เศรษฐศาสตร์การบริโภคแนวพุทธ


เศรษฐศาสตร์การบริโภคแนวพุทธ[1]

พระพุทธศาสนาถือว่าการกระทำหรือพฤติกรรมต่างๆ ของคนมีจุดเริ่มจากเจตนาความจงใจคิดจงใจทำดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงเน้นถึงความคิดของคนว่าถ้ามีความคิดถูกพฤติกรรมที่ตามมาก็ถูกไปด้วยถ้ามีความคิดผิดพฤติกรรมที่ตามมาก็ผิดไปหมดในลักษณะนี้จะเห็นว่าบทบาทของสัมมาทิฏฐิและมิจฉาทิฏฐิจึงมีแก่มนุษย์ทุกด้านรวมทั้งการบริโภคด้วยดั้งนั้นการบริโภคหรือบริโภคที่ถูกต้องย่อมจะทำประโยชน์และมีคุณค่ามาสู่ชีวิตทั้งส่วนตนและส่วนรวม[2]การบริโภคตามแนวพระพุทธศาสนาต้องคำนึงถึงประโยชน์ของผู้บริโภคมากกว่าประโยชน์ส่วนตนหรือผลกำไรแต่การบริโภคของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักจะไม่คำนึงถึงประโยชน์ของผู้บริโภคแต่จะคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก ดังนั้น จึงยกตัวอย่างเศรษฐศาสตร์กระแสหลักมาเปรียบเทียบกับการบริโภคเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ เรื่องอุปสงค์ทำให้ทราบว่าปริมาณเสนอซื้อสินค้าและบริการกับราคาสินค้าและบริการในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกันแต่ไม่ได้อธิบายถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างละเอียดในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการชนิดต่าง ๆเพื่อให้ได้รับความพอใจสูงสุดภายใต้รายได้ที่มีอยู่อย่างจำกัดในขณะใดขณะหนึ่งในหลักการที่จะศึกษาถึงทฤษฎีพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อวิเคระห์หาภาวะดุลยภาพของผู้บริโภคซึ่งทฤษฎีที่อธิบายพฤติกรรมของผู้บริโภค มี 2 ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก คือ

1. ทฤษฎีอรรถประโยชน์(Utilitytheory)เป็นการวิเคราะห์แบบวัดเป็นหน่วยได้ หรือ เรียกว่า

CardinalUtilitytheoryจะศึกษาในรูปของจำนวนหน่วยของความพอใจ

2. ทฤษฎีว่าด้วยเส้นความพอใจเท่ากัน(indifferencecurvetheory)เป็นการวิเคราะห์แบบ

นับลำดับที่เรียกว่าOrdinalUtilitytheoryจะศึกษาในรูปของลำดับความพอใจเท่ากัน

ทฤษฎีอรรถประโยชน์(UtilityTheory)จะอธิบายพฤติกรรมของผู้บริโภคในการจัดสรรรายได้ที่มีอย่างจำกัดเพื่อใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดว่าเป็นจำนวนเท่าใด จึงจะได้รับความพอใจสูงสุดโดยมีข้อสมมติฐานที่สำคัญดังนี้

  1. ผู้บริโภคทุกคนเป็นบุคคลที่มีเหตุผลในการตัดสิ้นใจในเชิงเศรษฐกิจ (EconomicMan) ย่อมเลือกซื้อสินค้าและบริการที่ให้ความพอใจสูงสุด(Maximize Utility) ภายใต้รายได้ที่มีอยู่อย่างจำกัดหรือรายได้ที่คงที่
  2. ความพอใจที่ผู้บริโภคแต่ละคนได้รับจากสินค้าและบริการสามารถวัดออมมาเป็นหน่วยหรือตัวเลขที่แน่นอนได้เรียกหน่วยในการวัดว่ายูทิล (Util)ตัวอย่างเช่นก๋วยเตี๋ยว1จาน ให้ความพอใจหรือให้อรรถประโยชน์แก่นายวรพงษ์เท่ากับ7ยูทิล(Util)เป็นต้น
  3. ตลาดที่ซื้อขายกันเป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์กล่าวคือในระยะสั้นราคาสินค้าและบริการจะคงที่[3]

อรรถประโยชน์ (Utility)หมายถึงความพอใจที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้าและบริการสินค้าใดที่ผู้บริโภคเลือกใช้ แสดงว่าสินค้านั้นทำความพอใจให้กับผู้บริโภคได้ แต่ไม่ได้ หมายความว่าสินค้านั้นจะเป็นสินค้าที่มีประโยชน์เสมอไปเพราะว่าสินค้าบางอย่างให้คุณให้โทษแก่ผู้บริโภค เช่น ผู้บริโภคอยากจะดืมสุรา เพราะคิดว่าทำให้คลายความเครียด สมองปลอดโปร่งลืมทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านมา แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าการดื่มสุราเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้และทางพระพุทธศาสนาถือว่าผิดศีลธรรม เป็นต้น

การที่ผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้าชนิดใดนั้น สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการก็คือได้รับความพอใจสูงสุด แต่การที่จะเปรียบเทียบว่าสินค้าใดทำความพอใจให้กับผู้บริโภคเท่าใดนั้น ไม่สามารถที่จะใช้เครื่องมือใดวัดได้ และไม่มีหน่วยวัดที่ระบุได้ ต่างกับกรณีที่ต้องการวัดความกว้างหรือความยาวของสินค้า ชึ่งอาจใช้สายวัดหรือไม่บรรทัดวัดได้ โดยมีหน่วยวัดเป็นนิ้วหรือเชนติเมตรดังนั้นการวัดความพอใจจึงใช้การเปรียบเทียบความพอใจที่ได้จากการใช้สินค้าต่าง ๆ เช่นการบริโภคทุเรียนผลแรกจะทำให้ได้รับอรรถประโยชน์ (Utility)หรือความพอใจจำนวนหนึ่ง เมื่อบริโภคทุเรียนผลที่สองอรรถประโยชน์ทั้งหมดจะสูงขึ้นเพราะทุเรียนผลที่สองให้ความพอใจเพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง และถ้าหากได้บริโภคทุเรียนผลที่สามและผลที่สี่ ก็จะทำให้ความพอใจทั้งหมดเพิ่มสูงขึ้น เเต่ถ้าบริโภคอิ่มแล้ว การบริโภคทุเรียนเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งผลอาจทำให้ร้อนในไม่สบายได้

ดังที่กล่าวมาข้างต้น อรรถประโยชน์ทั้งหมด (Total Utility : TU) คือความพอใจทั้งหมดที่ผู้บริโภคได้รับได้รับอรรถประโยชน์หรือความพอใจเพิ่มขึ้น เรียกว่า อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม (Marginal Utility: MU) ซึ่งหมายถึง ความพอใจที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นหนึ่งหน่วย

โดยที่การเปลี่ยนแปลงของอรรถประโยชน์หรือTUy-TUx

การเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้าในที่นี้เราสมมติให้ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงการบริโภคสินค้าและบริการทีละ1หน่วยดังนั้นจึงมีค่าเท่ากับ1เสมอ[4]

เศรษฐศาสตร์แนวพุทธพูดถึงเรื่องการบริโภคแต่จะไม่พูดถึงเรื่องสูตรหรือสมการดังที่กล่าวมาแต่จะพูดถึงเรื่องความจริงใจของการบริโภคเท่านั้นการบริโภคก็ต้องแยกว่า เป็นการบริโภคเพื่อสนองความต้องการแบบไหนบริโภคเพื่อสนองความต้องการคุณค่าแท้หรือเพื่อเสพคุณค่าเทียมการบริโภคนี้เป็นจุดยอดของเศรษฐศาสตร์ก็ว่าได้คือกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์นั้นจุดยอดที่การบริโภคเราเข้าใจความหมายของการบริโภคอย่างไรเศรษฐศาสตร์แบบยุดอุตสาหกรรมกับเศรษฐศาสตร์แบบพุทธจะให้ความหมายของการบริโภคไม่เหมือนกัน

การบริโภคเป็นการบำบัดหรือสนองความต้องการอันนี้แน่นอนเราอาจจะพูดในแง่เศรษฐศาสตร์ว่าการบริโภคคือการใช้สินค้าและบริการบำบัดความต้องการเพื่อให้เกิดความพอใจคือคำจำกัดความของเศรษฐศาสตร์แบบยุดอุตสาหกรรมบำบัดความต้องการเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจแล้วก็จบ

ที่นี้ขอให้มาดูเศรษฐศาสตร์แบบพุทธเศรษฐศาสตร์แบบพุทธบอกว่าการบริโภคคือการใช้สินค้าและบริการบำบัดความต้องการเพื่อให้ได้รับความพอใจโดยเกิดคุณภาพชีวิตขึ้นหมายความว่าการบริโภคจะต้องมีจุดหมาย และการบริโภคจะต้องเพื่ออะไร?

เศรษฐศาสตร์แบบยุคอุตสาหกรรมบอกว่าต้องการแล้วก็บริโภคแล้วเกิดความพึงพอใจก็จบไม่ต้องรู้ว่าหลังจากนั้นมันจะเป็นอย่างไรฉะนั้น จะบริโภคอะไรก็ได้ให้เราพอใจก็แล้วกันมันจะเสียคุณภาพชีวิตหรือไม่เสียไม่คำนึงแต่พระพุทธศาสนาบอกว่าจะบำบัดความต้องการเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจก็ถูกต้องแต่ได้รับความพึงพอใจแล้วต้องให้มีผลตามมาโดยเกิดคุณภาพชีวิตฉะนั้นการบริโภคก็ต้องมีความมุ่งหมายว่าเพื่อให้ได้คุณภาพชีวิต นี้ก็เป็นแง่หนึ่งที่ต่างกัน[5]

พฤติกรรมการบริโภคสินค้าอย่างประหยัดและคุ้มค่าพุทธศาสนาสอนไว้ครบถ้วน ทั้งเรื่องการขยันผลิต (อุฏฐานสัมปทา) การออม (อารักขสัมปทา) การควบคุมการบริโภคใช้สอย (สมชีวิตา)แถมยังให้เลือกเสวนากับคนใกล้ตัวและเพื่อนร่วมงานระมัดระวัง(กัลยามิตตา)เพือป้องกันมิให้ผลผลิตที่ได้มาจากการขยันผลิตและขยันออมนั้นต้องสลายไปโดยที่ตนเองไม่มีโอกาสได้ถือเอาประโยชน์ต่อไปนี้ขอยกผู้บริโภคตัวอย่างที่รู้จักใช้สอยสินค้าอย่างประหยัดและคุ้มค่าที่สุดมากล่าวไว้ณ ที่นี้ ดังต่อไปนี้

ตัวอย่างการบริโภคที่มีอยู่ในพระไตรปีฎกในหนวดพระสุตตัตตปีฎกมีชื่อว่าพระพรหมทัณฑสูตรมีเนื้อความโดยย่อว่าหลังจากพระผู้มีพระภาคเสด็จดับขับธปรินิพานแล้วพระเถระทั้งหลายได้มอบธุระให้พระอานนท์เถระเป็นผู้ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะตามพุทธวิธีที่ทรงแนะนำไว้พระอานนท์ชี้แจงถวายพระเถระทั้งหลายว่า"ท่านผู้เจริญกระผมจะลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะได้อย่างไรเพราะเธอเป็นคนดุร้ายเป็นคนหยาบ" พระเถระทั้งหลายจึงได้มีบัญชาให้พระอานนท์ไปพร้อมด้วยภิกษุ500รูปเดินทางโดยเรือถึงกรุงสาวัตถีถึงพร้อมด้วยภิกษุ500 รูป ขึ้นจากเรือแล้วนั่งณโคนไม้แห่งหนึ่งใกล้ราชอุทยานของพระเจ้าอุเทน

พระมเหสีของพระเจ้าอุเทนทรงทราบข่าวเสด็จไปเยี่ยมทรงเลื่อมใสในธรรมีกถาได้ถวายผ้าห่ม500ผืนแก่พระอานนท์แล้วเสด็จกลับเมื่อถูกพระเจ้าอุเทนทรงซักถามจึงกราบทูลให้ทรงทราบพระเจ้าอุเทนทรงประณามและโพนทนาว่า "ท่านพระอานนท์รับผ้าไว้มากมายเช่นนี้ คงจะทำการค้าขายหรือตั้งร้านค้ากระมัง"จึงเสด็จไปพบและถามพระอานนท์ต่อไปนี้เป็นคำถามและตอบระหว่างพระเจ้าอุเทนกับท่านพระอานนท์เกี่ยวกับเรื่องการใช้ประโยชน์จากผ้าที่พระมเหสีของพระเจ้าอุเทนทรงถวาย

พระเจ้าอุเทน"ท่านจะเอาผ้ามากมายนี้ไปทำอะไร"

พระอานนท์"จะแจกถวายภิกษุผู้มีจีวรเก่า"

พระเจ้าอุเทน"แล้วจีวรที่ใช้แล้วที่เคยมีอยู่เดิมล่ะ จะเอาไปทำอะไร"

พระอานนท์"จะเอาไปทำเป็นผ้าเพดาน"

พระเจ้าอุเทน"ท่านจะเอาผ้าเพดานที่เก่าแล้วไปทำอะไร"

พระอานนท์"จะเอาไปทำเป็นผ้าปลอกฟูก"

พระเจ้าอุเทน"จะเอาผ้าปลอกฟูกที่เก่าแล้วไปทำอะไร

พระอานนท์"จะเอาไปทำเป็นผ้าปูพื้น"

พระเจ้าอุเทน"จะเอาผ้าปูพื้นที่เก่าแล้วไปทำอะไร

พระอานนท์"จะเอาไปทำเป็นผ้าเช็ดเท้า"

พระเจ้าอุเทน"จะเอาผ้าเช็ดเท้าที่เก่าแล้วไปทำอะไร"

พระอานนท์"จะเอาไปทำเป็นผ้าเช็ดธุลี"

พระเจ้าอุเทน"จะเอาผ้าเช็ดธุลีที่เก่าแล้วไปทำอะไร"

พระอานนท์"จะโขลกผ้าเหล่านั้นขยำกับโคลนแล้วฉาบทาฝา

พระเจ้าอุเทนทรงดำริว่า"พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรทั้งหมดนี้นำผ้าไปใช้คุ้มค่าไม่ใช่เก็บเข้าคลัง" จึงได้ถวายผ้าอีกจำนวน500ผืนแก่ท่านพระอานนท์[6]

พระอานนท์เป็นผู้บริโภคตัวอย่างที่ประเสริฐยิ่ง แค่ผ้าเพียง1ผืนก็ใช้ได้อย่างคุ้มค่ายิ่ง เริ่มแต่ใช้ห่มจนห่มไม่ได้แล้ว จึงเอาไปขึงเป็นผ้าเพดานปลอกฟูกผ้าปูพื้นผ้าเช็ดท้าผ้าเช็ดุลีจนกระทั่งขั้นสุดท้ายใช้ต่อไปอีกไม่ได้แต่ท่านก็ยังหาวิธีใช้ประโยชน์ขั้นสุดท้ายจนได้คือเอาผ้าไปโขลกขยำกับดินเหนียวแล้วฉาบทาฝากุฏีเราศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของพระอานนท์แล้วลองเปรียบเทียบดูกับพฤติกรรมการบริโภคของคนในปัจจุบันเราอาจกล่าวได้ว่าพฤติกรรมการบริโภคหันหลังชนกัน หรือพฤติกรรมเส้นขนานคือเดินไปบนเส้นทางเดียวกันไม่ได้พระอานนท์ท่านมุ่งการบริโภคคุณค่าแท้ของปัจจัย4และมุ่งคุณภาพชีวิตจากการบริโภคไม่ได้มุ่งปริมาณหรือสนองตัณหาจากการบริโภคส่วนพฤติกรรมการบริโภคของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบันมุ่งประการหลังคือปริมาณและการสนองตอบตัณหาของผู้บริโภคเอง เช่น เสื้อผ้าของใช้เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ใช้ได้ไม่นาม ตกรุ่นก็ซื้อใหม่ชำรุดนิดหน่อยก็ไม่ซ่อมแซมบูรณะแทนที่จะคิดว่ามีมันไว้เพื่อใช้ประโยชน์แต่กลับเป็นว่ามีไว้เพื่ออวดกันสื่อต่างๆ ก็โฆษณาปลุกเร้าอกุศลมูลกระตุ้นให้อยากเสพอยากเป็นเจ้าของสินค้าอยู่ตลอดเวลาอกุศลมูลจะต้องถูกปลุกเร้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งและจะเพิ่มพลังรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆกลายเป็นปัญหาประชาชาติแต่ถ้าเราช่วยกันปลุกเร้าสังคมเพื่อเปลี่ยนค่านิยมในการบริโภคเสียใหม่โดยยึดกรอบความคิดในการบริโภคของพระอานนท์มาเป็นพื้นฐานในการปลุกเร้าคิดว่าใช้เวลาสักระยะหนึ่งมนุษย์คงจะมีความเป็นอารยชนมากกว่านี้และประการสำคัญคือคนที่ประหยัดรู้จักใช้สอยแบบปฏิปทาพระอานนท์น้อยคนที่จะยากจนสำคัญที่สุดคืออย่าอ้างว่าพฤติกรรมการบริโภคของพระนำมาใช้กับคฤหัสถ์ไม่ได้[7]

บทสรุป

ในทางพระพุทธศาสนาพระพุทธองค์ทรงแนะนำให้พระภิกษุสงฆ์พิจารณาด้วยปัญญาก่อนที่จะบริโภคใช้สอยหรือในขณะบริโภคใช้สอยและหลังบริโภคใช้ปัจจัย4และถ้าหากไม่ทำถือว่าการบริโภคเช่นนั้นเป็นการบริโภคของคนมีหนี้สินติดตัวเป็นการผิดจตุปาริสุทธิศีล ข้อที่4 ปัจจัยสันนิสิตตัวดังที่พระภิกษุสงฆ์ได้พิจารณาก่อนบริโภคมีว่า

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายจึงใช้จีวรเพียงเพื่อกำจัดหนาวร้อนสัมผัสแห่งเหลือบยุงลมแดดสัตว์เลื้อยคลานเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะที่ควรละอาย

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายจึงฉันบิณฑบาตมิใช่เพื่อสนุกสนานมิใช่เพื่อมัวเมามิใช่เพื่อประดับมิใช่เพื่อตกแต่งเพียงเพื่อความดำรงอยู่แห่งร่างกายเพื่อยังชีวิตเพื่อกำจัดความลำบากเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่าเราจะกำจัดเวทนาเก่าและไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การมีชีวิตเป็นไปจักมีแก่เราพร้อมทั้มทั้งความไม่เป็นโทษและความอยู่ผาสุก

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายจึงเสพเสนาสนะเพียงเพื่อกำจัดหนาวร้อนสัมผัสแห่งเหลือบยุงลมแดดและสัตว์เลื้อยคลานเพียงเพื่อบรรเทาอันตรายจากฤดูกาลเพื่อให้ความรื่นรนย์ในการหลีกเร้น

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายจึงเสพยาและเครื่องประกอบอันเป็นปัจจัยสำหรับคนไข้เพียงเพื่อกำจัดเวทนาทั้งหลายเนื่องจากอาพาธต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วเพื่อความเป็นผู้ไม่มีอาพาธเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง

การบริโภคอย่างประหยัดรู้ว่าอะไรคือคุณและโทษของโภคทรัพย์ และเข้าไปเกี่ยวของอย่างถูกต้องด้วยนิสสรณปัญญานั่นคือหลักแห่งสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธศาสนาจะทำให้ได้ประโยชน์หรืออรรถประโยชน์จากการบริโภคสินค้าอย่างสูงสุดและไม่มีโทษด้วย

บรรณานุกรม

พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เล่มที่7กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.2539.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่7). พิมพ์ที่บริษัทสหธรรมิกจำกัด. กรุงเทพฯ 2541.

พระมหาณรงค์จิตฺตโสภโณ.(สมณศักดิ์ในปัจจุบัน พระสุธีวรญาณ),หลักธรรมสำหรับพัฒนาเศรษฐกิจ.กรมการศาสนากรุงเทพฯ. 2527

สำราญอิ่มจิตต์.เศรษฐปรัชญาในพุทธศาสนา.พิมพ์ที่บริษัทธนาเพรสจำกัด.กรุงเทพฯ2547.

สุจิตรากุลประสิทธิ์.เศรษฐศาสตร์จุลภาค.พิมพ์ที่โรงพิมพ์ออฟเซ็ทจำกัด. ซ.รามอินทรา. เขตบางเขน.กรุงเทพฯ 2550.

พลวัฒน์ชุมสุข.เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน.(เอกสารประกอบการสอนโรเนียวปริ้นเตอร์), ภาควิชาเศรษฐศาสตร์. คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.2551.

พุทธธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ. กองพุทธศาสนศึกษาสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.กรุงเทพฯ2550.



[1]พลวัฒน์ชุมสุข. เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน.(เอกสารประกอบการสอนโรเนียวปริ้นเตอร์), ภาควิชาเศรษฐศาสตร์. คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.2551.หน้า65.

[2]พระมหาณรงค์จิตฺตโสภโณ.(สมณศักดิ์ในปัจจุบัน พระสุธีวรญาณ),หลักธรรมสำหรับพัฒนาเศรษฐกิจ.กรมการศาสนากรุงเทพฯ. 2527หน้า37

[3] สุจิตรากุลประสิทธิ์.เศรษฐศาสตร์จุลภาค.พิมพ์ที่โรงพิมพ์ออฟเซ็ทจำกัด. ซ.รามอินทรา. เขตบางเขน.กรุงเทพฯ 2550.หน้า103.

[4]สูตรMU = TUy – TUxหรือMU = TUa – TUn-1

TU= i=1nMUi'>

[5]พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่7). พิมพ์ที่บริษัทสหธรรมิกจำกัด. กรุงเทพฯ : 2541. หน้า 37-38.

[6] พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เล่มที่7กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.2539. หน้า386—389,

[7] สำราญอิ่มจิตต์.เศรษฐปรัชญาในพุทธศาสนา.พิมพ์ที่บริษัทธนาเพรสจำกัด.กรุงเทพฯ2547.หน้า53-54.

หมายเลขบันทึก: 578622เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2014 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2014 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท