น้ำตาไหลบ่อยมากในช่วงมีประจำเดือน?


ขอขอบพระคุณกรณีศึกษาน้อง จ. ที่เข้ามาปรึกษาเรื่องราวที่น่าสนใจกับดร.ป๊อป ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ในบันทึกนี้

จะจัดการอย่างไร เมื่อเดิมน้องจ. เคยได้รับกิจกรรมบำบัดจิตสังคมด้วยการฝึกทักษะการรู้คิดร่วมกับการสั่งจิตใต้สำนึกจนหายเศร้า (น้ำตาไหลบ่อยครั้งและมีความรู้สึกเศร้าไวในชีวิตความรัก) และได้แต่งงานอย่างมีความสุข จากนั้นหลังการแต่งงานเกือบ 3 เดือน น้องจ.ก็ขอคำปรึกษาผมว่า ช่วงที่มีประจำเดือน น้องเค้าน้ำตาไหลบ่อยมากจะแก้ไขอย่างไร ผมเองก็คิดไม่ออก เพราะผมไม่มีความเชี่ยวชาญใดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้และเห็นว่าน่าสนใจจึงขอค้นคว้าและลงบันทึกในที่นี้ครับ

แหล่งข้อมูลที่หนึ่ง หัวข้อ อาการร้องไห้ฉับพลันขณะมีประจำเดือน Acknowledgement: Pekker, M. (2011). All about menopause: well-being and symptoms relief. 

  • ในช่วงวัยเด็ก ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงร้องไห้มีน้ำตาใกล้เคียงกัน แต่พอหลังอายุ 12 ปีขึ้นไป เพศหญิงร้องไห้มีน้ำตาเป็น 4 เท่าของเพศชาย ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน Prolactin และโครงสร้างของต่อมน้ำตาของเพศหญิงจะมีกลไกที่หลั่งน้ำตามาสู่ตรงแก้มได้อย่างง่ายดาย
  • ขณะที่เพศหญิงมีประจำเดือน จะส่งผลให้เกิดการหลั่งน้ำตาได้ง่ายตามสภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนไปมา ซึ่งถือเป็นกลไกธรรมชาติของการระบายออกทางความเครียดเชิงลบ เช่น อารมณ์ตึง อารมณ์กดดัน กระทบกระเทือนใจ 
  • ในทางกลับกัน การหลั่งน้ำตาของเพศหญิงช่วยให้เพศชายมีฮอร์โมน Testosterone ลดลงทำให้เกิดการยับยั้งอารมณ์ขณะโกรธกับเพศหญิงได้ชั่วขณะหนึ่ง ทำให้เกิดการสื่อสารกับครอบครัวได้บ้าง 
  • แต่ในบริบทของที่ทำงาน เพศหญิงจะรู้สึกแย่มากๆถ้าหลั่งน้ำตาอันบ่งชี้ถึงความไม่ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน เมื่อเกิดการเปรียบเทียบกับเพศชาย ซึ่งจะต้องมีการประเมินสาเหตุของความเศร้าเพื่อเกิดการสื่อสารเพิ่มกำลังใจในการทำงานอย่างเหมาะสม ได้แก่ การทบทวนตัวเองถึงความเป็นไปได้ในการลดความกังวลและการเพิ่มความมั่นใจในการทำงาน การฝึกเพิ่มความตระหนักรู้ในเหตุแห่งความรู้สึกลบของตนเอง การฝึกคิดและมองเรื่องราวในชีวิตที่เป็นมุมบวก การฝึกทักษะทางสังคมเพื่อสร้างสัมพันธภาพกับบริบทที่ทำงาน - เพื่อน หัวหน้า การพัฒนาทักษะการทำงาน (แยกจากชีวิตส่วนตัว) และขอบคุณความรู้สึกที่ดีของตัวเองในแต่ละวันโดยพูดว่า "ฉันเห็นว่า น้ำตาที่เริ่มไหลมาของฉันทำให้รู้สึกเข้มแข็งมากขึ้นในเรื่อง..."

แหล่งข้อมูลที่สอง หัวข้อ การปรับเปลี่ยนอารมณ์ขณะมีประจำเดือน Acknowledgement: Bracy, K. (2014). Menopause and mood: It's not all in your head. Coping with the ups and downs of menopause. 

  • การศึกษาสภาวะอารมณ์ของตัวเองจะทำให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงอารมณ์แบบอ่อนไหว พอเหมาะ หรือไม่อ่อนไหว
  • ผลจากฮอร์โมนในเพศหญิงจะส่งผมให้มีอารมณ์อ่อนไหวและหลั่งน้ำตาง่ายเพียง 8-10% ซึ่งมีโอกาสมาจากความทุกข์เจ็บปวดในช่วยเพิ่งเริ่มมีประจำเดือน มีประวัติการตั้งครรถ์ที่มีภาวะอารมณ์ขึ้นๆลงๆ หรือมีภาวะซึมเศร้าหลังหมดประจำเดือน
  • ควรศึกษาผลกระทบจากภาวะการนอนไม่หลับหรือการนอนไม่พอเพียง เช่น มีเหงื่อออกตอนกลางคืนและตื่นกลางดึก นอนน้อยกว่า 7 ชม. ตื่นนอนเพราะคิดถึงปัญหาใดๆ นอนกรน ฯลฯ
  • มีประวัติภาวะซึมเศร้า หรือได้รับการวินิจฉัยปัญหาสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า 
  • มีปมชีวิตที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงในช่วงวัยรุ่นเป็นวัยผู้ใหญ่ หรือช่วงวัยผู้ใหญ่หลัง 40 หรือช่วงวัยผู้สูงอายุหลัง 65 ปี หรือชีวิตหลังแต่งงาน ความเครียดในที่ทำงาน และการเปลี่ยนแปลงชีวิตที่เกิดการกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรวดเร็วและกำลังสะสม

แหล่งข้อมูลที่สาม หัวข้อ การจัดการสุขภาวะขณะมีประจำเดือน Acknowledgement: TruthMedia. (2014). Coping with permenopause and menopause. 

  • การบำบัดด้วยฮอร์โมน Estrogen โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง 
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางร่างกาย ได้แก่ การงดบุหรี่ การงดเหล้า การออกกำลังกาย การทานอาหารที่มีวิตามิน E, D และแคลเซียม ทานอาหารที่มีประโยชน์ (ลดเนื้อสัตว์ ลดอาหารเผ็ด-เค็ม-หวานจัด) การป้องกันภาวะกระดูกพรุนและภาวะโรคหัวใจ
  • การบำบัดด้วยกิจกรรมเพิ่มสุขภาวะทางจิตใจ ได้แก่ การลดความเครียด การเพิ่มออกกำลังกายและนันทนาการ การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพื่อตั้งเป้าหมายในการใช้ชีวิต การฝึกทักษะการผ่อนคลายจิตใจ การส่งเสริมสุขภาวะทางเพศ การใช้เทคโนโลยีเพื่อเรียนรู้ตนเองจากภาพถ่าย คอมพิวเตอร์ และการเขียนเรื่องเล่า การมีส่วนร่วมทำกิจกรรมทางสังคมที่มีความหมาย เช่น การเข้าชมรมส่องนก การเข้ากลุ่มงานวรรณกรรม การทำกิจกรรมกลุ่มสนุกสนาน หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ตึงเครียด ฯลฯ
  • การมีส่วนร่วมทำกิจกรรมเพิ่มสุขภาวะทางจิตวิญญาณ เช่น การอ่านหลักศาสนาแล้วนำมาปรับใช้ในชีวิต การทำสมาธิและสวดมนต์ การตั้ง "ใจ" เพื่อสร้างพลังชีวิตด้วยความหวัง การค้นหาแนวทางป้องกันความวิตกกังวลถึงภาวะซึมเศร้าแก่ตัวเอง

หมายเลขบันทึก: 574391เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2014 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 สิงหาคม 2014 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นประโยชน์มากๆค่ะ   ขอบคุณค่ะ Dr.Pop มากค่ะ

ขอบพระคุณมากครับคุณแสงแห่งความดี พี่ดร.เปิ้น พี่โอ๋ พี่นงนาท คุณทิมดาบ และคุณพิทยา

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท