ระบบการพัฒนาเด็กพิเศษ?


จากผลลัพธ์วิจัยหุ่นยนต์กับการพัฒนาเด็กพิเศษสู่การเรียนรู้กิจกรรมบำบัด

หลักการสำคัญทางกิจกรรมบำบัดเพื่อการพัฒนาเด็กคือ ประเมินพฤติกรรม (ความสุขความสามารถ) ปรับปรุงทักษะการเรียนรู้ และประยุกต์ขอบเขตและกระบวนการเพิ่มทักษะชีวิต


การพัฒนาเด็กพิเศษ ต้องการ...การทำงานข้ามสาขาการวิจัยเชิงระบบการสื่อสารสังคม และการศึกษารายบุคคล

ในงานนี้ดร.ป๊อปต้องขอบพระคุณอ.ป่าน อ.ชนัตถ์ คุณครูการศึกษาพิเศษ และผู้สนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติที่ทำให้เกิดการร้อยเรียงความคิดที่น่าสนใจพอสังเขป ได้แก่

1. การปรับพฤติกรรมเป็นสื่อการเรียนรู้หนึ่งในการพัฒนาเด็กทั่วไปและเด็กที่มีความต้องการการพัฒนาเป็นพิเศษ หรือ Habituation (การสร้างนิสัยใหม่) จะต้องทำต่อเนื่องอย่างน้อย 21 วันในช่วง 1-6 ปี โดยเน้นพฤติกรรมที่เหมาะสมเป็นเป้าหมายครั้งละ 1 พฤติกรรม ซึ่งการสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสม (เช่น การให้รอยยิ้ม สวมกอด ฟังคำชื่นชม และเคลื่อนไหวอิสระ)กับการลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (เช่น การขอเวลานอก การให้ทำกิจกรรมมากกว่าเวลาที่กำหนด การให้ฟังคำปรับปรุง)ต้องมีรูปแบบที่สมดุลในแต่ละครั้งตามทฤษฎีของการตั้งเงื่อนไขของ Skinner ดังรูปข้างล่างนี้

2. เคล็ดลับตามประสบการณ์ของดร.ป๊อป คือ การพัฒนาเด็กควรจัดตารางที่ยืดหยุ่น ปรับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่หลากหลาย (ไม่เพียงแค่ห้องเรียน ไม่เพียงแค่หุ่นยนต์ แต่มีกลุ่มเด็กวัย/เพศเดียวกัน มีการบำบัดทางเลือกผสมผสานระหว่างหุ่นยนต์ สัตว์ ดนตรี ศิลปะ ฯลฯ) มีกิจกรรมตามบริบทที่สร้างสรรค์ (ลดความซ้ำซาก) ในบ้าน ห้องเรียน สถานที่นอกบ้าน ฯลฯ และการชี้นำด้วยภาษากาย (การสบตา การหายใจ การใช้ภาษาท่าทาง การใช้น้ำเสียง และการแสดงพลังงาน ที่ตรงกันตามระดับจิตใต้สำนึก) พร้อมมีการสังเกตเลียนแบบโดยไม่ตั้งใจด้วยการแสดงบทบาทที่ยืดหยุ่นระหว่างพ่อแม่ ครู ผู้บำบัด พี่น้อง และเพื่อน ซึ่งผมคิดว่า ควรมีการจัดตั้งระบบบ้านเรียน ระบบการศึกษาปกติ ระบบการศึกษาทางเลือก และระบบการศึกษาของพ่อแม่ ที่เชื่อมโยงกันตามการพัฒนาทักษะชีวิตแต่ละรายบุคคลยกตัวอย่างคืออ.ป่านให้หุ่นยนต์ที่เลียนแบบสลับกับฝึกพูดคำศัพท์ที่เลือกชุดคำได้ พร้อมด้วยการให้กำลังใจและการฝึกเล่านิทานทำมือ และพยายามร่วมมือกับผมในการสร้างระบบการฟื้นฟูด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ร่วมกับกิจกรรมบำบัด หรือจากบันทึกการจัดการทักษะชีวิตของกรณีศึกษาหนึ่งที่คุณแม่มาปรึกษาว่า เด็กมีความสามารถในการใช้ตาและมือในการค้นหาคำศัพท์แต่ก็มีความไวในการแสดงอารมณ์โมโห จนผมแนะนำการฝึกสมองซีกซ้ายให้เคลื่อนไหวจากความสามารถในการใช้ตาและมือเช่น เทนนิส ก็รู้สึกดีมากที่คุณแม่มีความตั้งใจและกรณีศึกษาก็ดูมีความสุข

3. ในเด็กที่มีปัญหาการจัดการอารมณ์ ควรมีการทำงานที่เป็นระบบตั้งแต่การมีเครื่องมือประเมินเชิงคุณภาพและปริมาณถึงกลไกการจัดการอารมณ์ที่สามารถรักษาทางการแพทย์ การบำบัดจากนักวิชาชีพ การศึกษาพิเศษ การดูแลจากครอบครัว เพื่อมิให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตและจำเป็นต้องได้รับการบำบัดทางจิตเวชจนถึงการฟื้นคืนสุขภาวะ (จิตสังคม) ทั้งในระดับรายบุคคล ครอบครัว และชุมชน ที่ต้องวางแผนระยะยาวในการฟื้นฟูทางการศึกษา และ/หรือการประกอบอาชีพ ซึ่งต้องอ้างอิงระบบการพัฒนาเด็กสู่การฝึกทักษะการเรียนรู้ในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต (ทักษะชีวิต) ตามหลักการของ Bloom ที่ต้องวางแผนระบบการเรียนรู้ทั้งการรู้คิดหรือความรู้ความเข้าใจ การรู้สึกรับรู้ทักษะการทำกิจกรรม และการรู้คุณค่าในตัวเองด้วยอารมณ์เป็นสุข รวมทั้งมีการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการมีสุขภาวะให้เป็นรูปธรรมมากที่สุดแบบสหวิชาชีพและความเข้าใจในความต้องการที่แท้จริงของเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ตลอดช่วงวัยอย่างต่อเนื่อง

สุดท้ายผมขอประชาสัมพันธ์ Workshop ของอ.ป่านเพื่อนรักของผมให้ทุกท่านที่สนใจเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเยอะๆนะครับ

หมายเลขบันทึก: 574382เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2014 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 สิงหาคม 2014 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แม้เราจะคิดนวัตกรรมดีๆ ขึ้นมามากมาย  คำตอบสุดท้ายคือพ่อแม่ผู้ปกครองอยู่ดีว่าพวกเขาพร้อมที่จะเป็น "อิสระจากการพึ่งพา" แค่ไหน  เพราะเป็นตัวแปรสำคัญของความสำเร็จที่วัดได้จากตัวลูก

พี่ประทับใจอาจารย์และผองเพื่อนค่ะที่ทำงานเพื่อเด็กพิเศษ

เป็นประโยชน์กับ คุณพ่อ  คุณแม่มากๆ ค่ะ 

ขอบพระคุณมากครับพี่ nui พี่ดร.เปิ้น พี่โอ๋ คุณ seangja คุณหมอป. พี่นงนาท คุณทิมดาบ และคุณบุษยมาศ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท