รู้ไว้__ก่อนใช้ยากันแดด


ภาพ 1: ยากันแดดชนิดพ่น หรือแบบสเปรย์ (spray-on sunscreen)

.

.

อ.แคทรินา วอซนิคคี รวมรวมคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผิวหนัง เกี่ยวกับวิธีใช้ยากันแดดใน "เว็บเอ็มดี (WebMD / เว็บหมอ)" ไว้อย่างนี้ [ WebMD ]

มะเร็งผิวหนังเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในสหรัฐฯ โดยพบคนไข้รายใหม่มากกว่า 3.5 ล้านคน/ปี

คนอเมริกันมีประมาณ 119 ล้านคน [ Census ]

= ถ้ามีคนอเมริกัน 91 คน จะพบคนไข้มะเร็งผิวหนังรายใหม่ 1 คน/ปี

.

แสงแดดมีรังสีอัลตราไวโอเล็ต (ultraviolet / UV / รังสีที่มีความถี่ สูงกว่าแสงสีม่วง) 3 ชนิดได้แก่ A, B, C
= UVA, UVB, UVC ตามลำดับ

รังสี UVC ถูกปิดกั้นโดยบรรยากาศชั้นโอโซน ทำให้เกือบไม่ตกลงมาสู่ระดับผิวโลกเลย

แสงแดดที่ระดับผิวโลก มีรังสี 2 ชนิดได้แก่ UVA & UVB (& = เครื่องหมาย "และ")

(1). UVB > ทำให้เกิดผื่นแดดเผา (sunburn = เห็นสีแดงในช่วงแรก, ต่อมาจะเห็นสีน้ำตาลหรือคล้ำขึ้น)

(2). UVA > ทะลุผ่านชั้นผิวหนังได้ลึกกว่า ทำให้ชั้นหนังแท้เสื่อมสภาพ เสี่ยงผิวหนังเหี่ยวย่น แบบผิวคนสูงอายุในระยะยาว

.

กระจกส่วนใหญ่กั้น UVB ได้ + ไม่กั้น UVA

การได้รับแสงแดดผ่านกระจกใสนานๆ เพิ่มเสี่ยงผิวหนังเหี่ยวย่น เสื่อมสภาพแบบคนสูงอายุได้เช่นกัน

ทั้ง UVA & UVB เพิ่มเสี่ยงมะเร็ง

ความเสี่ยงมะเร็งขึ้นกับปริมาณรังสีที่ได้รับรวม ตลอดชีวิต

.

ยิ่งได้รับแสงแดดสะสมมาก ยิ่งเสี่ยงมาก

ทำให้ผิวหนังนอกร่มผ้า เช่น ใบหน้า ใบหู มือ แขน ฯลฯ เสี่ยงมะเร็งผิวหนังมากกว่าผิวหนังในร่มผ้า เช่น หลังส่วนล่าง ก้น ขาหนีบ ฯลฯ

ความเข้าใจผิด หรือความเชื่อฝังลึกแบบผิดๆ (myth) ในเรื่องยากันแดด คือ

.

(1). ไม่ต้องใช้ ถ้าแดดไม่แรง หรือเป็นคนผิวคล้ำ-ผิวดำ

คนที่มีผิวสีคล้ำหรือดำ มีแนวโน้มจะมองเห็นสีแดงจากผิวไหม้แดดน้อยลง

ทว่า... ยังมีความเสี่ยงจากผิวหนังเสื่อมสภาพ แก่เกินวัย หรือมะเร็งผิวหนังได้ จึงควรใช้ยากันแดด

.

(2). กลัวแพ้ยากันแดด

ยากันแดดชนิดที่ใช้สารเคมี อาจทำให้เกิดอาการแพ้ หรือคันได้ในบางคน (แต่ก็พบน้อย)

ส่วนยากันแดดที่มีผงโลหะผสม เช่น ผงสังกะสี (zinc oxide / ซิ้งค์ ออกไซด์), ผงไทเทเนียม (titanium dioxide / ไทเทเนียม ไดออกไซด์) ฯลฯ ชนิดทา เช่น โลชั่น ฯลฯ มักจะไม่ทำให้แพ้

.

.

(3). ไม่ทดสอบ

วิธีทดสอบยาทาที่นิยมใช้ คือ ซื้อขนาดเล็กมาก่อน

ทาลงบนผิวหนังด้านหน้าของแขนท่อนล่างบางๆ เป็นวงเล็กๆ ขนาดประมาณเท่าเล็บนิ้วก้อย ก่อนนอน

.

ใช้ปากกาลูกลื่น เขียนวงกลมหรือวงรีไว้รอบๆ

แล้วสังเกตตอนเย็นวันรุ่งขึ้นว่า แพ้หรือไม่

ถ้าไม่แพ้... ค่อยซื้อขนาดใหญ่ขึ้นมาใช้

.

(4). เสื้อผ้าดีกว่ายา

การสวมหมวกปีกกว้าง แว่นตา เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เพื่อปกปิดร่างกาย มักจะกันแดดได้ดีกว่ายากันแดด

ยากันแดดส่วนใหญ่จะต้องทาซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะถ้ามีเหงื่อออก หรือสัมผัสน้ำ

.

ถ้าจะเล่นน้ำ หรืออาบน้ำกลางแดด, ควรทาก่อนลงน้ำ 15-30 นาที

เพื่อให้สารกันแดด เกาะติดกับผิวหนังได้ก่อนสัมผัสน้ำ

ถ้าจะเล่นน้ำ หรือเล่นกีฬา-ออกกำลังกลางแดดแบบเหงื่อตก

ควรเลือกชนิดกันน้ำ (waterproof), หรือกันเหงื่อ (sweatproof)

.

(5). แต่งหน้า (makeup / เมคอัพ) แล้วไม่ต้องใช้ยากันแดด

ทุกวันนี้แดดแรงขึ้น... ยากันแดดควรใช้ขนาด (SPF) ระดับ 30 หรือมากกว่านั้น

.

เครื่องสำอางค์แต่งหน้า หรือเมคอัพส่วนใหญ่ กันแดดได้

แต่ไม่ถึงระดับ SPF = 30

.

.

(6). ยากันแดดดีเท่ากันทุกยี่ห้อ+ทุกขวด

ยากันแดดที่ดี ควรกันได้ทั้ง UVA & UVB (broad-spectrum = ออกฤทธิ์ป้องกัน UV ได้หลายระดับ)

.

คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (US FDA) แนะนำให้ใช้ยากันแดดระดับ SPF = 15 ขึ้นไป

สถาบันแพทย์ผิวหนังสหรัฐฯ แนะนำให้ใช้ยากันแดดระดับ SPF = 30 ขึ้นไป

สารกันแดดที่ค่อนข้างทนแดดได้นาน คือ ผงโลหะซิ้งค์ หรือไทเทเนียม 

หรือสารกันแดดรุ่นใหม่ เช่น เฮลิโอเพล็กซ์ (Helioplex), เมอร็อกซิว เอสเอ็กซ์ (Meroxyl SX) ฯลฯ

.

(7). ไม่จำเป็นต้องใช้แว่นกันแดด

การใช้แว่นกันแดด ช่วยป้องกันผิวหนังรอบๆ ตาได้ดี

.

ป้องกันเลนซ์ตา (ถ้าโดน UV มากจะเพิ่มเสี่ยงต้อกระจก)

และจอรับภาพ หรือเรตินาในลูกตาจาก UV

แว่นกันแดดขนาดใหญ่มีแนวโน้มจะดีกว่าขนาดเล็ก

แบบขาแว่นกว้าง คล้ายแว่นกันแดดนักจักรยาน จะกัน UV เข้าตาทางด้านข้างได้ดีกว่าแบบขาแว่นเล็ก หรือผอม

.

(8). "เล่นหูเล่นตา (กับแดด)" + "เล่นปากเล่นคอ" กับแดด (UV)ได้เลย

คนส่วนใหญ่จะทายากันแดดทั่วตัว

แต่ลืมทายากันแดดที่ใบหู หนังหัว (โดยเฉพาะถ้าผมบาง ผมน้อย หรือผมสีอ่อน เช่น สีขาว ฯลฯ), ลำคอ

การใช้หมวกป้องกันหนังหัว แว่นกันแดดป้องกันตา-ผิวหนังรอบตา มักจะใช้ได้ผลดีกว่าการทายากันแดด

.

ส่วนใบหู + ลำคอนั้น... ควรทายากันแดดด้วย

และอย่าลืม... ทาลิปมัน (ลิปสติก) กันแดดที่ริมฝีปาก โดยเลือกยาระดับ SPF = 30 ขึ้นไป

.

.

(9). ปรึกษาเภสัชกร (ผู้รู้เรื่องยา) หรือหมอก่อนสัมผัสแดด... ถ้าใช้ยา

ยาปฏิชีวนะ (ฆ่าเชื้อแบคทีเรียก) ที่ใช้รักษาสิว คือ ดอกซีไซคลิน อาจทำให้เกิดการแพ้ยา หลังได้รับแสงแดดได้

.

ถ้าเป็นมะเร็ง และใช้ยาเคมีบำบัด... ผิวหนังจะบอบบาง แพ้แสงแดดง่าย [ breastcancer ]

ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดจ้าในระหว่างการรักษา ไปจนถึงหลังรักษา 1-2 เดือน (หรือมากกว่านั้นถ้าหมอที่รักษาท่านแนะนำ)

.

(10). ซื้อขวดใหญ่-ใช้ได้หลายปี

ยาทาสารพัดชนิด เช่น โลชั่น ครีม น้ำมันหรือออยล์ ฯลฯ มักจะมีวันหมดอายุ (expired date / EXP.)

ก่อนซื้อ... แนะนำให้เช็ควันหมดอายุเสมอ

และอย่าลืมว่า ยาทาส่วนใหญ่จะมีวันหมดอายุ "สั้นลง" หลังเปิดขวด โดยมักจะเหลือ 1 ปี หรือน้อยกว่านั้น

.

วิธีที่น่าจะดีสำหรับยาทา โลชั่น ครีม น้ำมันหรือออยล์ คือ 

ซื้อพอใช้ ไม่เกิน 1 ปี (หรือน้อยกว่านั้น ถ้าเภสัชกร หรือผู้รู้เรื่องยาแนะนำ)

.

                                                                        

อ.เกลทเชน เรโนวส์ ให้ความเห็นในหนังสือพิมพ์นิวยอร์ค ไทมส์ ไว้อย่างนี้ [ nytimes ]

ยากันแดดส่วนใหญ่เป็นแบบทา (rub-on sunscreen) เช่น โลชั่น ฯลฯ

ส่วนน้อยเป็นแบบพ่น หรือแบบสเปรย์ (spray-on sunscreen)

คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (US FDA) เตือนว่า ไม่ควรใช้ยากันแดดแบบสเปรย์อาจจะไม่ปลอดภัย

.

กลไกที่เป็นไปได้ คือ ยากันแดดส่วนหนึ่งใช้ผงโลหะออกไซด์ หรือโลหะที่ทำปฏิกริยากับออกซิเจน ทำให้เป็นสนิม คล้ายสนิมเหล็ก

เช่น สังกะสี (zinc oxide / ซิ้งค์ ออกไซด์), ไทเทเนียม (titanium dioxide / ไทเทเนียม ไดออกไซด์)

สเปรย์จะทำให้เกิดละอองฝอย (droplets)

ซึ่งส่วนหนึ่งจะฟุ้งกระจาย หรือลอยอยู่ในอากาศ

.

ถ้าหายใจเอาละอองฝอยที่มีผงโลหะเข้าไป...

จะทำให้เกิดสารแปลกปลอม ตกค้างในปอด + เกิดการอักเสบแบบเรื้อรัง

โอกาสเกิดอันตรายแบบนี้ พบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่

การศึกษาแรกเริ่ม ทำในหนูทดลอง ปี 2006/2549 พบว่า สารไทเทเนียม อาจเพิ่มเสี่ยงมะเร็งในหนูได้

.

แม้จะต้องรอผลการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุน หรือคัดค้าน

ทว่า... การไม่หายใจเอาผงโลหะ จากสเปรย์ยากันแดดเข้าไป น่าจะปลอดภัยกว่า

ปี 2013/2556 คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (US FDA) ประกาศเตือน ไม่ให้ใช้ยากันแดดชนิดสเปรย์ หรือแบบพ่น ใกล้ไฟ

เช่น ไม่ควรใช้ใกล้สถานที่ที่มีการ "ปิ้ง-ย่าง-บาร์บีคิว(อาหารเสียบไม้ ปิ้งหรือย่าง)", ที่ที่มีการจุดเทียนไข ฯลฯ

.

เนื่องจากอาจมีสารติดไฟในสเปรย์ เช่น แอลกอฮอล์ ฯลฯ ผสมอยู่ได้

.

                                                                                     

นิตยสารคอนซูเมอร์ รีพอร์ทส์ (ConsumerReports / รายงานผู้บริโภค หรือผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ = คล้ายๆ กับนิตยสาร "ฉลาดซื้อ" ในไทย) แนะนำเรื่องยากันแดดชนิดสเปรย์ไว้อย่างนี้ [ consumerreports ]

(1). ไม่ควรใช้สเปรย์ยากันแดดกับเด็ก

(2). ผู้ใหญ่ที่ใช้... ควรพ่นให้ไกล "ตา-หู-จมูก-ปาก" + หายใจเข้าก่อนพ่น + กลั้นหายใจในช่วงพ่นสเปรย์

(3). ยื่นมือออกห่างจากลำตัว + พ่นสเปรย์ใส่มือ แล้วค่อยถูบนผิวหนัง

.

สรุปภาพรวม คือ ยากันแดดชนิดทา เช่น โลชั่น ฯลฯ มีแนวโน้มจะปลอดภัยกว่าชนิดพ่น หรือสเปรย์

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

Thank WebMD > http://www.webmd.com/beauty/sun/sunscreen-myths

Thank nytimes > http://well.blogs.nytimes.com/2014/08/22/ask-well-are-spray-on-sunscreens-safe/?src=me

Thank ConsumerReport > http://www.consumerreports.org/cro/news/2011/07/don-t-spray-sunscreens-on-kids-at-least-for-now/index.htm

.

 

หมายเลขบันทึก: 575062เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2014 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2014 14:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท