นักวิชาการเสนอ คสช. ยุบ สมศ. ชี้สร้างภาระ ... (เดลินิวส์ออนไลน์)


จากข่าวการศึกษา ...

...

นักวิชาการเสนอ คสช. ยุบ สมศ. ชี้สร้างภาระ

...

กลุ่มนักวิชาการ นักการศึกษา ภาคประชาสังคม ธุรกิจเอกชน และ ศธ.รวมพลังคิดแนวทางปฏิบัติการศึกษา เสนอ คสช.ชี้ต้องปรับปรุงหรือยุบ สมศ.ย้ำตั้งสภาปฏิรูปการศึกษาให้ทุกภาคส่วนเข้าร่วมอย่างเต็มที่ ด้าน ศธ.นัดฟังเสียงทุกฝ่าย วันที่ 19 ก.ค.นี้

วันนี้ (9 ก.ค.) ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ประสานมิตร กลุ่มนักวิชาการ นักการศึกษา ภาคประชาสังคม ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และภาคธุรกิจเอกชน จัดประชุมหารือแนวทางข้อเสนอปฏิบัติการศึกษา(ระยะสั้นและระยะยาว) เพื่อส่งมอบต่อหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติ โดย ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดี มศว. กล่าวว่า ตนขอเสนอให้คสช.ทำเรื่องที่ทำได้ยากในภาวะปกติ คือ การปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ เพื่อวางระบบและโครงสร้าง ให้การดำเนินงานต่างๆเดินหน้าต่อไปได้หลังจากที่มีการเลือกตั้ง หรือ มีรัฐบาลชุดปกติแล้ว เช่น จัดตั้งสภาหรือคณะกรรมการปฎิรูปการศึกษา จัดตั้งหน่วยงานหรือสถาบันวิจัยระบบการศึกษาจัดตั้งกองทุนที่ออกพันธบัตรเพื่อสังคมหรือการศึกษา ปรับปรุงระเบียบให้มีการทำงานรับใช้สังคมในชนบท ผลักดันพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่จะออกไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และที่สำคัญควรพิจารณาปรับปรุง หรือ ยกเลิกสำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพราะจากการหารือในกลุ่มที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ต่างเห็นตรงกันว่า การประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. เป็นการเพิ่มภาระงานให้แก่สถาบันการศึกษาเป็นอุปสรรค และภาระในการจัดการศึกษาอย่างมาก

ศ.ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า ระบบการศึกษาของไทยสนใจแต่เรื่องวุฒิการศึกษาไม่ได้ดูว่าจะเอาความรู้อะไรไปทำงาน ใช้เวลายาวนานในระบบการศึกษาถึง 16 ปี ก็ยังได้คนไม่มีคุณภาพ ดังนั้น โจทย์ใหญ่ของปฎิรูปการศึกษาครั้งนี้ คือ จะทำอย่างไรให้คน เก่ง มีคุณภาพ ซึ่งทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรเพื่อเตรียมคนออกไปสู่ตลาดแรงงานและยกระดับคนในวัยทำงานให้มีคุณภาพดีขึ้น รวมถึงควรจะมีการพัฒนากลุ่มคนผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ให้ฝึกอาชีพและทำงานได้

ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ. กล่าวว่า ศธ.จะรวบรวมข้อเสนอที่ได้จากการประชุมสรุปรวมกับแผนโรดแม็พของ ศธ. ก่อนนำเสนอ คสช.ทั้งนี้ ศธ.อยากให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษา จึงจะจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในวันที่19 กรกฎาคมนี้ เพื่อให้ได้แนวทางที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรมในการดำเนินการขับเคลื่อนปฎิรูปการศึกษาต่อไป

ด้าน รศ.ประภาภัทร นิยม อธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์ กล่าวว่า แนวทางในการปฎิรูปการศึกษานั้น ศธ. และกลุ่มต่าง ๆ ควรนำเสนอการปฏิรูปไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเท่าที่รวบรวมทิศทางหลักๆของการปฏิรูปการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นเรื่องเร่งด่วน คือ การตั้งสภาปฎิรูปการศึกษา เพื่อให้การดำเนินการปฎิรูปการศึกษาในระยะยาวเป็นไปตามแผนที่วางไว้ นอกจากนี้การปฏิรูปการศึกษาต้องให้โรงเรียน ผู้บริหาร ครูเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ มิฉะนั้นต่อให้มีแผนมากมาย แต่ครู ผู้บริหาร ยังดูไม่ออกว่าจะปฏิรูปอย่างไร การปฎิรูปการศึกษาก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้

...

อ้างอิง ... http://www.dailynews.co.th/Content/education/25112...

...

.........................................................................................................................................................................................

...

ความคิดเห็นส่วนตัว ...

...

การปรับปรุง หรือ ยกเลิก สมศ. เป็นสิ่งที่คิดมานานแล้ว

วิธีคิดของ สมศ. อาจจะดี แต่มันดูเพ้อฝันเกินไปหรือไม่
เนื่องจากผลข้างเคียงของกระบวนการตรวจสอบของ สมศ.
มันทำลายระบบการศึกษาไทยอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

เกิดการปลอมแปลงเอกสารเพื่อให้โรงเรียนอยู่รอด
เกิดการเปลี่ยนเกรดเด็กให้สูงขึ้น ทั้ง ๆ ที่ระดับความรู้ของเด็กไม่ถึงขั้น
ครูมีภาระงานหนักเกินกว่าปกติ ไม่มีเวลาจะสอนหนังสือ สอนเด็กให้ดี ๆ

ฯลฯ

อีกเรื่องคือ ระบบวิทยฐานะของครูควรมีการประเมินตลอดชีวิตหรือไม่
มิใช่ได้วิทยฐานะไปแล้ว กลับไม่ตั้งใจสอน ไม่รักในวิชาชีพของความเป็นครู
เนื่องจากได้เงินวิทยฐานะทุกเดือนอยู่แล้ว

แถมตอนทำวิทยฐานะก็คดโกง จ้างวาน ทุจริตกันมากมาย

ตั้งนโยบายปฏิรูปการศึกษาอีกกี่รอบ

การศึกษาไทยก็ต่ำลงไปเรื่อย ๆ

ใช่หรือไม่

...

บุญรักษา การศึกษาไทยด้วยเถิด ;)...

...

...

หมายเลขบันทึก: 572276เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2014 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2014 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ชอบใจแนวคิดของรศ.ประภาภัทร นิยม อธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์

ถ้าทุกฝ่ายมาช่วยกันวางแผน แล้วเดินทางทำงานด้วยกัน

เชื่อว่าการศึกษาไทยจะพัฒนาไปมาก

โดยเฉพาะการผลิตครูครับ

อาจารย์ครับ

ชอบ...ระบบการตรวจสอบ ทำลายระบบการศึกษา

ชอบ..เกิดการปลอมแปลงเอกสาร.....

น่าคิด...ประเมินในรอบ ๑๐ ปี  ๒ ครั้งแล้ว ผลสัมฤทธิ์มิได้ดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะครูไปทุ่มเทกับกองเอกสารจนทิ้งห้องเรียน

สาธุ เลิกเถอะ สมศ. อย่าได้ก้าวต่อ อีกเลย

.      ตามข่าวนี้เรื่องเกี่ยวกับ สมศ.นี้ ผู้ใหญ่ใน ทปอ. คืออธิการบดี ดูเหมือนไม่มองเห็นข้อดีของการมี สมศ. เลย มองเห็นว่าเป็นภาระดังนั้นควรยกเลิก ก็หวังว่าจะมีข้อเสนอดี ๆต่อไปว่าควรมีการประเมินกันหรือไม่และทำอย่างไร 

      ส่วนตัวเห็นว่าระบบการประเมินมีความจำเป็น มิฉนั้นก็จะไม่ทราบว่าการดำเนินงานเป็นไปตามหลักการและบรรลุเป้าหมายหรือไม่ อะไรคือความสำเร็จ อะไรคือความบกพร่องที่ต้องแก้ไข พัฒนาต่อไปและ ฯลฯ การที่จัดตั้ง สมศ. ขึ้นมาก็คงได้ศึกษากันมาอย่างดีแล้ว มันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาครั้งก่อน  แต่ระบบที่ใช้อยู่ยังไม่ลงตัวก่อให้เกิดความยุ่งยาก โกลาหลกันทุกแห่ง และแก้ไม่ตรงจุด สิ้นเปลืองกำลังคนและงบประมาณและทรัพยากรอื่น ๆ ทั้งในส่วนผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน เห็นได้ชัดเจนในความไม่มีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องปรับปรุงหรือหาแนวทางใหม่ แต่ถ้าจะยกเลิกต้องคิดให้รอบคอบ

ถ้าหลักการยังต้องมีการประเมินต่อไป การมีผู้ประเมินภายนอกยังมีความจำเป็น ถ้ายุบไปก็ต้องตั้งหน่วยงานใหม่อยู่ดี หรือถ้าจะประเมินภายในกันเอง ผลการประเมินเชื่อถือได้หรือไม่ สังคมจะยอมรับผลการประเมินได้หรือไม่ 

ขอบคุณ ผอ.ชยันต์ เพชรศรีจันทร์ ผู้สัมผัสกับ สมศ. โดยตรงครับ ;)...

ใช่ครับ ท่านอาจารย์ GD ;)...

ถึงแม้ว่าจะมีข้อเสนอหลายครั้งในการให้ยุบ สมศ. ด้วยเหตุผลที่เรารู้ ๆ กันอยู่ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
ระบบการประเมินอาจจะต้องมีต่อไป แต่เปลี่ยนรูปแบบให้เป็นที่ยอมรับและไม่ให้เกิดผลข้างเคียงที่
เป็นเหมือนปัจจุบันนี้

สมศ. ควรต้องถามตัวเองว่า วิธีการประเมินนั้นถูกต้องแค่ไหน และทำให้เกิดปัญหาอะไรตามมาบ้าง
แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้รู้สึกรู้สาอะไรมากนัก เมื่อนโยบายข้างบนจะเอาแบบสูง ๆ ก็หันมาบีบโรงเรียนข้างล่าง
ให้ทำให้ได้ตามเกณฑ์ที่ต้องการ

ไม้บรรทัดที่ขีดตรงนั้น ต้องเกิดมาจากความบริสุทธิ์ใจ ไม่ใช่ทำตามนโยบายของนักการเมืองไปเรื่อย ๆ

หากไม่มีวิธีการใดที่ดีกว่านี้ สมศ.ควรพิจารณาตัวเองครับ ;)...

การประเมินจำเป็น ถ้าไม่สร้างภาระให้ผู้ถูกประเมินมาก และนำไปสู่การพัฒนา

การประเมินที่ฉาบฉวย ไม่ก่อผลการพัฒนาที่ยั่งยืน ก่อรายได้ให้ผู้เข้าประเมิน แบบนี้ก็ไม่น่ามีอยู่เช่นกัน

ผู้ถูกประเมินเกิดทุกข์ มันยิ่งขวัญเสียนะคะ

คสช.งานเข้าเยอะ เพราะระบบปกติในมือนักการเมืองทำไม่ได้  อย่าง สธ.ก็มีปัญหาเรื่องกองทุน ๓ กองทุน  เงินค่าหัวประชากร ๔๘ ล้านคนที่ รพ.ได้จาก สป.สช. จะโตขึ้นเรื่อยๆ เป็นภาระงบประมาณแผ่นดิน  แต่ รพ.ก็ติดลบกันทุกแห่ง เงินมากเท่าไหร่ก็ไม่พอ  คิดหาทางออกก็ตีบตันไปหมด 

สธ.ปัญหาเยอะพอกับ ศธ. แต่คนละแบบ

ขอบคุณมากครับ พี่ nui ;)...

นักการเมืองทำเรื่องแย่ ๆ ไว้เยอะ
ประเทศพังหมด ...

บันทึกนี้ดูเข้มนะครับ ท่านอาจารย์ Wasawat Deemarn :-)

หนูเคยเป็นมือปืนรับจ้างทำผลงานครูด้วยแหละค่ะอาจารย์ สมัยเรียนป.ตรีปี3 ปี4 เงินดีมากเลยนะค่ะ คุณครูเขาทุ่มจริงๆ ตอนนั้นหน้าเงินใครให้ทำอะไรทำหมด ตอนนี้ก็ยังทำนะค่ะแต่ถ้าเป็นผลงานเลื่อนขั้นครูไม่ทำมานานละ แต่ก็ยังมีมาขอให้ทำเรื่อยๆ เหนื่อยใจแทนลูกศิษย์ ยอมรับเลยว่าทำให้ตั้งแต่เขียนแผนการสอน สื่อการสอน คะแนนก่อนและหลัง ฯลฯ ซึ่งทุกอย่างถูกมโนขึ้นจากตัวหนูเอง ฮ่าๆๆ รู้สึกเหมือนทำบาปเลยค่ะ

แฮะ แฮะ นิดนึงครับ ท่านอาจารย์ dejavu monmon 555

ถึงปัจจุบัน ... คงต้องเลือกงานบ้างแล้วใช่ไหม ดอกหญ้าน้ำ ;)...

ให้ทุกอย่างมันเริ่มที่ตัวเราเนาะ ;)...

ทุกครั้งที่ปฏิรูป ครูผู้ปฏิบัติไม่เคยได้มีส่วนร่วมแชร์ประสบการณ์ โดยเฉพาะครูบ้านนอก ตะโกนยังไงก็ไม่มีใครได้ยิน อุปสรรคอันเป็นที่มาของปัญหาทางการศึกษา มีที่มา ที่ไป และควรต้องแก้ไข ณ จุดไหนย่่อย่างไร ครูผู้ปฏิบ้ติรู้และเข้าใจดี แต่ไม่เคยมีโอกาสได้บอกกล่าวกับผู้มีอำนาจเปลี่ยนแปลง ที่จริงมีหลายอุปสรรค แต่ ณ ตรงนี้ ขอเน้นที่สำคัญ 2 เรื่องคือ

1. งบประมาณมีมาก แต่ไม่ถึงสถานศีึกษา (ถึงแบบเลี้ยวบอนไซ) กลับเป็นภาระให้ครู/ผู้บริหาร ร.ร. ต้องออกจาก ร.ร.มาช่วยหน่วยเหนือใช้งบประมาณให้หมด

2. เนิ้อหาในตำราเรียนมีมากเกินไป ซ้ำซ้อน จนทำร้ายสมองเด็ก เครียด เบื่อ เอียน ฯลฯ สุดท้ายไม่รักการเรียนรู้ โดยเฉพาะการเรียนรู้จากการอ่าน...

ยังมีเรื่องต้องว่ากันอีกยาวครับเรื่องนี้ ขอโอกาสครูวุฒิสักครั้งเถิด จะร่ายให้เห็นชัดๆเลยครับ...

ครูวุฒิ ในฐานะผู้รับการประมิน ไม่ปฏิเสธการประเมินโดย สมศ. แต่ขอให้ให้เกียรติบริบทของสถานศึกษา (ความพร้อมพื้นฐานทั้งด้านเด็ก ครู บริบทของชุมชน งบประมาณ ฯลฯ) โดยเฉพาะด้านเด็ก (เด็กในชนบทที่มาจากครอบครัวที่ขาดแคลน/ไม่สมบูรณ์ ถูกเลี้ยงดูมาแบบตามมีตาม้เกิด ส่วนใหญ่จะผ่านหรือคาบเส้นปัญญาอ่อนแค่นั้น เจอกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ไม่เป็นระบบ อันเกิดจากปัญหาที่น่นืหน่วยเหนือมีงบเยอะเลยสั่งโรงเรียนตลอด ก็มี่คุณภาพออกมาอย่างที่เห็นนั่นแหละครับ...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท