สรุปขั้นตอนการทำพิธีฮัจญ์


สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจในการทำพิธีฮัจญ์คืออะไร

ฮัจญ์ คือหนึ่งในรู่กุนอิสลามที่บังคับสำหรับมุสลิมทุกคน (กำหนดเป็นฟัรดู) ซึ่งมีอยู่ 5 ข้อคือ ปฏิญานตน ละหมาด 5 เวลา ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน จ่ายซากาต(จ่ายภาษี) และก็ไปทำฮัจญ์

การทำฮัจญ์ คือการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่นครมักกะฮ.ในเดือนซุลฮิจญะฮ.ตามวันเวลาและสถานที่ที่ถูกกำหนดไว้ หลักการข้อนี้ถือเป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทั้งชายหญิงทุกคนที่มีความสามารถในด้านร่างกายทรัพย์สิน

การทำฮัจญ์เป็นอิบาดะห์หลักต่ออัลลอฮฺซึ่งมีเป้าหมายในการขัดเกลาจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ต้องใช้ความอุตสาหะ เสียสละทั้งกำลังกาย ทรัพย์ กำลังสติปัญญา และมีความสามารถ อดทนต่อความยากลำบาก และมีความสามารถที่จะไปได้โดยไม่ต้องกู้หนี้ยืมสินของบุคคลอื่น การทำฮัจญ์ ต้องทำคู่กับการทำอุมเราะห์ฮัจญ์คะ

การประกอบพิธีฮัจย์และอุมเราะห์ฮัจญ์ มี 3 วิธี

. อิฟรอด คือ การทำฮัจย์ก่อนการทำอุมเราะฮฺ ฮุจญาดผู้ประกอบพิธีฮัจย์แบบฮัจญ์อิฟรอดจะประกอบพิธีฮัจญ์ก่อนทำอุมเราะฮฺ หลังจากเสร็จพิธีฮัจญ์แล้ว เขาจะเดินทางออกจากแผ่นดินฮะรอมแล้วเนียตเอียะฮฺรอมอุมเราะฮฺ แล้วเดินทางเข้ามักกะฮฺเพื่อประกอบพิธีอุมระฮฺโดยต้องทำภายในปีเดียวกันกับปีที่ประกอบพิธีฮัจญ์ วิธีอิฟรอดเป็นวิธีประกอบฮัจญ์ที่ดีกว่าการประกอบพิธีฮัจญ์วิธีตะมัตตุอ. และวิธีกิรอนโดยไม่ต้องเสียดัม (ตามมัซฮับซาฟีอี)

. ตะมัตตุอฺ คือ การทำอุมเราะฮฺในช่วงเวลาฮัจญ์เมื่อเสร็จการทำอุมเราะฮฺแล้ว ฮุจญาดจะทำพิธีฮัจญ์ในปีเดียวกันการประกอบพิธีฮัจญ์วิธีตะมัตตุอ. จะดีกว่าการประกอบพิธีฮัจญ์วิธีกิรอนแต่ต้องเสียดัม (ค่าปรับต่อการกระทำผิดพลาดหรืออาจจะบกพร่องกรณีใดกรณีหนึ่งตามรูกนฮัจญ์)

. กิรอน คือ การทำฮัจญ์และอุมเราะฮฺพร้อมกันในช่วงเวลาฮัจญ์ หรือการเนียตทำอุมเราะฮฺแล้วนำเอาพิธีฮัจญ์เข้ามาก่อนลงมือทำอุมเราะฮฺ แล้วก็ทำพิธีฮัจญ์จนแล้วเสร็จทั้ง ๒ รูปแบบนี้ผู้ปฏิบัติจะได้ทั้งฮัจญ์และอุมเราะฮฺในคราวเดียวกัน เพราะพิธีฮัจญ์ได้ครอบคลุมถึงพิธีอุมเราะฮฺอยู่แล้วแต่ต้องเสียดัม

รุก่นฮัจย์ มี 6 ประการ

คือ สิ่งที่ผู้ไปทำฮัจญ์ทุกคนต้องรู้ ต้องเข้าใจและต้องปฏิบัติ หากไม่ทำข้อใดข้อหนึ่ง หรือกระทำ แต่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ถือว่าพิธีฮัจย์ย่อมเสียเปล่า ไม่มีผลแต่อย่างใด

1.การครองเอียะฮ์รอม พร้อมตั้งเจตนาเข้าสู่พิธีฮัจญ์

2.วุกุฟ คือ การพักสงบที่ทุ่งอารอฟะฮ์ โดยเริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์คล้อยของวันที่ 9 ซุลฮิจญะฮฺ จนกระทั่งดวงอาทิตย์ตก

3.ตอวาฟอิฟาดะฮ์ คือ การเดินตอวาฟรอบบัยตุ้ลลอฮ 7 รอบ

4.สะแอ คือ การเดินระหว่างภูเขาซอฟอกับมัรวะฮ์ 7 เที่ยว

5.ตะฮัลลุ้ล คือ การโกน หรือ ตัดผม

6. เรียงลำดับการปฏิบัติ

วาญิบฮัจย์มี 6 ประการ

เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องปฏิบัติ หากละเว้นข้อใดข้อหนึ่ง ต้องเสียดัม (ค่าทดแทน) เมื่อเสียดัมแล้ว พิธีฮัจย์จึงจะมีผลครบสมบูรณ์

1.เอียะฮ์รอมจากสถานที่ๆ ถูกกำหนดไว้

2.การพักค้างแรมที่มุซดะลิฟะฮ์ เริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกของคืนวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮฺ จนกระทั้ง เวลาซุบฮฺ

3.การค้างคืนที่มีนา 3 คืน (มะเบบ)

4. การขว้างเสาหิน

5. การตอวาฟวิดาอฺ (ตอวาฟอำลา)

6. หลีกเลี่ยงจากการปฏิบัติข้อห้ามต่างๆ

รุก่นและวาญิบของการประกอบพิธีฮัจญ์มีความแตกต่างกัน คือ ผู้ใดละทิ้งรุก่นหนึ่งรุก่นใดของการทำฮัจญ์ การทำฮัจญ์ของเขาใช้ไม่ได้ และจำเป็นจะต้องไปทำฮัจญ์ใหม่ในปีต่อไป ส่วนผู้ที่ละทิ้งวาญิบ ข้อหนึ่งข้อใดจำเป็นที่เขาจะต้องเสียดัม (เชือดสัตว์พลี )

หลังจากวูกุฟเสร็จที่อารอฟะคะ

สรุป หากจะให้เข้าใจง่ายๆ นะคะ ลำดับการทำฮัจญ์ทั้งหมด (แบบตะมัตรุ) เริ่มต้นดังนี้

1. ครองเอียะรอม ทำอุมเราะห์ฮัจญ์ ตั้งแต่เข้ามักกะครั้งแรก อาจจะมาจากมาดีนะห์ หรือมาจากที่อื่นก็ได้ หลังจากนั้นก็ใช้ชีวิตตามปกติจนกระทั่งถึงเวลาทำฮัจญ์

2. ครองเอียะรอม ประมาณวันที่ 7 ซุลฮิจญะห์ เหนียต ครองเอียะรอมเพื่อทำฮัจญ์ ก่อนออกจากที่พัก ที่มักกะ เพื่อที่จะไปพักแรมที่มีนา ประมาณ หลังละหมาดอีซาคะ หรือไม่ก็ไปตอนเช้าของอีกวันนึงคะ

3. พักแรมที่มีนา 1 หรือ 2 คีนคะ เพราะ เราสมควรจะละหมาดที่มีนา ให้ครบอย่างน้อย 5 เวลา ก่อนไปวูกุฟคะ

4. ออกจากมีนา เช้า ที่ 9 ซุลฮิจญะห์ เพื่อไปวูกุฟ ที่ทุ่งอารอฟะคะ เวลาวูกุฟ คือเริ่มจากตะวันคล้อย จนถึงอาทิตย์ตกดินคะ ละหมาดรวมซุรี- อัสรี ที่อารอฟะคะ

5. ออกจากอารอฟะ หลังอาทิตย์ตกดินคะ แล้วไปละหมาดรวม มัฆริบ-อีชา ที่มุซดาลิฟะห์คะ เก็บก้อนหิน ประมาณ 70 ก้อน แล้วนอนพักผ่อนที่มุซดาลีฟะ สุนัตให้นอนหลับคะ ต้องพักที่นั่นอย่างน้อย 6 ชม.คะ (ถ้าจะให้ดี ต้องออกหลังละหมาดซุบฮ์คะ) แต่บางครั้ง เราควบคุมไม่ได้ เพราะซาอุดี้ เค้าให้รถบัส เริ่มมารับฮุจญาจ หลังเวลา ประมาณ ตี 2 คะ ถ้าคิวบริษัทไหนมาก่อนก็ต้องไปคะ

6. กลับที่พักมีนา แล้วไปขว้างก้อนหิน ญุมรอตุลอากอบะฮ์ 7 ก้อน คะ ซึ่งสามารถเริ่มขว้างได้ตั้งแต่เที่ยงคืน จนถึงเที่ยงคืนของอีกวันหนึ่งคะ

7. ตะหลุลอาวัล ออกจากชุดเอี๊ยะรอม มาแต่งชุดธรรมดาได้คะ ผู้ชายส่วนใหญ่ สุนัตให้โกนศรีษะคะ ผู้หญิง ให้ฃลิบผมคะ

8. พักที่มีนาเพื่อรอขว้างก้อนหินอีก 3 วันคะ (มาเบบ) วันละ 3 ต้นๆ ละ 7 ก้อน

9. กลับมักกะ เพื่อเตาวาฟบัยตุลลอห์ 7 รอบคะ

10. เดินซะแอ ระหว่างเนินซอฟา และมัรวะ 7 เที่ยวคะ เป็นอันเสร็จพิธีฮัจญ์คะ

หมายเหตุ หากใครต้องการเดินกลับจากมีนา มามักกะเพื่อเตาวาฟ และซะแอก่อน ระหว่าง อยู่ที่มีนา ระหว่างรอขว้างก้อนหิน 3 วัน นะคะ เราต้องออกจากเขตมีนาหลังเที่ยงคืน และหลังจากเตาวาฟ และซะแอเสร็จ ให้กลับไปขว้างก้อนหิน และกลับให้ถึงพักที่มีนาของอีกวันนึงก่อนเที่ยงคืนคะ เพราะในวายิบฮัจญ์เราต้องนอนพักที่มีนาคะ มิฉะนั้นเราต้องเสียดัม ตามระเบียบคะ

11. เตาวาฟลา (เตาวาฟวิดะห์) เราต้องเตาวาฟลา เมื่อได้เวลาออกจากมักกะคะ

ทั้งหมด คือ บทสรุปลำดับขั้นของการทำฮัจญ์ ง่ายๆ สั้นๆ ที่ทุกคนที่ไปทำฮัจญ์ ต้องรู้และทำความเข้าใจคะ

สิ่งมหัศจรรย์ที่เห็นและที่เป็น ก็คืออัลเลาะห์ (ซบ) สามารถออกแบบค่ายที่เปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิตของมนุษย์ได้ภายใน 7 วัน ด้วยบัญญัติของพระองค์ที่เรียกว่า "ฮัจญ์"..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/579829

หมายเลขบันทึก: 574652เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2014 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2018 11:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท