พ่อแม่บังคับผมทำไม?


กรณีศึกษาน้อง ก. กำลังเรียนชั้นปีที่ 4 แต่ต้องขยายเวลาเรียนไม่เกิน 8 ปี มีความคิดและพยายามจะโดดตึก ดูหลบตา พูดเสียงในลำคอ เดินช้าๆ ผมยาวดูไม่ได้สระผม ยิ้มทักทายดี คุยในเรื่องอดีต เมื่อเริ่มต้นสิ่งที่น้องสนใจคือ "ระดับความสุข" และดูผู้ปกครองเริ่มเข้าใจว่า เลี้ยงลูกแบบบังคับ ออกคำสั่ง และเน้นการเรียนตามแบบที่ผู้ปกครองจบทางด้านบัญชีมาจากสถาบันชื่อดัง ส่งผลให้ลูกได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคซึมเศร้าตอนอายุ 21 ปี (ปัจจุบัน) โรคบกพร่องทางการเรียนตอนอายุ 20 ปี และโรคสมาธิสั้นกับแอสเปอร์เกอร์พร้อมได้รับทานยามาตลอดตั้งแต่ 6 ปี โดยคุณหมอไม่ได้ส่งปรึกษานักกิจกรรมบำบัด ผมจึงต้องบำบัดทั้งผู้ปกครองอีกห้องหนึ่งและน้องอีกห้องหนึ่ง แล้วค่อยๆพามาพบกันหลังจากน้องอ.ได้เขียนความตั้งใจทำสิ่งต่างๆ ในการปรับปรุงความคิดและการกระทำของตัวเองหลังพูดคุยแบบพี่น้องและใช้กิจกรรมต่อหอคอย ที่น้องชอบและเข้าใจว่า "หอคอยที่ล้มลง แล้วน้องต่อขึ้นมาใหม่จนมั่นคง เปรียบเสมือชีวิตที่ล้มแล้วต้องสู้ ไม่หนีปัญหา จากเดิมที่น้องคิดว่า ล้มไปเลยจะได้ทำให้พ่อแม่สบายใจ ก็เปลี่ยนเป็น ล้มแล้วต้องพยายามเรียนรู้ใหม่" น้องได้วาดภาพจากที่เป็นภาพตึกคอนโดสูงแล้วบอกเหตุผลว่า "เป็นหนี้บุญคุณพ่อแม่ที่ส่งไปเรียนต่างประเทศแล้วไม่จบ [ภายหลังผู้ปกครองชี้แจ้งถึงปัญหาความรักอกหักขณะเรียนทำให้ไม่อยากเรียนต่อจนต้องมาสอบเข้าเรียนใหม่ที่ไทย] อยากโดดตึกจะได้ทำให้ทุกคนสบายใจ"

จากนั้นดร.ป๊อปก็ชี้นำพร้อมให้น้องคิดรูปบ้านที่มีความสุขพร้อมชวนคิดให้น้องคิดสเกลความสุข เพราะดูน้องใช้สมองซีกขวาแล้วมีความคิดที่เป็นระบบได้บ้าง ก็น่าสนใจที่ น้องให้ระดับความสุขที่ 2/10 อีก 8 ช่วงคะแนนก็มีเป้าหมายที่ชัดเจน คือ จะเต็ม 10 เมื่อเรียนจบ ดูแลชีวิตตัวเองได้ มีแฟน มีงานทำ (เมื่อไว้ใจขึ้นน้องก็แสดงความรู้สึกไม่อยากเรียนบัญชี ไม่ชอบตัวเลข อยากเรียนประกอบเครื่องบิน/เรือ/ค้นหาความถนัดจริงๆของตนเอง) และอยากให้พ่อแม่มีความสุข เมื่อตั้งคำถามว่า "ถ้าน้องอยากให้พ่อแม่มีความสุข จะคิดทำร้ายตัวเองไหม" น้องคิดสัก 3 นาทีแล้วบอกว่า "ไม่รู้จะทำอย่างไร มันเสียสติ คุมตัวเองไม่อยู่ รู้สึกตัวเองไม่ปกติ มีโรคมากมาย" จากนั้นดร.ป๊อปก็ชวนทำกิจกรรมตรวจประเมินความจำ ความคิดฟัง-พูด-อ่าน-เขียน [แต่งประโยคจากคำต่่างๆ: ความสุข ความหมาย คุณค่า และชีวิต] และการคำนวนตัวเลข ก็พบว่า น้องทำได้ดีทุกอย่างแต่ต้องไม่เร่งรีบ ไม่กดดัน และไม่บังคับ พร้อมแสดงภาษากายให้สบตา ปรับท่าทางให้หายใจสบาย มีวัดชีพจรสะท้อนให้น้องเห็นว่าปกติ และให้น้องตรวจสอบผลลัพธ์หลังทำกิจกรรมต่างๆ ว่ามีความสามารถอะไรบ้าง ก็ทำให้น้องประเมินซ้ำว่าความสุขเพิ่มขึ้นเป็น 3.5/10 พร้อมสื่อสารว่า จะไม่แก้ผ้าให้ผู้ปกครองดู จะหาอาหารทานเองและดูแลสุขอนามัยด้วยตนเอง ไม่คิดสั้น แต่ถ้าคุมสติไม่อยู่จะบอกว่า "ไม่ไหวแล้ว ดังๆ แล้วให้พ่อแม่ช่วยสื่อสารให้กำลังใจ" และจะเรียนต่อเท่าที่ทำได้พร้อมหาความถนัดของตนเอง ส่วนเรื่องปัญหาการช่วยตนเองในการสำเร็จความใคร่ที่นาน 1 ชม. ดร.ป๊อปก็สอนวิธีการฝึกผ่อนคลายและกระตุ้นสัมผัสอย่างเป็นระบบตามเทคนิคการบำบัดทางเพศและการกระตุ้นอวัยวะเพศกับโมเดลอย่างถูกต้องจนน้องเข้าใจ

ส่วนผู้ปกครองก็ใช้เวลาในการปรับความคิดที่ "จมวนอยู่ในเรื่องราวอดีตที่ไม่พยายามคิดหาทางออก แต่ชอบถามและอยากยืนยันคำตอบ" ดร.ป๊อปจึงตัดบทและสรุปตั้งโจทย์ว่า "ถ้าน้องคิดสั้นและคุมตัวเองไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่จะทำอย่างไร" คำตอบที่ได้คือ "จะกอดและถามลูกว่า รู้สึกยังงัย มีปัญหาอะไร ถามเยอะแยะแต่ไม่มีทางออกให้น้อง" ผมจึงปรับให้คิดใหม่ว่า "จะกอดและบอกลูก 3 ประโยค แล้วอยู่กับลูกในบรรยากาศที่ปลอดภัย 21 ชม. (ตามอายุลูก) หากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำร่วมกับแบบครอบครัว ไม่มีวิชาการ ไม่มีประเด็นเหตุที่ลูกเครียดง่าย ไม่มีการออกคำสั่ง ไม่มีการสั่งสอนลูกด้วยเหตุผลที่ตึงตลอดเวลา ผู้ปกครองจึงเริ่มเข้าใจแล้วเช็คประโยคจนถูกได้แก่ "พ่อแม่จะกอดแล้วบอกรักลูก จะช่วยลูก ลูกเป็นคนที่มีคุณค่าสำหรับพ่อแม่" ใช้เวลาทั้งสิ้น 4 ชั่วโมง 

นัดหมายในครั้งต่อไป หลังจากโทรศัพท์สอบถามติดตามผล พบว่า คุณพ่อคุณแม่ไม่พบความก้าวหน้า คือ ลูกไม่อยากไปเรียนที่มหาวิทยาลัย ต้องบังคับ [ข้อมูลตรงนี้บ่งชี้ว่า คุณพ่อคุณแม่ยังคงออกคำสั่งและบังคับลูกอยู่ ทั้งๆที่รู้ว่า ลูกได้บอกความต้องการและความตั้งใจให้พ่อแม่ตระหนักรู้หมดแล้ว และครั้งก่อนหลังเลิกคลินิก ผมได้ติดตามครอบครัวนี้ไปทานอาหารเย็นด้วยก็ยังคงพบว่า พ่อแม่สั่งลูกและตำหนิลูกมากมายขณะสั่งอาหารที่ร้าน] แต่เมื่อผมคุยกับน้อง ก. ก็พบว่า น้องรู้สึกเครียดขึ้นเล็กน้อย ไม่ได้ทำร้ายตัวเอง และจะพยายามสงบสติอารมณ์

ดังนั้นผมวางแผนจะให้น้องก.ได้ทดสอบความถนัดทางอาชีพแล้วทำการโอนย้ายหน่วยกิต (ถ้าเป็นไปได้) หรือเลือกเรียนในสิ่งที่น้องชอบ ไม่ใช่คุณพ่อคุณแม่บังคับให้เรียน จึงได้ค้นพบข้อมูลน่าสนใจดังนี้:-

1. แบบทดสอบความพร้อมทางอาชีพตามบุคลิกภาพของ John L. Holland 

2. แบบทดสอบความพร้อมทางอาชีพของกองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน

และจะมาบันทึกข้อมูลความก้าวหน้าของกรณีศึกษานี้ในครั้งต่อไป ขอบพระคุณมากครับ

หมายเลขบันทึก: 574654เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2014 10:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2014 10:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ให้กำลังใจในการปรับพฤติกรรมของเด็กครับ

ได้ดูรายการหนึ้่งเกี่ยวกับ..(ผู้ป่วย)..ที่จริง(ไม่ป่วย)..คือ..ไฮเปอร์..ในหนังสารคดีเรื่องนี้กล่าวถึง..หมอจิตแพทย์บำบัด..เคยเป็น..เด็ก..ชนิดนี้..(ไฮเปอร์)..แต่ช่วงนั้น..ยังไม่มีคำจำกัดความ..ของโรค...และเวลานี้ทำงาน..กับ..เด็กสมัยนี้..ที่..อยู่ใน..คำจำกัดความนี้...และต้องกินยา..ที่หมอ(สมัยนี้)..ก็ยังไม่มีวิจัย..ที่แน่..นอน...(เคยเห็นการวิจารณ์..มาในหนังสารคดี)

(สนใจกรณี..เหล่านี้..ค่ะ..คุณหมอ..ป้อป..เพราะมีเหลนคนนึง..ถูกหมอสั่งให้กินยา...)...

ทั้งๆที่เคยได้ใกล้ชิดเขาเมื่อเขายังเล็ก...ๆ..บางครั้ง...ซึ่งเขาก็..เป็นเด็กธรรมดา..ที่ถูกทำให้ป่วย..(จิต)..ที่ไม่ใช่เป็นปัญหาของสังคม..และสิ่งแวดล้อมเองต่างหาก..และปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นจากสิ้่งที่ใกล้ชิดแต่แรก..คือ..แม่..(พ่อ..ไม่มี..บางกรณี)..ตายายปู่ย่า..สังคม..การศึกษา..ดูแล..ขั้นต้น..(ที่ผิดเพี้ยน..อยู่เวลานี้)

คุณหมอบำบัด..ที่กล่าวถึง..มาข้างต้น..ได้..ช่วยเหลือเด็กโดยใช้..ธรรมชาติ..บำบัด..สร้างจิตสำนึกใน..การควบคุม..อารมณ์..ตนเอง..(ได้ผลมากกว่าการกินยา..เพราะ..)..เด็กเหล่านั้น..ได้รู้จักตน..ด้วยตนเอง..

มีดอกไม้มาฝากมีรักมามอบให้...เป็นกำลังใจ..เจ้าค่ะ..

ขอบพระคุณมากครับอ.ต้น คุณยายธี พี่ใบบุญ และพี่ณัฐพัชร์ 

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับคุณยายธีที่สิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบเชิงลบถึง 90% ดังนั้นการกระตุ้นให้ผู้คนรอบตัวเด็กสมาธิสั้นได้มีพลังใจและความรู้ความเข้าใจในการแสดงทักษะเมตตาและทักษะการพัฒนาชีวิตที่เป็นสุขของเด็กและผู้คนรอบตัวเด็กนับเป็นเรื่องที่ท้าทายทีเดียวครับผม ขอบพระคุณมากครับคุณยายธี

เห็นใจทั้งพ่อแม่ ทั้งลูกนะคะ  รักลูกอย่างเดียวไม่พอต้องมีความรู้ด้วย

ใช่ครับ ที่ท้าทายคือการทำให้คุณพ่อคุณแม่มีความรู้ความเข้าใจในการรักลูกอย่างเหมาะสมอะครับผม ขอบคุณมากครับพี่ nui

อยู่กับเด็กๆ...
เป็นประหนึ่งท่องชีิตในอุทยานแห่งแมกไม้ ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท