nui
นาง เสาวลักษณ์ พัวพัฒนกุล

โรงเรียนอะไรกันนี่_9_รถไฟตู้ที่เจ็ด


ครูใหญ่โคบายาชิ โซซาขุ หยิบฉวยโอกาสทุกโอกาสที่จะสอนศิษย์อย่างเป็นธรรมชาติ ด้วยความรัก และจิตวิญญาณความเป็นครู

          เด็กๆ รู้ข่าวว่าดึกๆ คืนนี้จะมีตู้รถไฟตู้ใหม่มาที่โรงเรียนโทโมเอสำหรับใช้เป็นห้องสมุด ทุกคนตื่นเต้นมาก และคิดกันไปต่างๆ นานาว่า ตู้รถไฟจะมาที่โรงเรียนได้อย่างไร

         สุดท้ายสรุปกันว่า จะอยู่ดูว่ารถไฟมาได้อย่างไร โดยขอให้มิโยจัง ลูกสาวครูใหญ่ไปขออนุญาตนอนที่โรงเรียน ครูใหญ่ไม่ขัดข้องแต่นักเรียนต้องกลับไปขออนุญาตผู้ปกครองก่อน

           เด็กๆ ๑๐ คนกลับบ้านไปขออนุญาตผู้ปกครอง แล้วกลับมาพร้อมชุดนอนและผ้าห่ม ครูใหญ่ให้เด็กๆ ไปนอนในห้องประชุม บอกว่า “ถ้ารถมา ครูจะไปปลุก”

           โต๊ะโตะจังตื่นขึ้นเพราะเสียงเจี๊ยวจ้าว เธอวิ่งผ่านสนามออกไปนอกประตูโรงเรียน เห็น รถไฟอยู่ในหมอกยามเช้า เข้าใกล้มาเรื่อยๆ

            รถเทรคเตอร์ขนาดใหญ่ลากตู้รถไฟมาบนถนน แล่นเข้ามาจอดในโรงเรียน สมัยนั้นไม่มีปั้นจั่น คนงานใช้ท่อนไม้ขนาดใหญ่วางเรียงข้างตู้รถไฟ ค่อยๆ เลื่อนตู้รถไฟจากรถพ่วงลงบนขอนไม้ แล้วเข็นขอนไม้ไปจนถึงตำแหน่งที่จะวางตู้รถไฟ

            ครูใหญ่อธิบายให้นักเรียนฟัง

           “ดูให้ดีๆ นะ ขอนไม้พวกนั้นทำให้ของใหญ่ๆ อย่างตู้รถไฟเคลื่อนที่ไปได้ ด้วยหลักการเข็นไปบนของท่อนกลมที่กลิ้งได้”

            เด็กๆ จ้องดูการทำงานของคนงานอย่างตั้งอกตั้งใจ แสงอาทิตย์ยามเช้าปรากฏขึ้น

            ตู้รถไฟที่รับใช้ผู้คนมายาวนาน ถูกถอดล้อออก วางลงที่โรงเรียนเช่นเดียวกับตู้รถไฟอีก ๖ ตู้ที่วางอยู่ก่อน ต่อไปนี้มันไม่ต้องแล่น หากแต่อยู่เฉยๆ และบรรทุกเสียงหัวเราะรื่นเริงของเด็กๆ (หน้า ๕๒)

           เท็ตสึโกะ (โต๊ะโตะจัง - ผู้เขียน) พรรณนาไว้ว่า

           “เด็กๆ ยืนรับแสงอาทิตย์ยามเช้าในชุดนอน ทุกคนรู้สึกดีใจที่ได้อยู่ในที่นั้น ในขณะนั้น ความดีอกดีใจทำให้เด็กๆ เข้าไปกอดคอกอดเอวครูใหญ่ บางคนเกาะแขนท่านห้อยโหนไปมา

           ครูใหญ่ยืนโซเซ พลางหัวเราะ เด็กๆ เห็นครูใหญ่หัวเราะก็รู้สึกดีใจ และหัวเราะบ้าง ทุกคนต่างหัวเราะกันใหญ่

           ไม่มีใครลืมเสียงหัวเราะในวันนั้นได้เลย ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปอีกนานเท่าใด

......................

บันทึกเพิ่มเติม(ของฉัน)

           ฉันอ่านบทนี้แล้วเกิดภาพจินตนาการ เห็นตู้รถไฟ ครูใหญ่ที่มีเด็กๆ ในชุดนอนห้อมล้อม ห้อยโหน กอดคอ กอดเอว อยู่รอบตัว ฉากหลังเป็นโรงเรียนตู้รถไฟ และท้องทุ่งที่มีแสงยามเช้าแต่งท้องฟ้าเป็นสีทอง สีแห่งความสุขและอบอุ่น

            ครูใหญ่โคบายาชิ โซซาขุ หยิบฉวยโอกาสทุกโอกาสที่จะสอนศิษย์อย่างเป็นธรรมชาติ ด้วยความรัก และจิตวิญญาณความเป็นครู

            เด็กๆ ที่มีครูอย่างนี้โชคดีแท้ๆ.

ศุกร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๗

อ้างอิง: คุโรยานางิ เท็ตสึโกะ. โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง. แปลโดย ผุสดี นาวาวิจิต. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์กะรัต , ๒๕๒๗. หน้า ๔๘-๕๒ ตอน “รถไฟมา” 

หมายเลขบันทึก: 576466เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2014 07:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2014 07:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็นบรรยากาศที่ดีมาก ๆ สุดจะบรรยายจ้ะพี่นุ้ย  น่ารักทั้งเด็ก ๆ ทั้งครูใหญ่จ้ะ

เด็ก ๆโขคดีจริง คงสนุกมาก ๆที่เปลี่ยนที่นอนเพื่อรอดูการมาของรถไฟ ผู้ปกครองก็ไว้วางใจครูใหญ่มากเลยนะคะ

..ความดีอกดีใจทำให้เด็กๆ เข้าไปกอดคอกอดเอวครูใหญ่ บางคนเกาะแขนท่านห้อยโหนไปมา..

ตรงนี้ทำให้คิดถึงครูใหญ่ของตนเองตอน ป. เตรียม ครูใหญ่ชื่อ ครูเสียง  ลูกกำนัน มาสอนด้วย ก็ใจดีมาก ๆ เด็ก ๆแย่งกันนั่งตัก ห้อยโหนทุกวัน แต่เสียดายจำไม่ได้แล้วว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ยังเห็นภาพอยู่เลยค่ะ...

สอนศิษย์อย่างเป็นธรรมชาติ ด้วยความรัก และจิตวิญญาณความเป็นครู ..... เยี่ยมจริงๆ ค่ะ   


ขอบคุณค่ะ

ใช่แล้วค่ะน้องครู คุณมะเดื่อ พี่คิดว่าโรงเรียนในชนบทเรา บรรยากาศอบอุ่นระหว่างครูกับศิษย์ยังมีอยู่นะคะ

พวกเราต่างก็มีครูในดวงใจกันนะคะอาจารย์ GD ถ้า G2K ชักชวนให้พวกเราเขียนเล่าเรื่องครูในดวงใจน่าจะได้รวมเล่มใหญ่ๆ เชียวนะคะ  อย่างเช่น ครูเสียง  อาจารย์เขียนเล่าหน่อนสิคะ อยากอ่านค่ะ

ขอบคุณพี่ Dr. Ple ครูแบบนี้มีเยอะนะคะในบ้านเรา แต่ยังไม่ค่อยมีศิษย์เขียนเล่าเป็นเรื่องเป็นราว

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท