nui
นาง เสาวลักษณ์ พัวพัฒนกุล

โรงเรียนอะไรกันนี่_10_คำมั่นสัญญา และ ซาโยนาระ


ไปที่นั่น...เพื่อรำลึกถึงความดี ความเสียสละอุทิศตัวของคุณครูโคบายาชิ ซึ่งท่านได้จากโลกนี้ไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ .

         เที่ยงวันหนึ่ง โต๊ะโตะจังตัดสินใจว่าจะบอกเรื่องสำคัญมากแก่ครูใหญ่ รอจ้องว่าจะเข้าไปนั่งตักครูใหญ่ เหมือนที่เด็กๆ ชอบทำเวลาครูใหญ่เข้ามานั่งกลางวงในห้องอาหาร แต่เปลี่ยนใจเดินไปนั่งคุกเข่าเรียบร้อยตรงหน้าครูใหญ่

          ครูใหญ่ขยับมาใกล้ แล้วถามว่า “มีอะไรเหรอ”

          “ถ้าหนูโตขึ้น หนูจะเป็นครูโรงเรียนนี้ค่ะ” โต๊ะโตะจังพูดช้าๆ เสียงอ่อนโยน ราวกับเป็นพี่สาว หรือแม่ของครูใหญ่ คราวนี้ครูใหญ่ไม่หัวเราะ แต่พูดเคร่งขรึม

          “สัญญาได้ไหม”

          “สัญญาค่ะ”

......................

          ไฟไหม้โรงเรียนโทโมเอ…

          เวลานั้น ใกล้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ เรียวจัง ภารโรงที่เด็กๆ รักต้องไปเป็นทหาร มีงานเลี้ยงน้ำชาเป็นครั้งแรกเพื่ออำลา

เรียวจังเดินทางไปเป็นทหาร พร้อมกับระเบิดลูกแรกมาลงที่โตเกียว

          และระเบิดจากเครื่องบิน บี.๒๙ ทิ้งลงที่โรงเรียนโทโมเอ ลูกแล้วลูกเล่า

          เท็ตสึโกะ (ตะโตะจัง-ผู้เขียน) พรรณาไว้ว่า

          “โรงเรียนที่เป็นความฝันของคุณครูโคบายาชิ อยู่ในเปลวเพลิง มีเสียงระเบิดน่ากลัวแทนเสียงหัวเราะ และร้องเพลงของเด็กๆ โรงเรียนค่อยๆ พังทลายลง และถูกเผาไหม้...ประกายไฟพุ่งขึ้นทั่วทุกแห่งในจิยูงะโอกะ”

          “ความรักที่คุณครูโคบายาชิมีต่อเด็กๆ และการศึกษา เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าเปลวไฟที่เผาผลาญโรงเรียน พลังในกายและใจของคุณครูใหญ่ยังมีอยู่อีกมาก” (หน้า๑๘๔-๑๘๕)

.....................

บันทึกเพิ่มเติม(ของฉัน)

         หนังสือมี ๖๒ ตอน และมีบทส่งท้ายของผู้เขียน หลายๆ ตอนน่าประทับใจ เช่น “คุณครูชาวนา”  “โรงเรียนซอมซ่อ” และทุกๆ ตอนมี “ปุ๋ยความคิด” ซุกซ่อนอยู่ สุดแต่ใครจะหยิบจับมาใช้ หนังสือยังมีขาย

          การอ่านหนังสือเล่มนี้อีกครั้งหลังจาก ๓๐ ปีผ่านไปเมื่อย่างเข้าวัยเลข ๖ ให้ความรู้สึกที่อ่อนโยน รับรู้ความรักความผูกพันที่คุณคุโรยานางิ เท็ตสึโกะ มีต่อโรงเรียนโทโมเอ และครูใหญ่โคบายาชิ ฉันเองถ้ามีครูอย่างนี้ก็คงรู้สึกไม่ต่างจากคุณเท็ตสึโกะเช่นกัน

          ในบทส่งท้าย คุณเท็ตสึโกะเขียนถึงการไปเยี่ยมสถานที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบันแล้ว “รู้สึกเศร้าใจจนน้ำตาไหล” และ เล่าถึงชีวิตปัจจุบันของเพื่อนๆ ในโรงเรียนเท่าที่เธอสืบหามาได้ มีการนัดพบปะกันทุกปีที่วัดคุฮองบุตสึ

          เดือนพฤศจิกายนนี้ ฉันจะไปญี่ปุ่น จึงได้เพิ่มแผนการไปเยือนสถานที่ที่เคยเป็นที่ตั้งโรงเรียนโทโมเอ ใกล้กับสถานีรถไฟจิยุงะโอกะ และวัดคุฮองบุตสึ วัดที่เด็กๆ ไปทัศนศึกษา อันเป็นสถานที่แห่งเดียวที่ยังคงเหลืออยู่ ฉันตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไปหาให้เจอ

          ไปที่นั่น...เพื่อรำลึกถึงความดี ความเสียสละอุทิศตัวของคุณครูโคบายาชิ ซึ่งท่านได้จากโลกนี้ไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ .

เสาร์ที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๗

อ้างอิง: คุโรยานางิ เท็ตสึโกะ. โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง. แปลโดย ผุสดี นาวาวิจิต. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์กะรัต , ๒๕๒๗. หน้า ๑๘๔-๑๘๕ ตอน “ซาโยนาระ” 

หมายเลขบันทึก: 576467เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2014 08:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2014 08:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เป็นเรื่องราวดี ๆ ที่น่าประทับใจจ้ะพี่นุ้ย

เสียดาย คุณเท็ตสึโกะไม่ได้เล่าว่าได้มีโอกาสพบกับครูใหญ่ตอนโตบ้างหรือเปล่า ขอให้เที่ยวญี่ปุ่นให้สนุกค่ะ

คิดถึงเรื่อง โอชิน ที่โรงงานที่กำลังไปได้ดี ก็ถูกระเบิด หมดตัว ต้องลุกขึ้นใหม่อีกครั้ง สงครามโลกครั้งที่สองนี่ญี่ปุ่นเจ็บปวดมากนะคะทั้งระดับบุคคลและชาติ เราจะป้องกันสงครามโลกครั้งที่สามได้หรือเปล่านะ... สงครามย่อยเริ่มแล้วในหลาย ๆจุด...

เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของคนญี่ปุ่นที่ประทับใจมาก ๆเรื่องที่ สองค่ะ ขอบคุณมากนะคะที่เล่าถ่ายทอดได้อย่างยอดเยี่ยมค่ะ ตอนนี้รู้แล้วว่ามีหนังสือขายที่ไหน ต้องซื้อแน่ ๆอาจจะพรุ่งนี้ค่ะ

เพี่อ .... รำลึกถึงความดี ...ความเสียสละ....การอุทิศตัวของคุณครู ... 


เป็นคำที่งดงาม จริงๆค่ะ

ต้องไปหามาอ่านแล้วครับ เคยอ่าน แต่ตอนนั้นมันนานมาก...

พี่ชอบอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับครูมากค่ะคุณครู คุณมะเดื่อ

ขอบคุณที่แวะมาอ่านนะคะ

ใช่ค่ะอาจารย์ GD ในหนังสือคุณเท็ตสึโกะก็ไม่ได้เล่าว่าได้เจอครูใหญ่หรือเปล่า  แต่คิดว่าไม่ได้เจอกันนะคะ  ได้แต่เล่าประวัติครูใหญ่หลังจากโรงเรียนถูกไฟไหม้

ดีใจจริงค่ะที่ได้ทราบว่าอาจารย์ก็เป็นแฟนหนังโอชิน  ดิฉันดูครั้งแรกตอนมาฉายทีวีเมื่อเกือบสามสิบปีก่อนโน้น   และดูหนังแผ่นอีกครั้งเมื่อปีที่แล้ว  เป็นหนังที่น่าประทับใจมาก  สอนให้เรารู้จักขยันและอดทนอันเป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นของคนญี่ปุ่น

เมื่อวานไปร้านหนังสือ ซีเอ็ด จามจุรีสแควร์ บอกว่า โต๊ะโตะจัง หมดแล้ว  ซื้อหนังสือแปล เด็กชายในชุดนอนลายทาง (The Boy in the Striped Pyjamas) ที่ได้เคยดูหนังเรื่องเดียวกันนี้และประทับใจมากเมื่อ ๓ ปีก่อน

ขอให้อาจารย์ได้หนังสือมาอ่านนะคะ

ขอบคุณค่ะพี่ Dr. Ple ที่แวะมาให้กำลังใจสม่ำเสมอ

พี่เดาได้ว่าคุณพิชัย พ.แจ่มจำรัส จะรักหนังสือเล่มนี้แน่ๆ ค่ะ

ขอบคุณอาจารย์หมอ  JJ ที่แวะมาอ่านค่ะ

ใจนำพา  ศรัทธานำทาง..
ความฝัน มิได้มอดไหม้...

ขอบคุณครับ

จริงค่ะ อาจารย์ แผ่นดิน คนเราต่างต้องมี "ศรัทธานำทาง"

อาจารย์มีข้อคิดดีๆ เสมอนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท