การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ณ มรภ.หมู่บ้านจอมบึง


วัสดีลูกศิษย์และชาว Blog ทุกท่าน

วันนี้ผมและทีมงานเดินทางมาบรรยายหัวข้อ แนวทางการพัฒนาบุคลากรสู่คุณภาพการศึกษาเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนและศตวรรษที่ 21 ณ ห้องประชุมศูนย์ภาษาชั้น 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ให้กับกลุ่มคณาจารย์ในหลายจังหวัดของโซนจังหวัดราชบุรี นครปฐม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา รวมผู้เข้าสัมมนากว่า 200 ท่าน

ผมจึงขอใช้ Blog นี้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความเห็นกัน เพื่อที่จะนำไปบริหารและเป็นประโยชน์ต่อไปครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 576474เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2014 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2014 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

โดย...ทีมงาน Chiraacademy

กล่าวเปิดโดย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

รู้สึกเป็นเกียรติมากที่ ดร.จีระ มาบรรยายให้ในวันนี้ วิทยากรระดับชาติ เป็นสิ่งที่ดีมาก และทำให้ทุกท่านได้ประโยชน์อย่างมาก ประเด็นหลักที่อยู่กับมันในปัจจุบัน คือ การเปลี่ยน เราจะอยู่ในบริบท การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน คนสู่ศตวรรษ 21 ให้เราต้องกับมัน ไม่ว่าเราจะอยู่ในบทบาทไหนก็ตาม เราต้องเปลี่ยนให้ก้าวสู่ศตวรรษ 21 โอกาสดีมาที่เราจะได้ประโยชน์จาก ศ.ดร.จีระ ที่รู้เรื่อง ทรัพยากรมนุษย์มาก ใช้แนวคิดจากดร.จีระ ในการสอน เพื่อกลับไปปรับตัวในการทำงานในทุกเรื่อง ในการบรรยายนี้ขอขอบคุณทุกท่าน ที่ได้จัดการสัมมนาในครั้งนี้ครับ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • §ขอขอบคุณท่านรองอธิการบดี และ ดร.ชวน ภารังกูล อ.ชัยพร อ.ต้อม และอีกหลายท่านที่ ได้เห็นว่าร่วมมือกัน ไม่ใช่แค่ในห้อง แต่เราร่วมมือกันนอกห้องด้วย แนวคิดของผมคือการทำงานเป็นทีม ซึ่งมีทีมงานมาร่วมด้วย ผมจะกระตุ้นให้ท่านทั้งหลาย คาดไว้อยากได้ 3 อย่าง คือ ค้นหาตัวเอง ถามตัวเองว่าฉันอยู่ตรงไหนในอาเซียนเราจะไปทาง หาช่อง หายุทธวิธี ซึ่งต้องใช้เวลา ถึงจะมีเวลาแค่ 1 วัน ก็ยังไม่ชนะ มาที่ผมอยากหาความรู้ร่วมกัน
  • §เอกสารที่ไปคือเป็นแค่ส่วนหนึ่งของผม แต่ต้องรู้วิธีการในการติดต่อกับผม เราต้องเป็น Network กัน ซึ่งเข้าสู่ ทฤษฎีกระเด้งของผม
  • §วันนี้สวนสุนันทา ผมสอนมีสอน ป.เอก ที่มี จีระ อ.สมชาย และ อ.อเนก สอนด้วย แล้วทำไม มรภ.หมู่บ้านจอมบึงจะเชิญผมไม่ได้ การศึกษาของไทยแคบมาก รู้อย่างเดียวไม่พอ รู้แล้วต้องเอาไปทำด้วย
  • §สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดคือ การค้นหาตัวเอง เราแบ่งความรู้กับเพื่อนร่วมงาน ขอเสนอว่า รู้จักเพื่อนข้างๆ ก่อน เป็น Buddy กันก่อน หันหน้ามาเจอกัน จับคู่กัน
  • §เมื่อเราค้นหาตัวเองแล้ว เราจะปรับปรุงตัวเองอย่างไร ใน 1 วัน ถึงจะทำอะไรไม่ได้เยอะ แต่วันนี้ เราต้องขึ้นกระไดที่ 1 แล้ว เราก็ขึ้นไปบันไดขั้นที่ 1.2 ได้ มันต้องถามว่า วันนี้ฉันได้อะไรบ้าง แล้วถ้าเราได้แล้วต้องจับให้มันแม่น กระตุ้นให้คุณคิด
  • §เราต้องมี Network กัน เมื่อเราเริ่มเข้าใจแล้ว ตอนบ่ายเราจะทำ Workshop ร่วมกัน ผมจะทำ 2 แนว คำว่าเตรียมบุคลากรไปเพื่ออาเซียน เราจะร่วมมือไปอาเซียน Paradox เราอ่อนแอมากในเรื่องการศึกษาในอาเซียน ในระดับการศึกษา เราควรจะปรับปรุงตัวเองให้ดีก่อน คือ ตัวแทนของโรงเรียน เราควรจะมาผนึกกำลังว่าเราจะดูแลบ้านเราอย่างไร? มี Impact และแรงกดดัน ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่มหาอำนาจอย่าง อังกฤษและฝรั่งเศส เอาเราเป็นเมืองขึ้นไม่ได้ หลุดจาก comfort Zone แรงกดดันนี้เป็นแรงกดดันที่ดีมาก
  • §ถ้าเราอยากทำโครงการ เราต้องทำตัวเราให้เข้มแข็งเสียก่อน เราต้องตีตื้นทางการศึกษาเสียก่อน ดูว่าสิงคโปร์เก่งเรื่องอะไรบ้าง เป็นต้น
  • §มรภ.หมู่บ้านจอมบึง เป็นอะไรเหมือน Columbus เราต้องหาโครงการใหม่ๆ ในการทำงานร่วมกัน

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

  • §วันนี้อยากจะบอกว่า สิ่งที่ อ.จีระ ให้ไปมันมีอะไรแฝงอยู่ แต่ใครจะเก็บได้มากน้อยเท่าไหร่
  • §อ.จีระ พูดว่าจะทำอะไรก็ต้องการ Impact ต้องการค้นหาวิธี ต้องการขึ้นบันได ค่อยๆเริ่ม เราคาดหวังที่จะได้รับเรื่ององค์ความรู้ แค่นั้นไม่พอ ท่านอ.เอาขั้นบันไดมาให้ ต้องสดใหม่ สถานการณ์ใหม่ๆมาให้ แต่เวลาแค่ไม่พอ แต่สิ่งที่ได้คือ ขั้นตอนวิธีการเรียนรู้ ต่างๆ เช่น 4L's 8'K's 5K's ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Learning How to Lean ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญ
  • §เราจะนำ Learn Share Care แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มีวิธีการจัดการความรู้และการเก็บเกี่ยว คือ การปลูก และช่วงบ่าย เราก็จะเริ่มเก็บเกี่ยวกัน มันจะเกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้
  • §สุดท้าย มีกระบวนการในการกระตุ้น เกิดกระบวนการ การจุดประกาย ให้ทุกท่านตื่นตัว จะมากน้อยอยู่ที่ทุกท่าน มันจะเกิดเครือข่าย โครงการดังกล่าวในวันนี้จะได้นำไปต่อยอดได้
  • §เรื่องการพึ่งตนเอง เปลี่ยนจากปริมาณเป็นคุณภาพ ถ้าใช้เท่าเดิม ก็คือ Productivity แผนการศึกษา มีทั้งกรอบ ในทฤษฏี HR Architecture

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • §เรามีวิธีการเรียน Learning How to Lean คือการกระตุ้น คิด วิเคราะห์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้สร้างวิธีการหาความรู้ ปรับตัวและให้การศึกษาเราเข้มแข็ง เราควรจะมีโครงการอะไร มีความหลากหลาย เราเอาความหลากหลาย มาผนึกกำลังและปรับตัวเอง
  • §การศึกษาอย่าสอนให้เค้าลอก เราอ่อนเรื่องการศึกษา แต่เราคาดหวังที่อยู่ในอาเซียน เราจึงต้องมาปรับตัวของเราให้ดีที่สุด ให้เหมาะสมที่สุด อย่าพูดทุกเรื่อง เลือกประเด็นที่สำคัญที่สุด ไม่มีใครรู้เกี่ยวกับปัญหาของท่านเท่าตัวท่านเอง ผมมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยทุกท่าน ทุกท่านมีความสามารถอยู่แล้ว
  • §ผมไม่เคยหยุดการเรียนรู้ เปิดอินเตอร์เน็ทได้ นอกเหนือจากการสัมมนา ครั้งนี้ไม่ใช่ธรรมดา Learning How to Lean ผมขอเน้นเรื่อง 4L's ผมจะกระตุ้นให้ทุกท่านได้คิด ในการเข้าสู่อาเซียน เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
  • §ผมจุดประกายให้ทุกท่าน ขอให้มีความสุขการที่ได้มาฟัง ผมมาเพราะตัว P คือ Passion อยากกระตุ้นให้ทุกท่านได้เป็นเลิศ และบรรยากาศที่ดีคือการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน มีความสุขที่ได้มาในวันนี้
  • §ใครที่อยู่จนถึงเย็น ทุกท่านจะได้รับสิ่งดีเพิ่มขึ้น อาจจะเป็นเป็นอีกคนนึงได้ จากประสบการณ์ผม ขอให้ทุกท่านเอาชนะอุปสรรค ให้คุณฉลาดและติดตัวทุกท่านไป
  • §Learning Opportunity หมายความว่า ถึงจะมีผู้เข้าร่วมเยอะ เราต้องเอาความหลากหลายมารวมตัวกัน มาแลกเปลี่ยนกัน ต้องมีประเด็นในการแชร์กันเอาปัญหาของแต่ละจังหวัดในเรื่องการศึกษามาแลกเปลี่ยนกัน
  • §ใครที่จะเป็นลูกศิษย์ ต้องเข้าใจ ทฤษฎี 8K's และ 5K's ด้วย มีการปะทะกันทางปัญญา ปัญญาเกิด คิดเป็น วิเคราะห์ เป็น สังเคราะห์ แก้ปัญหาเป็น มองอนาคต และมองอย่างยุทธศาสตร์ถ้าเราจะปะทะกันทางปัญญา ถ้าเราต้องจะเกิดปัญญา เราต้องปะทะกับความจริง
  • §ปัญญาสำคัญมาก เช่น ท่าน ว. ปัญญาสุดยอด และหลัง 4 โมงครึ่งในวันนี้ ทุกท่านยังได้นำกลับไปต่อยอด เรียกว่า วัฒนธรรมการเรียนรู้ Learning Culture
  • §แล้วเราจะมีคนเก่งเพิ่มขึ้นอีกในวันนี้
  • §โครงการใหม่ๆ ในวันนี้ ที่จะแลกเปลี่ยน ถึงจะไม่ได้ทำในวันนี้ ก็สามารถนำไปใช้ในครั้งต่อไป เอาความรู้ต่างๆไปปรับใช้กับ Business ทุกท่านผลิตทรัพยากรมนุษย์ ให้เขามีมูลค่าเพิ่ม คือ ทฤษฎี 3V's คือ อนาคตที่เราจะนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม วันนี้ เกาหลีมีซัมซุง แข่งกับไอโฟน คนไทยคิดว่าสอนไปเพื่อไปสอบ แต่เราต้องคิดว่าสอนไปนำไปทำงาน คิดเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ Value Creation
  • §วันนี้ การเชิญคน ที่มาจากหลายที่ๆ เรียกว่าความหลากหลาย Value Diversity เชิญผมมา ต้องรู้ว่าผมมาเพื่อกระตุ้นให้ทุกท่านกระเด้ง
  • §วัตถุประสงค์ในวันนี้คือ อย่างน้อยคือความเข้าใจ หรือปรึกษา Google เปิดโลกทัศน์ของเราให้กว้าง ให้เห็นถึงการ Change ที่มันเกิดขึ้น มี 3 อย่างที่มองไม่ออกคือ ความเร็ว ไม่แน่นอนและทายไม่ออกอยากให้ท่านมองไปข้างหน้า ว่า 20 ปีข้างหน้า การศึกษาไทยจะเป็นอย่างไร
  • §มีความเข้าใจด้านการเปลี่ยนแปลง คือทุน แต่ทุนที่สำคัญที่สุดคือ ทุนมนุษย์ ต้องจัดการกับการเปลี่ยนแปลงให้ได้
  • §สร้างแรงบันดาลใจ และการค้นหาตัวเองด้วย
  • §การศึกษาไทยในปัจจุบันถึงเราจะรู้จักอาเซียนเราต้องรู้ว่าเรากำลังอ่อนแอ เราต้องเปลี่ยน การศึกษาไทยต้องปรับตัวให้สร้างทุนมนุษย์ให้มีความสามารถเพิ่มขึ้น
  • §การศึกษาไทยต้องปรับปรุง ซึ่งในปัจจุบันอยู่ใน Comfort Zone จึงไม่ได้มีการ Benchmark กับประเทศอื่น
  • §เมื่อยังไม่ได้เข้า ASEAN การศึกษาไทยเน้นแต่ปริมาณ แต่ไม่ได้เน้นคุณภาพ
  • §HR Architecture เราต้องดูเรื่อง สื่อ การศึกษาและวัฒนธรรม แต่เราเน้นปริมาณ ไม่ได้ปะทะความจริง เราจึงไม่ได้ทรัพยากรมนุษย์ ที่คิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบ Creativity เสนออะไรใหม่ นำไปทำ และทำให้สำเร็จ และทำและปะทะกับความล้มเหลว จุดอ่อนคือมีปริมาณในระบบการศึกษามาก ไม่เป็นสังคมการเรียนรู้เรียนมหาวิทยาลัยเยอะแต่ไม่มีคุณภาพ เราจึงต้องมาปรับปรุงทรัพยากรมนุษย์ที่จะส่งไป การศึกษาในอนาคตคือ ก่อนที่จะเข้าสู่อาเซียน เราควรจะเตรียมตัวเข้มแข็งและคู่ขนานในการร่วมมือกับเขา
  • § ในการทำ Workshop ในตอนบ่าย เป็นโครงการที่จะพัฒนาเราเองก่อน เราควรจะทำอะไรบ้าง ในปี 2015 2016 เป็นต้น ต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ เราต้องไปเพื่อพัฒนาตัวเราเองให้มันมากขึ้น
  • §มหาวิทยาลัยต้องเป็นคน Life Long Learning ต้องมีความรู้ ในเรื่องต่างๆ เช่น การแข่งขัน ประชาธิปไตย ความยากจน สิ่งแวดล้อม โลกาภิวัตน์ คุณธรรม
  • §ในวันนี้ตอนบ่าย เราควรจะคิดเหมือนกันว่า 2015 2016 หรือ 2017 เราจะผนึกกำลังอย่างไร?ก่อน เราต้องพึ่งตัวเอง พึ่งมหาวิทยาลัย พึ่ง อบจ.เป็นต้น
  • §โลกปัจจุบันขับเคลื่อน Knowledge คือ 3v's อย่าคิดว่าทำไม่ได้ ต้องคิดนอกกรอบ
  • §การศึกษาต้องปะทะความจริง ถึงจะอยู่รอดให้คิดเป็น วิเคราะห์เป็น อย่าสอนตามตำรา วิชาต้องไปประยุกต์กับความจริง เรียนและถามให้ได้ เราเรียนเพื่อจะนำไปทำงาน และให้สังคมอยู่รอด
  • §เราคือพลังที่ปรับปรุงให้มันดีขึ้น
  • ผู้เข้าร่วม
  • §สรุปประเด็นหลักๆ เช้าวันนี้ได้อะไรบ้าง จากที่ฟังมาตอนเช้า ประเด็นแรกคือความสำคัญของการศึกษาและผลกระทบและการนำการศึกษาเพื่อพัฒนากับตัวเองและสังคม
  • §Impact ต่อการศึกษา การศึกษาทุกวันนี้ฝึกให้เด็กมีวินัย ยังขาด จิตสาธารณะ คุณธรรม จริยธรรม ต้องมีสังคมการเรียนรู้ แต่ผลไม่เกิด เกิดก็น้อยมาก
  • §มองในมุมที่เป็นครู ปัจจุบันการศึกษา นักเรียนก็ถามว่าเรียนไปเพื่ออะไร มีการยัดความรู้ใส่หัวเด็ก สิ่งที่อ.พูดและนำไปใช้ คือ นักวิชาการ ครูและผู้ที่สูงขึ้นไป ไม่รู้ว่าเด็กปกติเป็นอย่างไร เรียนไปเพื่ออะไร? จึงต้องปรับปรุงเรื่องตรงนี้ให้มากที่สุด
  • §นักศึกษา : มีการหลักสูตร ที่เรียน Social Media มากกว่าการเรียนรู้ในห้องเรียนต่างกันอย่างไร?
  • §อ.จีระ ล่าสุดได้มีดูแล้วว่า ดีกว่า แต่เด็กในต่างประเทศที่ใช้ Social มากไปทำให้ เค้าคิดน้อยลง การที่จะหาความรู้จาก Google และต้องนำมาแยกแยะว่าดีหรือไม่ดี เราต้องเอามาสังเคราะห์ ไม่ใช่แค่ตัดแปะ เราต้องวิเคราะห์เป็น อาจจะอ่านจากอีบุ๊ค แทนที่จะไปห้องสมุด
  • §ทุกคนควรปรับเปลี่ยนการศึกษาใหม่ แต่ก็ยากหากระบบการศึกษาเป็นแบบนี้อยู่เลย สอนให้เด็กจำเพื่อสอบอย่างเดียว แต่ไม่มีความรู้ เราจะเปลี่ยนได้อย่างไร อยากให้เปลี่ยนระบบทั้งหมด ในสังคมป้อน อัดความรู้อย่างเดียว อยากเปลี่ยนพยายามทำ แต่ทำไม่ได้ และอยากปลุกระดมเบื้องสูงด้วย
  • §อ.จีระ ประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นเล็ก หาช่องเล็กๆเพื่อให้หลุดจาก Comfort Zone เราต้องค่อยๆขึ้นจาก Micro เพื่อไปสู่ Macro เค้าต้องคิดเป็น และเป็นคนรุ่นใหม่ ตอนทำ Workshop เราจะทำอะไรก่อนจะไปร่วมมือกับอาเซียน ประเทศไทยยังอะไรดีอีกเยอะ
  • ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
  • §เราต้องเป็นที่อยากรู้อยากเห็น มองปัญหาการศึกษาไทยพึ่งตัวเองเป็นหลัก อยากให้มองการศึกษาให้กระเด้งไป
  • §“TheworldischangingveryfastandunpredictableMichaelHammerเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เร็วและไม่แน่นอน ต้องจัดการมันให้ได้
  • §ต้องผลิตคุณภาพของคน “Comparative advantage of countries or economies depend on the quality of human resources.”
  • §จึงเป็นที่มาของ 8K's 5K's ที่น่าสนใจ
  • §คนที่มีในปัจจุบันคุณภาพไม่ดี ประสิทธิภาพที่ออกมาจึงอ่อน
  • §“คน คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร” คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา
  • §เราผลิตมนุษย์ คือ คน ดูสิงคโปร์ ไม่ทรัพยากรธรรมชาติเลยแต่ร่ำรวยกว่าเรา 12 เท่า ตอนหลังการศึกษาไทยปรับเรื่องวิชาการ ไม่มองความสำคัญแค่การเมือง
  • §“ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ไม่ใช่เงิน สิ่งของหรือเครื่องจักร แต่เป็นคน เช่น สิงคโปร์ หรืออิสราเอล” จีระ หงส์ลดารมภ์
  • §“People have unlimited Potential” Antony Robbins
  • §ทุนมนุษย์มี 2 ระดับ วันนี้เราพูดระดับ Macro เยอะหน่อย เรามีคำว่า ปลูกและเก็บเกี่ยว กระตุ้นให้คุณเป็นเลิศได้ กระทุ้งเข้าไปข้างใน สร้างแรงจูงใจเพื่อมีทุนมนุษย์และชนะอุปสรรคได้อย่างไร
  • §วันนี้อาจจะไม่พูดเรื่อง Leadership มันคือการเอาชนะอุปสรรคเท่านั้น และเราก็ต้องแก้มันให้ได้
  • §“การมองภาพทรัพยากรมนุษย์
  • §จาก Macro สู่ Micro” จีระ หงส์ลดารมภ์
  • §หลังจากวันนี้แต่ละคนต้องกลับไปทำ ไม่ต้องรออะไรทั้งนั้น ขอให้ไปศึกษาให้ดีทฤษฎี 3V : Value Added
  • สร้างมูลค่าเพิ่ม Value Creation สร้างคุณค่าใหม่ Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย การสร้างมูลค่าที่มาจากแนวเดิมValue Diversity คืออาเซียน
  • §การปรับตัว 2 แนว ปรับตาม HR Architecture และปรับการร่วมมือที่จะร่วมกับอาเซียน การแบ่งกลุ่มต้องทำให้ทุกคนมีความเห็นร่วมกัน
  • §มีอาเซียนเก่ากับอาเซียนใหม่ อาเซียนใหม่ เช่น ลาว เป็นต้น ถ้าเราไม่รู้จักเขาจริง เราพูดผิดเราก็ยุ่งเลย ศึกษาเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมของประเทศกลุ่มอาเซียนให้รอบคอบ
  • §GDP อยู่ในอาเซียน 3% แต่ถ้าเราเข้าไป อาเซียน + 6 เราถึงมีโอกาส
  • §ประเทศสิงค์โปร์ จุดแข็ง รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุดของอาเซียน และติดอันดับ 15 ของโลก การเมืองมีเสถียรภาพ เป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ แรงงานมีทักษะสูง ชำนาญด้านการจัดการทรัพยากรบุคคลและธุรกิจ มีที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางเดินเรือถ้าเราจะลิงก์กับเขาคือเรื่องคน
  • §จุดอ่อน พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและขาดแคลนแรงงานระดับล่าง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจสูง ประเด็นที่น่าสนใจ พยายามขยายโครงสร้างเศรษฐกิจมายังภาคบริการมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกสินค้า
  • §อินโดนีเซีย : เป็นประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุด ถ้าร่วมมือกับเขาเราต้องดูเรื่องการเดินทางเดินทางโดยเครื่องประมาณ 4 ชั่วโมงทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและจำนวนมาก โดยเฉพาะถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ โลหะต่างๆระบบธนาคารค่อนข้างแข็งแกร่ง
  • §การรู้เขารู้เรา ต้องรู้ลึก การร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในการทำ Workshop เราต้องมามองภูมิศาสตร์ให้ชัดเจน อย่าทำโครงการที่เวอร์มากไป คิดโครงการที่สามารถทำได้
  • §ประเทศที่มองไทยไม่ค่อยดีในขณะนี้คือ ประเทศลาว กัมพูชา และมาเลเชีย
  • §ประเทศฟิลิปปินส์ : จุดแข็งประชากรจำนวนมากอันดับ 12 ของโลก (>100 ล้านคน)แรงงานทั่วไปมีความรู้-สื่อสารภาษาอังกฤษได้
  • §จุดอ่อนที่ตั้งห่างไกลจากประเทศสมาชิกอาเซียนระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสวัสดิภาพทางสังคม
  • ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
  • §ประเด็นที่น่าสนใจ
  • สหภาพแรงงานมีบทบาทค่อนข้างมาก และมีการเรียกร้องเพิ่มค่าแรงอยู่เสมอการลงทุนส่วนใหญ่เป็นการรองรับความต้องการภายในประเทศเป็นหลัก
  • §ประเทศลาว : จุดแข็งมีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำและแร่ชนิดต่างๆการเมืองมีเสถียรภาพค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.06 USD/day)
  • §จุดอ่อนระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควรพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา การคมนาคมไม่สะดวก ไม่มีทางออกสู่ทะเล
  • §ประเด็นที่น่าสนใจ: การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานน้ำ และเหมืองแร่
  • ประชาคมอาเซียน (ASEAN COMMUNITY: AC) คือ ข้อตกลงร่วมมือกัน 3 สาขาใหญ่
  • เศรษฐกิจ และการค้า การลงทุน สังคมและวัฒนธรรม ความมั่นคงทางการเมืองและสำคัญที่สุดจะเชื่อมโยงทั้ง 3 เรื่องเข้าด้วยกัน เรียกว่า “ASEAN Connectivity” เชื่อมโยงเข้าหากัน
  • §ยกตัวอย่าง ประเทศไทยไม่อยู่ที่ประเทศอย่างเดียว แต่อยู่ที่คนในประเทศ เราจะปั้นประเทศอย่างไร มีการเชื่อมโยง สินค้า การเงิน การลงทุน หากเขาเก่งก็สามารถยึดได้ เพราะอุปสรรคการค้าการลงทุนน้อย ท่องเที่ยวในสมุย ภูเก็ต และสีลม สุขุมวิท ก็ไม่ใช่คนไทยเลย คุณสามารถขายสินค้าได้ ต้องเป็นคนเก่งและสามารถผลิตได้
  • §เราต้องจัดประเด็นเหล่านี้ให้ได้ เป็นแรงกระตุ้นให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
  • §อาชีพแรกที่เปิดเสรีอาเซียน: แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ วิศวกร สถาปัตยกรรม การสำรวจ นักบัญชี
  • §เมื่อเห็นภาพดังกล่าวแล้ว.. สิ่งที่สำคัญที่สุดในวันนี้ ก็คือ ค้นหาตัวท่านมองแค่ว่าอะไรคือโอกาส และอะไรคือการคุกคาม ต้องคิด วิเคราะห์ว่าอะไรเกิดขึ้น เตรียมพร้อม และสำคัญที่สุดจะฉกฉวยโอกาส และหลีกเลี่ยงการคุกคามอย่างไร? มีความมั่นใจว่าเราปรับตัวอยู่ในประชาคมอาเซียนได้อย่างดี
  • §จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.. ผมวิเคราะห์ว่า..การปรับตัวที่สำคัญที่สุดของทุนมนุษย์ คนไทย” คือ เรื่องทัศนคติ (Mindset) เรื่องความเป็นมืออาชีพ (Professionalism) เรื่องความเป็นสากล (Internationalism) และที่สำคัญที่สุดต้อง Back to basic คือ เรื่องคุณธรรมจริยธรรมเอาจริงเรื่องความโปร่งใส
  • §ปรับ Mind set เราพร้อมจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ในความเห็นของผม..จุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับทุกท่านวันนี้ คือ เปลี่ยน Mindset จาก Fixed Mindset ไปสู่ Growth Mindset
  • §การที่ผมได้มาอยู่ที่นี้กับท่าน ก็เป็นการปรับ Mindset ให้สู่อาเซียนให้ได้
  • §รักษาภูมิปัญญาและรากเหง้า หรือความเป็นตัวตนของคนไทยแต่ที่สำคัญที่สุด ถึงเราจะเป็นชุมชนอาเซียน แต่เราก็ต้องคงไว้ที่ภูมิปัญญาและรากเหง้าความเป็นตัวตนของคนไทย ส่วนความดีงามของสังคมไทย น่าจะเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับอาเซียน
  • §ต้องพัฒนา “คนไทย” ให้ “สื่อสาร” ภาษาอังกฤษ+ภาษาอาเซียนได้ ถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะต้องมีความพร้อมมากขึ้นในเรื่องภาษา ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน และยิ่งไปกว่านั้นภาษาคอมพิวเตอร์ ที่จะคุยแลกเปลี่ยนกับชาวอาเซียนด้วยกัน เพื่อสร้างทุนมนุษย์ของประเทศไทยให้มีความสามารถเรื่องภาษาให้ได้โดยเร็วที่สุด
  • §การปรับตัวที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ ความใฝ่รู้คือ สร้างให้คนไทย ข้าราชการนักการเมือง นักธุรกิจ เด็กและเยาวชนไทย ฯลฯ รวมทั้งตัวเราเอง และวัฒนธรรมองค์กรของเราให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีวัฒนธรรมในการเรียนรู้สำหรับคนในทุกระดับ
  • §การพัฒนาและบริหารคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ในการอยู่รอดและแข่งขันได้ในวันนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การพัฒนาและบริหารคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ หรือทุนมนุษย์ของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของ ข้าราชการ SMEs และผู้นำชุมชน
  • §ผมขอเสนอแนวคิดการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ 8K’s และ 5 K’s ของผม ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้คน ไทยอยู่รอดและก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน ปลูก/พัฒนา
  • §ทุนมนุษย์”Basic : 8K’s Value added : 5K’s
  • §ถึงแม้ว่าเราไม่ได้เข้าไปเชื่อมโยงกับอาเซียน เราก็ทำตัวให้เข้มแข็ง ทำอย่างไรให้การศึกษามีความเป็นเลิศ เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ ทำอย่างมีศักดิ์ศรี
  • §ในเมื่อต้องเข้าร่วมกับเขา เราต้องมีโครงการที่จะร่วมมือกับอาเซียนด้านการศึกษา จะร่วมมืออย่างไรเพื่อให้เป็นรูปธรรม จับมือกัน เอาความหลากหลายขอกลุ่มมารวมกลุ่มกัน
  • §การศึกษาในอาเซียน น่าจะเป็นประเด็นสำคัญในการปรับตัวและกระเด้งไปที่เศรษฐกิจเป็นหลัก คุณผลิตบุคลากรออกมา ต้องรู้จักประวัติศาสตร์ในประเทศต่างๆ ด้วย
  • §ในวันนี้ Networking สำคัญที่สุด อย่าทำคนเดียว ต้องร่วมมือกัน ต้องการการติดตามผล ต้องมีการขึ้นบันได ต้องต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง
  • §การพัฒนาทุนมนุษย์ด้วย 8K’s + 5K’s และการบริหารทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพจะนำไปสู่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต คือStandard มีมาตรฐานQuality มีคุณภาพ
  • Excellence มีความเป็นเลิศBenchmarking เทียบเคียงกับคู่แข่งได้Best Practice เป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีที่สุด
  • §หลังจากผมจบ Phd แล้วก็ยังไม่จบการเรียนรู้ จึงเป็นผลมาจาก 8K's มาจากทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ นักบริหารบุคคลจะไม่เข้าใจ เพราะเป็น พฤติกรรมการตัดสินใจ ทุนทางปัญญาและทุนทางจริยธรรมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทุนมนุษย์
  • §ทุนแห่งความสุข มี Passion คุณทำงานคุณชอบงานของคุณหรือไม่?
  • §ค่าเสียโอกาสของแต่ละคนไม่เท่ากัน ค่าเสียโอกาสของการศึกษาไทย ค่าเสียโอกาสที่พ่อแม่ต้องดูแลเด็ก แต่มันได้อยู่หลักสูตร การศึกษาไทยมีต้นทุนแพง ทุนแห่งความสุขคือความชอบในงานที่ตัวเราทำ
  • §การเรียนยุคใหม่ต้องให้เค้าอยู่รอด และให้เขาเป็นใฝ่รู้ ความยั่งยืนคือสุขภาพ
  • §เมื่อมีพื้นฐานจาก 8K's แล้ว เราก็มาเริ่มมี 5K's คือ ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ทุนทางความรู้และทุนทางนวัตกรรม 3 ข้อนี้เป็นสิ่งที่เราต้องรู้ ถ้า มี 3 ข้อนี้ คือการมี 3V และถ้าเราไปลิงก์กับอาเซียน ก็จะเกิดความหลากหลาย
  • §ทุนทางอารมณ์ ก็เหมือนทุนทางจริยธรรม คือคนเราเก่งแต่ไม่ทุนทางจริยธรรม และไม่ควบคุมอารมณ์ก็จะกลายเป็นตัวกรอบ
  • §ทุนทางวัฒนธรรม คือมูลค่าอันมหาศาล เพราะวัฒนธรรมมาจากวิถีชีวิต คือการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดูวิถีชุมชน กลายเป็นเรื่องสำคัญสุด
  • §8K 5K มันอยู่ในตัวเรา ถ้าการศึกษามันอยู่ในตัวเราการคิดไปข้างหน้า รู้ว่าเราทำอะไร เช่น ตอนอายุ 30 คุณจะทำอะไร แล้วตอน 45 คุณจะทำอะไร?
  • §เก็บเกี่ยวส่วนมากกระตุ้นเอาความเป็นเลิศคุณออกมา นอกจากการสร้างแล้ว.. สิ่งที่สำคัญของกลยุทธ์การบริหารทุนมนุษย์ของผมเรียกว่า ช่วงการเก็บเกี่ยว”... นำมาสู่ทฤษฎีที่สำคัญ อีก 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎี 3 วงกลม ทฤษฎี HRDS
  • §ข้อสำคัญที่ฝากไว้คือ ต้องค้นหาจุดแข็ง และนำศักยภาพที่อยู่ภายในออกมา ส่วนหนึ่งก็เป็นทฤษฎีใหม่ที่ผมเรียกว่า “Intangibles” – ตัวอย่างอันหนึ่งก็คือ ทฤษฎี HRDS – เป็นแนวทางที่ผมใช้เพื่อสร้าง Wisdom และสร้างทุนแห่งความสุข
  • §ใครที่บริหารคุณ การยกย่องคนข้างล่างและให้เกียรติ เขาคือการพัฒนาทรัพยากรที่สำคัญที่สุด การให้เกียรติและศักดิ์ศรี ทฤษฎี HRDS เพื่อการสร้างทุนแห่งความสุข การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการบริหารทุนมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล Happiness Respect Dignity Sustainability เมื่อจบแล้วจะทำอะไร จะทำอะไรเพื่อประเทศให้ดีขึ้น ถ้าความรู้ไม่พอจะหาความรู้เพิ่มด้วยวิธีอะไร นั่นคือความยั่งยืน เราจะทำอย่างไรในโรงเรียนของเราให้ดีขึ้น
  • §“Executionคือลงมือทำให้สำเร็จ”Leaders -Leadership CEO/HR/Non HR Peter Druckers Jack Welch ตัวละคร (Style Kotler)

คุณพิชญ์ภูรี

  • §เรื่องหัวข้อสำคัญของรากเหง้าและภูมิปัญญาของคนไทย บางอย่างเกิดขึ้นเร็ว ไม่สามารถคาดการณ์ได้ มองเรื่องเขมรกับลาว รัฐบาลยอมให้เขามีขี่คอ ภาพลักษณ์เลยลดน้อยลง อันนี้เป็นสิ่งที่ต้องคิด ทำอย่างไรจะสอนเด็กว่าจะอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ต้องใส่ให้เขาคิดวิเคราะห์
  • §เรื่อง 8K's 5K's สำคัญมาก ที่ได้รวบรวมไว้ เราสามารถเช็คว่าลูกศิษย์เราหรือตัวเราพร้อมหรือยัง โดยใช้ตัวนี้มาตัว ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ เป็นแนวกว้าง
  • §มาโยงกับ 5K's ได้ ถ้าเรามีเราก็จะสามารถพึ่งตัวเองได้ ทุนแห่งการสร้างสรรค์
  • §ขอเสริมทฤษฎี 3 วงกลม วงกลมที่ 1 องค์กรน่าอยู่ คล่องตัว ทำให้การพัฒนา เป็นปัจจัย 1 เรื่อง วงกลมที่ 2 ทันสมัย มีบุคลากรมีความสามารถ มีคนเก่ง และวงกลมที่ 3 คือ มีแรงจูงใจให้คนอยากทำงานอย่างเต็มที่เต็มความสามารถ นั่นคือ HRDS
  • §รวมกัน 3 วงกลม คือการสามารถในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพได้ 

โดย...ทีมงาน Chiraacademy

Workshop

  1. เนื่องจากการศึกษาของไทยในปัจจุบันยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพอยู่ จะมียุทธวิธีอย่างไร? ที่จะยกระดับการศึกษาก่อนจะเข้าไปร่วมกับ ASEAN
  2. 2 ยกตัวอย่างโครงการที่เป็นไปได้ 2 โครงการ

กลุ่มที่ 1 : ปัญหาการศึกษาไทย เรื่องคุณภาพ คือ นโยบายที่เบื้องบนให้มาไม่สอดคล้องกับครูและโรงเรียน คนที่มีสิทธิ์เขียนตำรา แต่คนนั้นไม่เคยเห็นนา จะมาสอนหนังสือได้อย่างไร คนกลุ่มนี้เยอะมาก ยุทธวิธีคือการแก้ไข คือคุณถ้าจะเขียนนโยบายให้โรงเรียน คุณสอนเป็นหรือไม่ก่อน

- ความรู้ความสามารถของครูไม่ตรงกับเนื้อหาที่สอน ครูที่มีความรู้ถูกดึงไปส่วนกลาง ครูต้องสอนแบบเหมาชั้น สอนทุกวิชา แนวแก้ไขคือจบเอกอะไรมา สอนเอกนั้น เพื่อตรงกับที่เรียน

- ประตูสู่อาเซียน ปัญหาคือภาษา ทางแก้คือตำราเรียน เรียน A B C ครั้งแรกตอน ป.5 ภาษาแม่ ตำรามีส่วนจำเป็นในการสอนและเรียนมาก

ตัวอย่างโครงการ ครูดีตีเด็กได้ คนที่ยกเลิกไม่ตีเด็ก คือ คุณสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล เป็นผู้ริเริ่ม ครูทุกคนมีจริยธรรมอยู่แล้ว เหตุที่โดนตีเพราะอะไร จะเกิดมีการเรียนรู้ต่อไป

คิดได้ต้องทำเป็น : หนังสือที่มาหนามาก แต่ไม่สามารถให้เด็กเรียนได้ การเรียนรู้ให้เกิดคิด หัวเราะ ได้จะดีกว่า

อ.จีระ ถึงแม้จะเป็นโต๊ะวัยรุ่น ขอชมเชยฟังแล้วดี เอาครูพวกนี้ออกมาเป็นตัวอย่างบ้าง ครูปัจจุบันอยู่ที่นโยบาย

กลุ่มที่ 2: มาจากนครปฐม ในกลุ่มเห็นด้วยที่โตมาจากไม้เรียว ปัญหาการศึกษาคือ ครู คือ ขาดความรู้ความสามารถ แนวทางคือ จัดกิจกรรมให้ครูมีเทคนิค และความรู้ในการต่อยอด อบรมให้บุคลากรในโรงเรียน และนำไปพัฒนากับตัวเด็ก การศึกษาไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่

- การจัดครูให้ตรงกับการสอน ปัญหานักเรียน เด็กที่อยู่มัธยม ยังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ มีผลมาจาก โรงเรียนปฐมด้วย ปัจจุบัน โรงเรียนปฐมไม่มีการอ่าน ก เอ๋ย ก.แล้ว เด็กเลยไม่มีคุณภาพเท่าไหร่ แนวทางการแก้ไข มีการพูดคุยกับเด็กว่าทำไมอ่านไม่ได้เขียนไม่ได้ และประสานงานกับผู้ปกครองด้วย ต้องช่วยกันให้นักเรียนกระตุ้นทางการศึกษาด้วย มีการสร้างนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียน นอกเหนือจากตำราเรียน

- โครงการพี่สอนน้อง เพื่อให้เด็กอ่านออกเขียนได้

อ.จีระ : เป็นโครงการง่ายๆ ไม่เวอร์ ปัญหาเหล่านี้คนรับทราบมากขึ้นมันก็จะดี อยากให้ทำโครงการนี้ต่อไป อย่ามองเฉพาะข้างในมองจากข้างนอกให้ดีด้วย เด็กเจอปัญหาเกม ค่านิยม พ่อแม่ต้องทำงาน อยู่กับคนรับใช้ ภาษาอ่อนมากๆ ผิดแบบจังๆ โครงการหนึ่งที่เสนอคือซ่อมเด็กอ่อน ที่ไม่เอาถ่าน เหตุผลที่ไม่สมบูรณ์ทางจิตใจ ความยากจน ครูไม่จิตวิทยา ว่าเด็กมีปัญหาอะไร เราต้องรู้ปัญหาตรงนี้ และแก้ให้ตรงจุด การซ่อมเด็กอ่อนก่อนที่จบออกไป ทำให้เขามีความมั่นใจมากขึ้น

กลุ่มที่ 3

- จำแนกปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษา เป็นปัญหาค่อนข้างกว้าง ขอเจาะไปที่การพัฒนาสู่อาเซียน ครูผุ้บริหาร ชุมชนและผู้ปกครอง ผู้บริหารเป็นหัว ถ้าหัวไม่ขยับหางก็ไม่ขยับ นำและกำหนดนโยบายทางยุทธศาสตร์ ต้องกำหนดเพื่อนำพาไปสู่อาเซียน กำหนดนโยบายเพื่อรองรับ เพื่อก้าวไปสู่อาเซียน และมีการนิเทศติดตามผล ความเป็นผู้นำ และมีการส่งเสริมด้านภาษาเป็นหลัก เช่น โครงการทวิภาษาเป็นโครงการ สพฐ. ส่วนมากจะถูกกำหนดในโรงเรียนตะเข็บชายแดน สังขะ ภาษาไทย มอญ พม่า โรงเรียนที่อยู่ท้องถิ่นที่มีมากกว่า 1 ภาษา แต่ต้องดูบริบท ว่าเด็ก ชาวบ้านและผู้ปกครองใช้ภาษาอะไร แล้วมาทำ SWOT

- การผลิตครูในที่ต่างๆ มีคุณภาพแค่ไหน ไม่ได้คุณภาพ จบแล้วสอบเข้า ต้องมีมาตรฐานเข้มงวดมากขึ้นเพื่อจบแล้วให้มีคุณภาพมากขึ้น การคัดคนเก่งเข้าสู่องค์กร การเข้าใจในภูมิภาคอาเซียน คัดคนที่มีคุณภาพจริงๆ

- อาเซียนรวมการศึกษาในศตวรรษ 21 รวมการใช้นวัตกรรมเป็นส่วน ครูต้องมีความรู้ในส่วนนี้เป็นอย่างมาก ขอให้มีบุคลากรที่เป็นและมีความเชี่ยวชาญด้วย กระบวนการสอนด้วย

- ความจริยธรรม คุณธรรมของครู ให้มากขึ้น ครูต้องมีความรู้ลึกซึ้งในอาเซียนด้วย กระบวนการสอนที่เน้นเด็กทำเองมากขึ้น ต่างประเทศสอนให้ทำโครงการเล็กๆ Mini Research

- นักเรียนมีการทำโครงงานเพื่อเด็กเข้าใจมากขึ้น ต้องรู้เขารู้เราให้มากขึ้น เป็นการคิดให้เด็กคิดวิเคราะห์

- เก่งดีมีสุข และผู้ปกครองก็สำคัญ มีการจัดสื่อให้ผู้ปกครองได้นำสู่อาเซียนด้วย

- โครงการ ส่งเสริมบุคลากรด้านภาษา ชุมชนสร้างความร่วมมือชุมชนด้านภาษา

กลุ่มที่ 4

- รู้สึกดีใจและตื่นเต้น ได้มุมมองใหม่ๆ มากขึ้น เป็นครูชายแดน ครูบ้านนอกสอนกระเหรี่ยงแรกๆที่ทำงาน ดร.ชวน ไปสัมภาษณ์ ด้านต่างๆมาแล้ว เช่น การรับเด็กเข้าเรียน หากไม่มีเอกสารที่ครบถ้วน ต้องศึกษาเรื่องนี้ให้มากๆ

- ภาพใหญ่คงทำอะไรได้ไม่มาก ยกระดับผู้บริหารก่อน ตัวครูและบุคลากรในโรงเรียน พัฒนาศักยภาพด้านความรู้ สามารถสอนเด็กและคนต่างด้าวด้วย พัฒนาทัศนคติด้วย

- พัฒนาหลักสูตร ที่สำคัญเสนอคือการเทียบเคียงกับโรงเรียนที่ได้มาตรฐานและโรงเรียนข้างนอกที่ดีกว่า

- ยกระดับ และพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ในการเรียน การสอน หาครูที่มีความรู้ความสามารถ และปรับเปลี่ยนในทุกโครงการ

คุณพิชญ์ภูรี :

แต่กลุ่มเก่งทุกลุ่ม ปลื้มใจที่ท่านทำได้ดี โดยเฉพาะในส่วนที่ทำงาน เรื่องความจริง เราเอาความจริงมาวิเคราะห์กัน ตรงประเด็นชัดมาก วิธีการนำเสนอแก้ปัญหายังทำไม่ได้มาก แต่คิดแก้ปัญหา ได้ตรงมาก เช่นโครงการ ครูดีตีเด็กได้ ก็เป็นการแก้ปัญหาในระดับนึง

กลุ่มที่ 2 ปัญหาคล้ายๆ การนำเสนอเริ่มโดดเด่น มีเรื่องผู้ปกครอง จากผู้ปกครอง มีโครงการพี่สอนน้อง บ้านหลังเรียน มีโครงการที่ดี เป็นการแก้ปัญหาที่ดี

กลุ่มที่ 3 คลี่ปัญหาดีมาก แต่ยาวไป สามารถวิเคราะห์และวิธีการแก้ปัญหา เวลาเป็นเรื่องสำคัญ

กลุ่มที่ 4 โดดเด่นที่ผอ.เอาความจริงที่ประสบความสำเร็จที่ทำได้แล้วจริง เป็นความจริงที่ยอมรับกัน หลักสูตรอาเซียน คือ Lifelong Learning และการเรียนรู้ร่วมกัน

อ.จีระ ขอชมเชยทั้ง 4 กลุ่ม ออกมาดีมาก ให้ทีมสังเคราะห์อีกที

โดย...ทีมงาน Chiraacademy

Workshop 2

  1. ในการทำงานร่วมกันของโรงเรียนทั้งหมดในวันนี้

-วิจัย

-ฝึกอบรม

-Study tour

-อื่นๆ

ท่านจะทำงานร่วมกันเพื่อรองรับ ASEAN+6 อย่างไร

2. แต่ละโรงเรียนให้เลือกประเทศที่คิดว่าเหมาะสม และสามารถร่วมมือได้ ใน ASEAN+6 ไม่เกิน 2 ประเทศ และนำเสนองานที่เป็นรูปธรรมร่วมกัน

กลุ่ม 1: ทางกลุ่มอยากยกระดับครู จัดอบรมครู เรื่องการพัฒนาครูด้านวิทย์และคณิตไปฝึกอบรมกับประเทศสิงคโปร์ โดยมีการทดสอบ ด้านภาษาอังกฤษ มีความรู้ด้านคณิต ฟิสิกซ์

อ.จีระ : ขอรับไปเจรจาต่อไป เลือกประเทศอาเซียนอยู่ ดีมากที่เลือกสิงคโปร์

กลุ่ม 2 : ได้มองว่าในการที่จะศึกษาดูงาน น่าจะไปดูงานที่ญี่ปุ่น ดูงานดูวัฒนธรรม สังคม มีปัจจัยอะไรบ้าง มีการเจริญก้าวหน้ามาก พม่า เป็นประเทศปิด และเปิด จะไปดูวิจัยด้วยตัวเอง ได้ผลมาเพื่อทำวิจัย

อ.จีระ : ถ้ามีข้อเสนอหลายกลุ่ม ในญี่ปุ่น อาจจะต้องทำจดหมายถึงเขา ส่วนสิงคโปร์มันมี MOU อยู่แล้ว อย่างวันนี้ที่เราอยู่ด้วยกัน โจทย์นำไปใช้ได้ เพื่ออัพเกรดให้เป็นตัวกระตุ้น เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ที่เลือกญี่ปุ่นและพม่า

กลุ่ม 3 : ไปพม่า เพราะมีลูกศิษย์อยู่พม่าเยอะ ฝั่งพม่าเด็กๆ มีภาษาอังกฤษเก่งมาก ที่สำคัญคือ อยากไปข้ามไปแลกศิลปวัฒนธรรมไทยกัน ดูแลฝ่ายทหารและความมั่นคง เราอยากจะไปหาเขา มีการวิจัยร่วมกัน เอาผู้บริหารในเขตราชบุรี บ้านโป่งมาแลกเปลี่ยนกัน

เลือกไปเกาหลี : เด็กเกาหลี มีเครือข่ายคริสจักร ที่มาสร้างโบสถ์ ให้เยาวชนมาประเทศไทยและแสดงศิลปะ แต่ที่ไม่ชอบคือ เขากินหมา มีเทศกาลกินหมา นักศึกษาเกาหลี มีเทศกาลกินหมา แต่ถ้าเราไปเราไปในนามคริสจักรของเขา 70% มีเด็ก 1000 กว่าคน ที่สอบเข้าโรงเรียนหลักของเกาหลีได้ จึงอยากไปเกาหลี

กลุ่ม 4 : เลือก Study Tour ที่ประเทศญี่ปุ่น เน้นเรื่องความจงภักดี และความมีระเบียบวินัย ช่วงที่มีแผ่นดินไหว ญี่ปุ่นและผู้ประสบภัย มีความระเบียบมากในการรับของมาก ของหมดก็รอรับใหม่

ความจงรักภักดี ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นกำลังจะแพ้สงคราม ยังแย่งกันไปตาม อาสาไปเพื่อองค์จักพัตริ ของเขา

อ.จีระ : เป็นจุดเริ่มต้นในความเป็นไปได้ ที่จะนำไปใช้ ช่วงแรกก่อนเบรคก็มีการมองเรื่องการศึกษา อยากฝากว่า งานครั้งต้องขอขอบคุณ มรภ.จอมบึง ที่ได้นำผมได้มีโอกาสมารู้จักทุกท่าน มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ขอใช้วันนี้เป็นจุดเริ่มต้น มีคณะศึกษาศาสตร์ มี ป.เอก ป.โทร่วมกัน ขอให้ ผ.อ.เฉลียวเป็นประธานรุ่นในครั้งนี้ ขอให้เก็บรายชื่อไว้เพื่อนำไปต่อเนื่อง คือการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในวันนี้ขอถือโอกาสว่าเป็นวันที่มีประโยชน์กับผมมาก ครูที่ดียังมีเหลืออีกเยอะ ในอนาคตเราจะได้ทำงานร่วมกันต่อไป ผมเป็นผู้นำ ที่มารับใช้ท่าน ไม่ใช่ผู้นำแบบสั่งการ แต่ทำให้คนในห้องนี้ดีขึ้น ผู้นำที่ดีต้องดูว่าคุณได้อะไร ไม่ใช่ตัวเองได้อะไร? เวลากลับไปที่หน่วยงานให้ทำงานกันเป็นทีม

คุณพิชญ์ภูรี : กลุ่มที่ได้ในวันนี้คือ กลุ่มที่ดีมาก รู้สึกยินดีมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท