จุลินทรีย์จากขี้ควายใช้ง่ายได้ประโยชน์ช่วยลดต้นทุน


ตามตำราหรือย้อมูลของทางเว๊บไซด์วิกิพีเดียได้บรรยายความหมายของควายเอาไว้ดังนี้ ควายหรือภาษาทางการว่ากระบือ จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ที่มีแกนสันหลัง เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์ที่เมื่อถูกมนุษย์นำมาฝึกมาเลี้ยงก็จะเชื่องและใกล้ชิดกับเกษตรกร โดยถูกนำไปใช้งานในภาคการเกษตรนั่นเอง เพราะชาวนาในอดีตมักจะเลี้ยงควายไว้เพื่อไถนา พาหนะขนย้ายพืชผลทางการเกษตร ใช้เป็นอาหารเมื่อล้มตาย หรือฆ่าเพื่อใช้เป็นอาหารในพิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานโกนจุก โกนผมไฟ งานบวช งานแต่ง หรือแม้กระทั้งงานศพ

ควายเป็นสัตว์สี่ขาเท้าเป็นกีบ ตัวขนาดใกล้เคียงกับวัว โตเต็มวัยเมื่ออายุ 5-6 ปี น้ำหนักโดยเฉลี่ยของตัวผู้ที่โตเต็มวัย 520-560 กิโลกรัม ตัวเมียโดยเฉลี่ยประมาณ 360-440 กิโลกรัม คือตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย มีผิวสีเทาถึงดำ (บ้างก็มีสีชมพู เรียกว่าควายเผือก) มีเขาเป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัว ปลายเขาโค้งเป็นวงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว ควายนั้นแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือควายป่าและควายบ้าน โดยควายบ้านก็จะแบ่งได้อีก 2 ชนิดคือควายปลักและควายน้ำ ทั้งสองชนิดอยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกันคือBubalus. Bubalis. ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจไปหาได้ใน. (Th.wikipedia.org/wiki/หน้าหลัก) นะครับ

แต่ในที่นี้อยากจะกล่าวถึงคุณลักษณะพิเศษของควายก็คือ การที่เป็นเคี้ยวเอื้อง เหมือน วัว แพะ แกะ กวาง ซึ่งสัตว์เคี้ยวเอื้องเหล่านี้จะมีกระเพาะอยู่ทั้งหมดสี่ห้อง คือ ห้องที่หนึ่งชื่อ รูเมน (Rumen) ผ้าขี้ริ้ว, ห้องที่สองชื่อ เรทิคูรั่ม (Reticurum) รังผึ้ง, ห้องที่สามชื่อ โอมาซั่ม (omasum) สามสิบกลีบ และห้องที่สี่ชื่อแอพโอมาซั่ม (Abomasum) กระเพาะแท้หรือกระเพาะจริงนั่นเอง โดยการเคี้ยวเอื้องนั่น คือกลืนกินอาหารเข้าคือหญ้าและสามารถคายออกมาเคี้ยวเอื้องอีกได้ในเวลากลางคืน ก่อนจะถูกส่งไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย กระบวนการทำงาน คือจะอาศัยน้ำย่อย (เอ็นไซน์) จากจุลินทรีย์เป็นตัวย่อยหมักหรือย่อยอาหารจากสามกระเพาะแรก คือรูเมน, เรทิคูรั่มและโอมาซั่ม หลังจากนั้นอาหารจะถูกส่งไปยังกระเพาะห้องสุดท้ายคือ แอพโอมาซั่ม ซึ่งร่างกายสัตว์จะขับเอ็นไซน์มาช่วยย่อยจนเป็นสารอาหารที่พร้อมไปเลี้ยงส่วนต่างของร่างกายสัตว์ เหมือนกับสัตว์กระเพาะห้องเดียวนั่นเอง

จากความแตกต่ายที่มีนัยสำคัญนี้เองจึงทำให้กากอาหารหรือมูลที่สัตว์สี่กระเพาะขับถ่ายออกมานั้นจึงมีน้ำย่อยเอ็นไซน์และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อการนำมาทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกโดยเฉพาะพวกเศษไม้ใบหญ้าตอซังฟางข้าว เพียงนำขี้วัว ขี้ควายเพียงหนึ่งถึงสองกิโลกรัม (ขี้วัวหรือขี้ควายเปียก) ละลายในน้ำ 20 ลิตรและเติมน้ำตาลลงไปอีก 10 ลิตร หมักทิ้งไว้ 7 วันก็สามารถผลิตจุลินทรีย์ขี้วัวนำไปทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก นำไปย่อยตอซังฟางข้าวในแปลงนาได้ไม่ยาก ในกรณีที่ใช้ขี้วัวหรือขี้ควายแห้งก็ให้ใช้ประมาณ 1กระสอบปุ๋ยต่อน้ำและกากน้ำตามที่กำหนดไว้เดิมก็ได้ประโยชน์เช่นเดียวกัน

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 575962เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2014 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2014 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท