แก้จนเมืองนคร : การพัฒนาอย่างบูรณาการทั้งจังหวัด


สำหรับตัวผมเองนั้นในหัวข้อที่ 10 หัวข้อสุดท้ายที่ว่าด้วย คณะทำงานส่งเสริมการวิจัยและการจัดการความรู้ของจังหวัดนั้น ผมคิดว่าคงจะก้าวหน้ามากขึ้นแน่นอน เนื่องจากท่านผู้ว่าฯได้ประสานงานกับ สกว.ไว้แล้ว และมอบให้สถาบันอุดมศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นเจ้าภาพในเรื่องนี้ ต่อไปนี้ทั้งการสร้างองค์ความรู้และการนำความรู้ไปใช้แก้จนในโครงการแก้จนเมืองนครก็จะเป็นรูปธรรมเป็นระบบมากขึ้น

                อันเนื่องจากจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดประชุมทีมคุณอำนวยตำบล อำเภอ ที่เป็นบุคลากรของ กศน.จังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ 300 คน ขึ้นที่โรงแรมแกรนด์ปาร์ค จังหวัดนครศรีรรมราช เมื่อ  31 ตุลาคม 2549  ลิ้งค์อ่าน ในแฟ้มเอกสารแจกปรากฏว่ามีเอกสารที่มีคุณค่า 5 ชุด ได้แก่ เปิดแผนฯ 10 หัวใจอยู่ที่ "ลดคนจน" โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 3 ขั้นตอนของการแก้ปัญหาความยากจน โดยเสรี พงศ์พิศ ยุทธศาสตร์และRoadmap การขับเคลื่อนพลังเศรษฐกิจพอเพียง (ไม่ระบุผู้เขียน) จุดเปลี่ยนประเทศไทย...เศรษฐกิจพอเพียงในแนวทางสมานฉันท์ จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม 2549 และ เศรษฐกิจพอเพียง "ภาคปฏิบัติ" การพัฒนาอย่างบูรณาการทั้งจังหวัด โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี

               ผมได้ฟังท่านผู้ว่าฯวิชม ทองสงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ออกปากชมทางฝ่ายเลขาจัดงานว่าจัดหาเอกสารมานำเสนอได้ดี ท่านผู้ว่าฯเองก็ได้อ่านเอกสารทุกฉบับ และท่านได้หยิบเอกสารที่ท่านอ่านแล้วสดุดใจมากคือ เศรษฐกิจพอเพียง "ภาคปฏิบัติ" การพัฒนาอย่างบูรณาการทั้งจังหวัด โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี ท่านจึงได้หยิบขึ้นมาวิเคราะห์ให้ที่ประชุมได้คิดตามไปทีละข้อ ซึ่งในเอกสารนั้นได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาอย่างบูรณาการทั้งจังหวัด ไว้ 10 หัวข้อ ดังนี้ครับ 1.การพัฒนาอย่างบูรณาการและฐานล่างแข็งแรง 2.สัมมาชีพเต็มพื้นที่รากฐานของความร่มเย็นเป็นสุข 3.ตำบลแห่งความพอเพียงกระบวนการขับเคลื่อนแผนแม่บทชุมชน 4.เทศบาลและ อบจ.กับเศรษฐกิจพอเพียง 5.เครือข่ายต่างๆเพื่อชุมชน 6.การเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนของคนทุกคนในจังหวัดและการจัดการความรู้ 7.หนึ่งมหาวิทยาลัยต่อหนึ่งจังหวัด 8.ธุรกิจขาดใหญ่กับเศรษฐกิจพอเพียง 9.เวทีพัฒนานโยบายเศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัด และ 10 คณะทำงานส่งเสริมการวิจัยและการจัดการความรู้ของจังหวัด (รายละเอียดของทั้ง 10 หัวข้อ หาอ่านได้จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม 2549)

             โดยภาพรวมที่ท่านผู้ว่าฯวิเคราะห์ให้ที่ประชุมฟังก็ในทำนองที่ว่าแนวทางการพัฒนาทั้ง 10 หัวข้อดังกล่าวสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชของเรา เมืองแห่งการเรียนรู้ เกษตรและท่องเที่ยวน่าอยู่ และสังคมที่พัฒนาอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร ที่เรายึดพื้นที่ (Area based)ทั้งจังหวัด 1,545 หมู่บ้าน จากประสบการณ์ที่เราได้ดำเนินโครงการนี้มา  บางหัวข้อบางประเด็นที่ ศ.นพ.ประเวศ วะสี กล่าวไว้ ท่านผู้ว่าฯวิเคราะห์ว่าเราก็ได้ทำมากบ้าง น้อยบ้าง แตกต่างกันไป แต่เป็นแนวทางที่ถูกต้องที่เราจะต้องยึดถือและทำต่อไปให้เด่นชัดมากยิ่งขึ้น ต้องทำแบบสะสมเรื่อยไปในแต่ละหัวข้อ ให้เห็นเป็นรูปธรรมให้ได้ แม้การพัฒนาอย่างนี้จะต้องอาศัยระยะเวลาก็ตาม ซึ่งก็คือการบ้านที่คณะผู้เข้าประชุมจะต้องไปดำเนินการต่อเนื่องต่อไป เราได้ทำตามแนวทางนี้มาแล้ว เมื่อได้อ่านเอกสารนี้ยิ่งทำให้เราได้เห็นความบูรณาการ ความเชื่อมโยงตามหลักคิดและหลักวิชาการมากขึ้น

             สำหรับตัวผมเองนั้นในหัวข้อที่ 10 หัวข้อสุดท้ายที่ว่าด้วย คณะทำงานส่งเสริมการวิจัยและการจัดการความรู้ของจังหวัดนั้น ผมคิดว่าคงจะก้าวหน้ามากขึ้นแน่นอน เนื่องจากท่านผู้ว่าฯได้ประสานงานกับ สกว.ไว้แล้ว และมอบให้สถาบันอุดมศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นเจ้าภาพในเรื่องนี้ ต่อไปนี้ทั้งการสร้างองค์ความรู้และการนำความรู้ไปใช้แก้จนในโครงการแก้จนเมืองนครก็จะเป็นรูปธรรมเป็นระบบมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 57229เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2006 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากไปเยี่ยมเมืองนครฯ บ้างจังนะคะ รู้สึกว่า มีบรรยากาศที่น่าเรียนรู้เยอะแยะมากมาย

ยินดีต้อนรับครับ มีโอกาสเมื่อไรแล้วจะเชิญมาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท