อะไรคือปัญหา ?


ความกังวลใจ หรือความตระหนัก หรือที่เรียกว่า concern นับเป็นตัวแปรสำคัญ หากเกิดจากความรู้สึกของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง ขบวนการแก้ไขปัญหาก็จะตรงกับปัญหาจริง ๆ แต่ถ้าเกิดจากคนนอก โดยคนในไม่ค่อยได้มีส่วนร่วม หรือมีส่วนร่วมน้อยมาก ก็จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่สร้างปัญหาไว้ หรือทิ้งปัญหาลูกโซ่ไว้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

     เมื่อเราพูดถึงปัญหา เราก็จะพูดผ่านไปแบบง่าย ๆ เคยลองย้อนถามตัวเองบ้างหรือไม่ว่าปัญหาคืออะไรกันแน่ หรืออะไร  อย่างไร ที่เรียกว่าปัญหา (อย่างงกับผมนะ เพราะผมก็งง ฮา...)

     ถ้าหากผมจะพูดว่า “ปัญหา” ก็คือ (สิ่งที่คาดหวัง – สิ่งที่เกิดขึ้นจริงหรือมีอยู่จริง) X ความกังวลใจของเรา (คนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย) ต่อค่าที่ได้มานั้น (แต่ต้องเป็นบวก หากเป็นลบ ก็แสดงความไม่เป็นปัญหา)

          ปัญหา = (สิ่งที่คาดหวัง – สิ่งที่เกิดขึ้นจริงหรือมีอยู่จริง) X ความกังวลใจของเรา

     อย่างนี้เห็นชัด เป็นคณิตศาสตร์ไปเลย แต่ไม่ค่อยเป็นรูปธรรมสักเท่าไหร่ และจะเอาไปอธิบายชาวบ้านในชุมชนก็จะยิ่งยากขึ้นไปอีก แต่จากสมการนี้จะเห็นได้ว่าหากยึดมั่นจริง ๆ แล้วบางปัญหาที่เป็นนโยบายจากบนลงล่าง (Topdown) จะใช้กับบางพื้นที่ไม่ได้เลย เนื่องจากค่าในวงเล็บเป็นศูนย์ คูณกับอะไรก็ได้ศูนย์ (ฮา...จริง ๆ นะครับ เอ้าจะไม่เชื่อกันเหรอ...)

     ความกังวลใจ หรือความตระหนัก หรือที่เรียกว่า concern นับเป็นตัวแปรสำคัญ หากเกิดจากความรู้สึกของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง ขบวนการแก้ไขปัญหาก็จะตรงกับปัญหาจริง ๆ แต่ถ้าเกิดจากคนนอก โดยคนในไม่ค่อยได้มีส่วนร่วม หรือมีส่วนร่วมน้อยมาก ก็จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่สร้างปัญหาไว้ หรือทิ้งปัญหาลูกโซ่ไว้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

     จบแล้วครับ จบเอาดื้อ ๆ อย่างนี้แหละ

หมายเลขบันทึก: 5745เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2005 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท