การเช็คอินผู้โดยสารให้ตรงเวลาสำคัญไฉน


นำน้ำหนักผู้โดยสาร(เฉลี่ย)รวมกับน้ำน้ำหนักสัมภาระ(น้ำหนักจริงที่ชั่งตอนเช็คอิน) ได้เท่าไหร่ถึงจะรู้ว่า จะขนถ่ายสินค้าได้เท่าไหร่ และดำเนินการโหลดขึ้นเครื่องให้ทัน

การเช็คอินผู้โดยสารให้ตรงเวลาสำคัญไฉน เหตุใดเราจึงมาขอให้ช่วยกันรักษากำหนดเวลาการเช็คอินผู้โดยสารนั้นมีเบื้องหลังเบื้องไม่ลึก กันอยู่หลายอย่างที่สำคัญในการบินเรามาดูกันครับ....

.......เวลาเราเดินทางโดยเครื่องบิน ในตั๋วที่เราได้รับมาก็จะแสดงเวลาที่เครื่องออก ซึ่งโดยปกติเราก็ควรจะไป

ถึงสนามบิน เดินเข้าไปที่เค้าท์เตอร์เช็คอินให้ทันอย่างน้อย 1 ชม. ก่อนเครื่องออก หรือถ้าเดินทางภายใน

ประเทศก็ประมาณ 40 นาที และยื่นตั๋วและบัตรประชาชนให้ พนักงานบริการภาคพื้น ดำเนินการออกเลขที่นั่ง

รับกระเป๋าโหลดขึ้นเครื่อง แต่ที่เรามักจะทำก็คือ ทำตรงเวลาอย่างน้อยนั่นเอง แล้วส่วนใหญ่ก็จะมาเช็คอิน

ตรงเวลานั้น ซึ่งก็จำให้แถวหรือคิวยาวขึ้นมากทำให้ผู้โดยสารคนสุดท้ายที่อยู่ในคิว ได้รับการออกเลขที่

และโหลดกระเป๋าใบสุดท้าย น้อยลงกว่า 1 ชม.ไปมาก..

........ถามว่าเวลา 1 ชม. ....หรือที่จะน้อยลงหากคิวผู้โดยสารเช็คอินยาว ....นั้นสำคัญไฉน???....

........สิ่งที่จะต้องทำให้เสร็จก่อนเครื่องบินออกจากสนามบินนั้น ...สิ่งที่สำคัญห้ามลืมสองสิ่งก็คือ ...

น้ำหนัก ? กับ น้ำหนัก ? ครับ น้ำหนักสิ่งแรกคือจำนวนผู้โดยสารครับ(คิดตามน้ำหนักเฉลี่ยต่อคนต่อที่นั่ง)

ส่วนน้ำหนักที่สองคือ น้ำหนักกระเป๋าโหลด ...สิ่งที่พวกเราต้องรีบดำเนินการในเรื่องนี้ก็คือ....

1. จำนวนผู้โดยสาร ในแต่ละzone 2. น้ำหนักผู้โดยสาร พร้อม น้ำหนักของบรรทุก (cargo)

....เพื่อเราๆจะได้นำไปคำนวณ...........

1. คำนวณน้ำหนักสมดุลย์การบิน(Weight Balance) เพื่อให้เหมาะสมกับสมรรถนะเครื่องบิน สนามบินต้นทาง-ปลายทาง

2. คำนวณปริมาณน้ำมันที่ต้องใช้เติม

3. คำนวณการควบคุมลักษณะท่าทางการบิน Flap , Trim ของเครื่องว่าอยู่ใน limit หรือไม่


ขณะที่ฝ่ายสินค้าประจำสายการบินโหลดสินค้าขึ้นเครื่อง พนักงานภาคพื้นสายการบินโหลดกระเป๋าผู้โดยสาร.....

.........และทราบจำนวนผู้โดยสาร น้ำหนักกระเป๋ารวม Aircraft Dispatcher เริ่มคำนวณน้ำหนักที่จะขึ้นไปกับเครื่อง คำนวณแบบประมาณการ Estimate เตรียมรวบรวมข้อมูล เพื่อดำเนินการออกแผนการบิน หรือ Flight plan แจ้งล่วงหน้าก่อนเดินทาง ซึ่งต้องระบุเรื่อง เวลาเดินทาง สนามบินต้นทางปลายทาง เส้นทางที่ใช้บิน เครื่องช่วยการเดินอากาศ วิธีปฏิบัติการบินตามกฎการบิน จำนวนผู้โดยสาร น้ำหนัก ซึ่งขณะนี้ยังมิใช่น้ำหนักสุทธิ หรือ Actual Weight

ต่อมาหน่วยงานด้าน Load Control Ground Operation .....

...........ที่ต้องคำนวณ weight และ balance คำนวณจาก ค่าที่วัดได้ชั่งได้จริง หรือ actual weight ต่างๆ ตั้งแต่ นน.กระเป๋า ผดส.คาร์โก้ แบบ real time actual แล้วส่งมอบให้ กัปตัน เพื่อคำนวณและกำหนดปริมาณน้ำมันที่ใช้เติม สั่งให้ผู้ให้บริการน้ำมัน ทำการเติม

นักบิน

............จึงต้องรอการคำนวณน้ำหนักจริงจาก Load Control แล้วจึงสั่งน้ำมัน ฉนั้นน้ำหนักสุทธิที่ จนท. load ctrl จะส่งให้นั้น ต้องได้ก่อนเนิ่นๆ เพราะต้องใช้เวลาในการ สั่ง+เติมน้ำมัน นี่เอง คงไม่เหมือนรถ พอเติมเสร็จขอเพิ่มเป็นเต็มถัง เพิ่มทีละ 100 บาท ได้ค่อนข้างง่าย เนื่องด้วยขั้นตอนวิธีการเติมน้ำมันอากาศยาน มีขั้นตอนมากกว่ากัน เตรียมงานกันเป็น ชม.ครับ ยิ่งได้ข้อมูลช้าก็จะทำให้ขั้นตอนอื่นๆ ช้าตามไปด้วยครับ ยิ่งหากเป็นสนามบินที่มีการจราจรทางอากาศคับคั่งแล้วเครื่องต้อง delay ออกอาจทำให้พลาดคิว (slot time)ในการวิ่งขึ้นได้แล้วต้องไปต่อคิวใหม่ ....นานสุดต้องรอ slot ถึง 2 ชั่วโมงก็มีนะครับ.... แต่ถ้าเราร่วมมือกันมาเช็คอินให้เร็ว ผู้โดยสารเองก็จะไม่เสียเวลาเดินทาง ...อันมีค่าหาซื้อไม่ได้แน่นอนครับ .......

.............พอได้ นน.แล้วก็ต้องนำมาคำนวณ สมดุลย์น้ำหนัก (Weight Balance) อันนี้สำคัญมากครับทั้งเครื่องเล็ก ใหญ่ ยาวสำคัญเท่าๆกันครับ ต้องจัดวางของต่างๆ ให้ได้ balance ที่สุด(เท่าที่เราจะทำได้)ไม่หนักหน้ามากไปจนเสียว หรือหนักหลังไปจน take off ไม่ขึ้นอันตรายมาก และที่สุดคืออย่า out of trim ครับ อันนี้ต้องใช้ความรุ้ความสามารถกันนิดหน่อยครับ เรื่อง balanceเคยมีขนาดต้องตัดคาร์โก้ออก ไม่เอาไป ทั้งๆที่มี space ว่างเพราะขนไปแล้วเครื่อง out balance out trim ครับ

การรับรองสมดุลย์น้ำหนัก (Weight Balance)

..............การรับรองสมดุลย์น้ำหนักก่อนขึ้นบิน นี่คือสิ่งที่รับผิดชอบสิ่งสำคัญที่ทำให้การบิน เป็นไปตามมาตรฐานขั้นตอนที่ถูกกำหนด ซึ่งจะต้องจัดความสมดุลย์ในการที่จะจัดให้น้ำหนัก บรรทุกบนเครื่องถูกเฉลี่ยไปในตำแหน่งต่างบนเครื่องให้ถูกต้องความผิดพลาดต้องเป็นศูนย์ครับ เพราะน้ำหนักบรรทุกนั้น......มีผลต่อการจัดสมดุลย์และการควบคุมลักษณะท่าทางของอากาศยาน รวมถึงระยะทางที่ใช้ทางวิ่งในการวิ่งขึ้นจากสนามบินต้นทาง-น้ำหนักที่เหลือหลังจาก หักน้ำหนักของน้ำมันที่ใช้ในระหว่างบินไปแล้ว เหลือเท่าไหร่จึงจะสามารถร่อนลงสนามบินปลายทางได้ ซึ่งมีข้อจำกัดของสนามบินคือ ค่าการรับน้ำหนักของทางวิ่ง หรือค่าความแข็งแรงของทางวิ่งพอไหมที่จะรับน้ำหนักอากาศยานขณะร่อนลงแตะพื้นผิมได้ ณ สนามบินปลายทางด้วยนั่นเอง.....

...............ฉนั้นนักบินจึงจำเป็นต้องทราบน้ำหนักทั้งหมดทั้งมวล สุทธิจริงๆ ณ ขณะเวลานั้นๆ เพื่อจะต้องดำเนินการรับรองน้ำหนักบรรทุก ก็เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคทางการบินนั่นเอง น้ำหนักจึงเป็นจรรยาบรรณหลักที่จะต้องตระหนักใส่ใจและไม่ประมาท ให้เกิดความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ ขอให้ผู้โดยสารเข้าใจตรงจุดนี้ด้วยว่า การไม่สามารถเพิ่มน้ำหนักใดๆได้หลังจากที่ลงนามรับรองน้ำหนักไปแล้วนั้น คือหลักฐานที่สำคัญ ในการพิสูจน์ว่า ได้ทำตามกฎการบินถูกต้องหรือไม่ นั่นคือความปลอดภัยของผู้โดยสารทุกคนต้องมาก่อนสิ่งอื่นสิ่งใดครับ ....

...............ผู้โดยสารที่มาเช็คอินช้าหลังปิดบริการ...ไม่ใช่สายการบินไม่อยากให้ไปด้วยนะครับ ..แต่น้ำหนักสุทธิที่ได้รับรองแล้วนั้น เป็นหลักฐานทางนิติกรรมซึ่งทำให้มั่นใจว่าทุกอย่างตามขั้นตอนที่นักบินจะปฏิบัติการบินในเที่ยวบินนี้ นักบินคนนี้รับรองว่าตัวเลขต่างๆตลอดจนค่าสมดุลย์น้ำหนักที่ได้ คำนวณ พิจารณาตรวจสอบ และได้รับรองไปนั้น ได้ปฏิบัติตามองค์ความรู้ในวิชาชีพมั่นใจว่ามีความรู้อย่างถ่องแท้ในการคำนวณและ ค่าที่ได้มานี้สามารถนำมาใช้กับเครื่องบินในเที่ยวบินนี้โดยเป็นไปตามกฎการบินทุกประการ การมั่นใจลงนามรับรองด้วยผู้ควบคุมอากาศยานเอง ที่จะทำให้มั่นใจว่าสมรรถนะของเครื่องบินไฟล์ทนี้จะเป็นไปตามสมรรถนะที่ดีที่สุดตามที่โรงงานผู้ผลิตออกแบบโครงสร้างและความสามารถในการ ควบคุมลักษณะท่าทางของเครื่องบินเที่ยวบินนั้นๆ ซึ่งก็คือ คือความรับผิดชอบในการทำหน้าที่ให้คุ้มครองผู้บริโภคหรือผู้โดยสารให้มีประสิทธผลที่ดีที่สุดนั่นเองครับ...

.......ดังนั้นไม่ว่าจะเป็น จนท.สายการบินภาคพื้น ที่มีหน้าที่เช็คอินผู้โดยสาร จนท.ตรวจปล่อยผู้โดยสาร , นักบิน , Aircraft Dispatcher , Flight Attendance(แอร์โฮสเตส) หรือ จนท.Load Control เองได้ถูกฝึกให้มีวิธีคิดที่ต้องตระหนักในเรื่องสมดุลย์น้ำหนักนี้อย่างเข้มงวด เพราะค่าน้ำหนักสุทธินี้ส่งผลถึงความปลอดภัยต่อผู้โดยสารนี่เอง เป็นเหตุว่าทำไมจึงไม่สามารถให้ผู้โดยสารที่มาเช็คอิน ล่าช้าไปกว่าการที่ load control ส่งน้ำหนักสุทธิให้นักบินไปแล้วนักบินเริ่มคำนวณและ/หรือ รับรองค่าสมดุลย์น้ำหนักแล้ว ขึ้นเครื่องได้ สมมุติครับ ว่าขณะกับตันกำลังคำนวณน้ำหนัก ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 20 นาทีถึงจะได้ ค่าปริมาณน้ำมันที่จะต้องใช้ เมื่อกับตันคำนวณไป 15 นาที มีผู้โดยสารมาขอขึ้นเครื่องอีกสามคน กระเป๋าสองใบ หนัก 300 กิโลกรัม ทำให้ต้องคำนวณใหม่หมดอีก 20 นาที แบบนี้ทำให้แผนการบิน หรือการจองช่องว่างในอากาศ ในเส้นทางตั้งแต่แรก เลื่อนออกไปอีกครับ และเป็นไปได้มากที่ต้องเลื่อนไปอีกเป็น 1 ชั่วโมงสองชั่วโมง เพราะมิใช่แค่การสั่งน้ำมันเติมน้ำมันเท่านั้นที่จะช้าไป เส้นทางบินในอากาศที่ต้องรักษาระยะห่างในอากาศ ห้วงอากาศช่วงนั้น ณ เวลาที่ออกแบบไว้นั้น ก็ถูกเลื่อนตามกันไป เพราะความหนาแน่นของปริมาณการจราจรบนท้องฟ้าก็มีผลกระทบด้วยนั่นเองครับ ผลกระทบต่อเนื่องนี่แหละครับ ที่จะต้องพยายามอธิบายให้ผู้โดยสารเข้าใจ และเห็นใจ ผู้ที่ทำหน้าที่ต่างๆนี้ด้วยเวลาที่ต่างคนถูกกำหนดไว้อย่างที่เผื่อเหลือเผื่อขาดไม่ได้มาก ดั่งใจที่ผู้โดยสารหวังจะสามารถยืดหยุ่นได้ครับ ....

.......................................

.........เมื่อผู้โดยสารได้ทราบในผลกระทบของสิ่งสำคัญแบบนี้ เราก็น่าที่จะเห็นความสำคัญของการมาเช็คอิน

ให้เรียบร้อยก่อนอย่างน้อย 1.30 ชม. หรือในประเทศ 40 +20 นาที ซึ่งพอเช็คหมดแถวแล้ว พนักงานภาคพื้น

ก็สามารถทำการเช็คอินเสร็จก่อนเครื่องออก 1 ชม. ตามกำหนด และส่งข้อมูลน้ำหนักทั้งสอง ให้นักบิน

หรือผู้ดำเนินการแทน Dispatcherได้นำไปดำเนินการต่อได้ทัน แบบนี้มีความสุขกันถ้วนหน้าไม่กดดันครับ

คนไทยส่วนใหญ่มีน้ำใจเมื่อเห็นผู้อื่นมีผลกระทบ เราน่าจะมาช่วยเช็คอินแต่เนิ่นๆกัน จะช่วยให้การทำงาน

ของทุกคนดีกว่าที่เป็นอยู่ ที่สำคัญมีความสุขในการเดินทางและการบริการร่วมกันแน่ๆครับ........


https://web.facebook.com/thest...

https://web.facebook.com/thest...

ปล.ขอขอบคุณ คุณKarn Sri-Ampai สำหรับข้อมูลเชิงลึกด้านการคำนวณน้ำหนัก และ คุณCake หน.พนักงานภาคพื้นสายการบินนกแอร์ ที่ช่วยคิดช่วยทำ(Value Adder) ณ ตรงนี้ด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 574835เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2014 07:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2019 07:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท