กรณีศึกษายากกับการลองวิเคราะห์scientific clinical reasoning


เคสยากของดิฉันในครั้งนี้เป็นเคสในกลุ่มโรคออทิสติกวัยรุ่น โดย

ลักษณะตามธรรมชาติของเด็กกลุ่มโรคออทิสติก จะความผิดปกติทางพัฒนาการอยู่ 3 ด้านหลัก ได้แต่

1.พัฒนาการด้านการเข้าสังสังคม

2.พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร

3.พัฒนาการด้านพฤติกรรมและอารมณ์

เมื่อเข้าวัยเรียน

จะมีพัฒนาการด้านภาษาและสังคมดีขึ้น แต่จะพบปัญหาพฤติกรรม และการกระตุ้นตัวเอง (พฤติกรรมซ้ำๆ เช่น เล่นเสียง เล่นมือ) รวมถึงพฤติกรรมทำร้ายตัวเองด้วย

เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

จะเป็นช่วงที่มีปัญหามากที่สุด เช่น ชัก อยู่ไม่นิ่ง/กระสับกระส่าย เฉื่อยชา พฤติกรรมก้าวร้าว ปัญหาพฤติกรรมทางเพศ และการสูญเสียทักษะต่างๆที่เคยทำได้ เช่น ทักษะสังคม การสื่อสาร และพัฒนาการด้านอื่นๆ โดยพบได้ประมาณ 10% ซึ่งพัฒนาการที่สูญเสียไปมักจะไม่กลับคืนมาเหมือนปกติ

(ข้อมูลอ้างอิงจาก http://haamor.com)

ดังนั้นเมื่อเด็กออทีสติกกำลังเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น จำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องได้รับการดูและรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม

ในกรณีศึกษาที่ดิฉันสนใจยกมาเป็นตัวอย่างซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่ยากอันดับต้นๆสำหรับดิฉันเลยก็ว่าได้ คือ ผู้รับบริการเป็นเด็กผู้หญิงอายุประมาณ13ปีกำลังเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น มีลัษณะ เฉื่อยชา ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ไม่เข้าสังคม มีการกระตุ้นตัวเองด้วยการเล่นเสียง ท่าทาง จากประวัติพบว่าเด็กไม่เคยได้รับการบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัด เกี่ยวกับการใช้ชีวิตหรือการเข้าสังคม แต่เด็กได้รับการฝึกพูดมาตลอด ส่งผลให้เด็กมีความสามารถในการพูดตอบคำถามที่เป็นคำถามแบบตรงตัว เช่น นี่คืออะไร สามารถจดจำรูปภาพ ลักษณะการเล่น หรือข้อมูลที่เคยได้รับแบบซ้ำๆได้ แต่เด็กจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเชื่อมโยงข้อมูลที่มี สังเกตุจากเด็กไม่สามารถตอบคำถามในลัษณะของการอธิบายได้ เช่น เพราะอะไรถึงหิว ถ้าร้อนต้องทำอย่างไร เป็นต้น ส่งผลต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน การอธิบายบอกความต้องการของตนเองกับผู้อื่น รวมถึงการการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

โดยวิเคราะห์การให้เหตุผลทางคลินิก

Scientific reasoning

การให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัด

เด็กมีปัญหาด้านการเข้าสังคม โดยอาจมีปัจจัยส่งผลหลัก คือ

1.จากสารเคมีในสมองที่ผิดปกติ และฮอร์โมนเพศที่ไปกระตุ้นทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม

2.การควบคุมตนเอง(self control) ส่งผลต่อการแสดงออกของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม การกระตุ้นตนเอง

3.การแสดงออกของตนเอง(self expression) อาจมีผลต่อเนื่องมาจากเด็กไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูล การแปลความหมายของภาษาท่าทางและสีหน้าผิดปกติ ส่งผลต่อการสื่อสารกับคนในสังคม

4.โอกาสในการได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม ส่งผลต่อการพัฒนาความสามารถที่เป็นไปได้ของเด็ก

โดยบทบาทของกิจกรรมบำบัดในการฟื้นฟู ได้แก่

1.ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพบแพทย์เพื่อรับยาที่เหมาะสม

2.ฝึกการควบคุมตนเองและปรับพฤติกรรมโดยอ้างอิงจาก Behavior modification FoR

3.ฝึกการแสดงออกและการพูดเพื่อการสื่อสาร รวมถึงส่งเสริมการทำกิจกรรมที่มีเป้าหมาย

4.แนะนำวิธีการปรับพฤติกรรมและการดูแลตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันของเด็ก ให้กับผู้ปกครองเพื่อทำไปปรับใช้ในบริบทของที่บ้าน และการเข้าโรงเรียน

จากข้างต้น เป็นเพียงปัญหาด้านเดียว และการลองวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาคร่าว และแนวทางจากบำบัดรักษาแบบคร่าวๆเท่านั้น และการที่จะสามารถบำบัดรักษาได้มีประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมและวิเคราะห์อย่างถีถ้วน นี่คือเหตุผลที่ดิฉันจะต้องพยายามวิเคราะห์หาข้อมูลต่อไป ...

..หากเจอสิ่งที่ยาก จงพยายาม ให้มันง่าย ..

หมายเลขบันทึก: 574716เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2014 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2014 14:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท