศาสนศึกษาสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์สำนักพาระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ๒๕๕๐หน้า๖๗-๖๘

[๕] ณรงค์ธนาวิภาส, "เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น" พิมพ์ครั้งที่๓บริษัท วิทยพัฒน์จำกัด.บางกะปิ.กรุงเทพฯ๒๕๔๑หน้า๔๒-๔๔

[๖] เพราะเงินทุนไม่สามารถนำมาใช้ผลิตสินค้าและบริการได้โดยตรงเราต้องนำเงินทุนไปซื้อพวกเครื่องจักรเครื่องมือและสิ่งต่าง ๆ เสียก่อน จึงจะนำมาผลิตสินค้าและบริการได้ และผลตอบแทนของการใช้ปัจจัยเงินทุนเรียกว่าดอกเบี้ยเป็นต้น

[๗] อัง.จตุกก. ๒๑ / ๓๒ / ๕๐ฉบับ มจร.

หมายเลขบันทึก: 578623เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2014 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2014 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท