Be green
กลุ่มงานส่งเสริมและเผยแพร่ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14

การสื่อสารกับการสร้างการมีส่วนร่วม


                               

การสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดผลสำเร็จ สิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ การสื่อสาร ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ 

รับรู้ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเรา โดยหวังผลจะกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัว ความตระหนัก การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และสุดท้ายการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามมา

รูปแบบการสื่อสารที่ผ่านมา ได้แก่ กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ กิจกรรมอบรม ศึกษาดูงาน และ การจัดทำ

สื่อนิทรรศการ      จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ หรือสื่อเผยแพร่ ข้อมูล และบทความทางวิชาการ

เมื่อทบทวนการดำเนินงานสร้างการมีส่วนร่วมที่ผ่านมา พบว่า

  • การจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งด้านประชาสัมพันธ์ รณรงค์ และอื่นๆ ไม่ต่อเนื่อง   ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณ และบุคลากร
  • การจัดกิจกรรม เป็นการใช้รูปแบบเดิมๆ สำหรับการใช้ช่องทางสื่อสารใหม่ๆมีค่อนข้างน้อย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่อาจทำให้การส่งเสริม สนับสนุน สร้างการมีส่วนร่วม เพื่อขยายในกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายมากขึ้น ทำได้น้อย
  • การจัดทำสื่อ ประเภทต่างๆ เช่น สื่อนิทรรศการ สื่อเอกสาร มีประเด็นเนื้อหาค่อนข้างน้อย ไม่หลากหลาย และเนื้อหาบางอย่างใช้ภาษาด้านวิชาการ ทำให้เข้าใจยาก และไม่น่าสนใจ

                                                                   

เมื่อวันที่ 28-30 กรกฎาคม 2557 กรมควบคุมมลพิษได้จัดอบรม “การสื่อสารกับงานจัดการมลพิษ” 

โดยคณะวิทยากรจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช


สิ่งที่ได้เรียนรู้ การกำหนดเป้าหมายเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องชัดเจน จะช่วยให้การเลือกวิธีการสื่อสารได้เหมาะสม 

เกิดผลสำเร็จอย่างที่หวัง ..:และมากกว่านั้น ไม่ใช่แค่เรื่องสื่อสารเท่านั้น แต่มันใช้ได้...สำหรับทุกเรื่องในชีวิต


จากผลการทบทวนการดำเนินงานสร้างการมีส่วนร่วมที่ผ่านมา กับสิ่งที่ได้เรียนรู้เพิ่มเติม เกิดแนวทางที่จะปรับ

เปลี่ยนการทำงาน     เพื่อลดจุดอ่อน ดังนี้

1.การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น Social Network Social Media เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งข่าวสารถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ จะต้องมีระบบจัดการเนื้อหา เพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีได้เหมาะสม เพราะเทคโนโลยีแต่ละประเภทมีข้อดี ข้อจำกัดต่างกัน

2.กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ควรมีแผนงานโครงการ กำหนดเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์ที่ต้องการ จะช่วยให้การดำเนินงานเป็นระบบและชัดเจนมากขึ้น การติดตามประเมินผลง่ายขึ้น สามารถนำไปปรับปรุงการทำงานครั้งต่อไป

3.การเขียนบทความ หลายคนที่เคยเขียน คงจะรู้ว่าการเขียนบทความสักเรื่องไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยาก ปัญหาที่พบในการเขียนบทความ คือ การลงมือเขียน โดยไม่ได้วางแผนการเขียน ไม่กำหนดโครงเรื่อง ทำให้เนื้อหาไร้ทิศทาง หรือไม่ลำดับต่อเนื่อง ดังนั้น การเพิ่มประสิทธิภาพการเขียนบทความ ได้แก่

    • การเลือกเรื่อง ที่ผู้อ่านสนใจ อยู่ในกระแส
    • การเลือกกลุ่มผู้อ่าน
    • กำหนดจุดมุ่งหมายการเขียน เพื่ออะไร เช่น ให้ความรู้ ให้แนวคิด หรือสอนวิธีทำ
    • ค้นคว้าข้อมูล ประมวลผลความรู้ให้เพียงพอ
    • วางโครงเรื่องและแนวคิดสำคัญ
    • การเขียน ใช้โครงสร้างการเขียนทั่วไป         =ชื่อเรื่อง -----คำนำ----เนื้อเรื่อง----สรุป
    • การใช้ภาษา เนื่องจากภาษามีหลายระดับ ทางการ ไม่ทางการ ต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและประเภทบทความ

                                                           

    สุดท้าย การสื่อสารเพื่อให้ได้ผล จะต้องมีการคิด วางแผน หาข้อมูลทำรายละเอียดสิ่งต่างๆให้มากกว่า

ที่เคยทำมา 

       สำหรับการเขียน ใครบางคนกล่าวไว้ว่า Practice Makes Perfect (การฝึกฝนสร้างความสมบูรณ์แบบ) 

ฉะนั้น ต้องลงมือทำ  เขียน เขียน และเขียน 

หมายเลขบันทึก: 575885เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2014 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กันยายน 2014 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การมีส่วนร่วม  ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วและดีแบบยังยืน  นะคะ  

ขอบคุณค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท