วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม 2557
บ่ายวันนี้ที่มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรม The International Forum on "Perspectives on Thai Higher Education Befitting the AEC"
วิทยากร เป็นนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันอุดมศึกษาทั้งประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซียและกัมพูชา
ได้มุมมองจากนักการศึกษากับ AEC ในสถาบันอุดมศึกษาที่น่าสนใจ หลายประการ เช่น
: การเตรียมพลเมืองอาเซียนในสถาบันอุมศึกษาให้สามารถดำรงชีวิตและสามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนได้
: การพัฒนานักศึกษาในด้านทักษะและศักยภาพภาษาของนักศึกษาอย่างน้อย 2 ภาษา
: ทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ การฟังเป็น บันทึกเป็น ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ การจัดการข้อมูล
: ทักษะการเรียนรู้ในการดำรงชีวิต เช่น การตรงต่อเวลา เรียนรู้ที่จะรักและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปรับทัศนคติเกี่ยวกับอาเซียน การบูรณการวิชาอาเซียนศึกษาของทุกประเทศให้เป็นหนึ่งในวิชาที่นักศึกษาต้องเรียน
: การลงทุนเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาและบุคลากรได้เรียนรู้ประเทศอาเซียนโดยการไปเยียมและใช้ชีวิตในประเทศต่าง ๆ จริง
: การปรับวิธีการเรียนการสอนให้เป็นสองทางให้มากกว่าการที่ให้ผู้สอนพูดคนเดียว กระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น เน้นการศึกษาค้นคว้า การฝึกปฏิบัติจริงให้มากๆ
: ภาษาอังกฤษไม่น่ากลัว ไม่ยากอย่างที่คิด ต้องปรับแนวคิดในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้ทุกคนเห็นว่า การใช้ภาษาอังกฤษเป็นเรื่องปกติสำหรับคนทุกคน
: มหาวิทยาลัย ควรสนับสนุนส่งเสริมการเรียนภาษาต่างประเทศให้มาก ๆ
ขอบคุณแนวคิดดีๆ จากทุกท่านคะ
^__^
เมื่อพูดถึงการสอนภาษา มหาวิทยาลัยที่สอนภาษต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงและน่าไปเรียนรู้วิธีการอย่างยิ่งแห่งหนึ่ง คือมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่ง ฺBeijing Foreign Language University ถือว่าเป็นอันดับหนึ่งของจีน มีชื่อเสียงกว่ามหาวิทยาลัยปักกิ่งในด้านนี้
ที่นี่สอนภาษาต่างประเทศ มากกว่า 80 ภาษา และทูตจีนทั่วโลกส่วนใหญ่เป็นศิษย์เก่าของที่นี่ ที่ต้องยกย่องที่นี่มากเพราะดูจากผลงานการสอนภาษาไทย และภาษาจีนของอาจารย์ที่เขาส่งมาแลกเปลี่ยน นักศึกษาปี่ 1 ก็สามารถสื่อสารได้อย่างดีด้วยสำเนียงที่อาจารย์ชาวจีนยอมรับว่าดีมากเหมือนเจ้าของภาษา จบ ปีสี่ออกไปใช้การได้อย่างดีทุกคน
ส่วนภาษาไทยนั้นอาจารย์ชาวจีนเองก็พูดได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน และสามารถเป็นล่ามแปลภาษาบนเวทีโดยใช้ศัพท ์และสำนวนที่คนไทยแท้ ๆที่ไม่เคยได้รับการฝึกมาอย่างดีไม่สามารถทำได้ อาจารย์ท่านนี้จบปริญญาโทจากจุฬา ฯ แต่ ป.ตรี จากมหาวิทยาลัยเขาเอง อาจารย์แลกเปลี่ยนทุกคนที่มาจากที่นี่พูดภาษาไทยได้หมือนคนไทย ภาษาเขึยน การเรียบเรียงเนื้อหาเป็นระบบ ดีกว่าคนไทยอีกหลายคน
การสอนเขาประสบผลสำเร็จมากมาจากวิธีการหลัก ๆคือ ใช้เจ้าของภาษาต่างประเทศและอาจารย์ที่มีความสามารถสูง มีการฝึกทักษะอย่างเข้มข้น เคยไปติดต่อราชการที่นี่ สังเกตเห็นนักศึกษาเดินท่องบ่นอยู่ตามใต้ต้นไม้ ถามเขาบอกว่านักศึกษากำลังฝึกออกเสียง และจะมีการสอบบ่อย ๆ ที่นั่นเขาก็ไม่ได้อยู่ในสังคมคนไทยแต่ก็สามารถใช้ภาษาไทยได้ดี อันเป็นผลจากการเรียนในมหาวิทยาลัย
ที่เมืองไทย อาจารย์จากที่นี่มาสอนก็ทุ่มเทเต็มที่ มีการฝึกทักษะ ฝึกเสียงนอกเวลา สามารถไปฝึกเพิ่มเติมได้กับอาจารย์ที่บ้านพักอาจารย์ ทุ่มเทเพื่อผลลัพธ์อย่างมาก เพื่อให้สามารถพูด อ่านเขียน สื่อสารได้ได้เหมือนเจ้าของภาษา
นอกจากนี้ตัวนักศึกษาเองต้องเข้ามาเรียนอย่างมีเป้าหมายคือการนำไปใช้ประกอบอาชีพ และมีความขยัน อดทน วินัยในตนเองสูงมาก(เด็กจีน)
การสอนภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น ๆก็คงได้ผลเช่นเดียวกัน ถ้าใช้ครูเก่งและเจ้าของภาษา ฝึกหนัก นักศึกษามีวินัย ขยัน อดทน
เห็นด้วยครับภาษาอังกฤาอังกฤษมีความสำคัญ
ภาษาเพื่อนบ้านในอาเซียนก็น่าสนใจนะครับ
ขอบคุณครับ
ขอบคุณดอกไม้ กำลังใจจากทุกท่าน และความคิดเห็นดี ๆ เพื่อช่วยพัฒนาภาษาให้กับผู้เรียนทั้งจากคุณ GD และอ.ขจิต นะค่ะ ^^
ขอแก้ไขนะคะ ชื่อมหาวิทยาที่ถูกต้องคือ Beijing Foreign Language Studies University (BFSU) ค่ะ
ตามมาด้วยความคิดถึงค่ะ
ทุกก้าวที่ผ่านการเตรียมการ และกำลังใจที่ผลักดัน คือ ความสำเร็จค่ะ
เป็นกำลังใจนะคะ
ตามมาขอบคุณ
กลับมาแล้วครับ