ฮักนะเชียงยืน 40


ค่ายละครเเห่งความกล้า

ค่ายละครฮักเเพง

        เมื่อประมาณวันที่ 5-7 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืนได้จจัดค่ายละครเร่ขึ้น ที่ถ่ายถอดให้ยังกลุ่มเป้าหมาย 40 คนที่เป็นเยาวชน ณ หมู่เเบกเเบก อ.เชียงยืน เเละ บ้านหนองกุง อ.ชื่นชมขึ้น โดยละครนี้เป็นค่ายที่ 2 ที่เป็นผลมาจากการลงศึกษาข้อมูล ลงพื้นที่สอบถามผู้ใหญ่ในชุมชนตนเอง เเล้วนำข้อมูลนั้นมาคิดวิเคราะห์ เเล้วสังเคราห์ เเล้วประยุกต์ ให้เกิดเป็นละคร เเล้วสื่อสารออกไปยังชุมชนตนเองในประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งก่อนหน้าที่จะจัดค่ายนี้ขึ้นเยาวชนก็ได้ลงสอบถามชาวบ้านในหมู่บ้านตนเองโดยมีพี่เลี้ยงคอยเเนะนำเเละพาน้องลงพื้นที่ ในหลายๆครั้ง

ในค่ายนี้กำหนดไว้อยู่ 3 วันด้วยกัน โดยมี ประเด็นในการดำเนินกิจกรรมอยู่ 4 อย่างด้วยกัน ได้เเก่

  • การฝึกทักษะพื้นฐานของละคร ได้เเก่ จินตนาการ(ท่าใหญ่) สมาธิ(จ้องตา/กระจกเงา) เเละความเชื่อ (ปั้นดินน้ำมัน)
  • การฝึกการคิดวิเคราะห์ การจับภาพ 5 ภาพเพื่อมาทำละคร
  • การให้ทำละครเร่ด้วยตนเอง โดยมีพี่เลี้ยงให้คำเเนะนำ ซ้อมมีผู้ชมเเละวิจารณ์ต่อยอด ให้เกิดปัญญา
  • การเผยเเพร่ผลงานการละคร หรือผลงานการดำเนินงานกลุ่มตนเองสู่สาธารณชนด้วยการตัดต่อวิดิโอลง ยูทูป

        โดยธรรมดาในละครนั้นย่อมมีพื้นฐานทักษะเพื่อจะเร่ให้ผู้ชมให้ผู้ชมได้รู้สึกอย่ากเปลี่ยนเเปลงตนเอง เเต่กว่้าจะถึงขั้นนั้นเราต้องผ่านด่านอรหันต์เสียก่อน ค่ายนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการละคร ที่เป็นเพียงการปูพื้นฐานละครในเริ่มต้น หรือบันไดขั้นที่ 1 ซึ่งในขั้นต่อไปเราจะต้อง ซ้อม เเละเร่ เเล้วพาน้องๆถอดตนเอง เพราะในเป้าหมายเรานั้นหวังพัฒนาเยาวชน การพัฒนาเยาวชนเป็นเป้าหมายหลัก ในบทบาทพี่เลี้ยงนั้น เราต้องคอยให้คำถามกระตุ้นการคิด ให้กำลังใจ เเละมีคติคำคม เรียกใจหรือความคิดน้อง เป็นต้น 

        เเม่ว่ากระผมเองจะไม่ได้อยู่เข้าร่วมกับค่ายนี้ใน 2 วันเเรก นั้น จากผลในการ AAR ก็ได้เห็นการเติบโตที่เกิดขึ้นเล็กน้อยกับน้องๆที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยเห็นความกล้าเเสดงออกมากยิ่งขึ้น จากค่ายเเรกที่ไม่กล้าจับไมค์ มาค่ายนี้เริ่มที่การกล้าจับไมค์เเล้วพูด ถึงเเม้ว่าจะพูดเพียงประโยคสั้นๆ เเต่ก็เห็นทักษะความกล้าที่เกิดขึ้นในตัว เห็น Feedback ในเฟสบุ๊คที่สะท้อนกลับมาว่า "ผมมีความกล้ามากยิ่งขึ้น" เเล้วเห็นเสียงสะท้อนออกมาว่า "ค่ายหน้าจะสนุกอย่างนี้ไหมหนอ" เเสดงว่าเขาเริ่มมีการลุ้นติดตามในงานเราเเล้ว เเละมีความสนุกสนาน เเต่เราก็ไม่ควรที่จะลืมเป้าหมายที่อยากให้น้องเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

        เสียงจากคุณครู เห็นสิ่งที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้น คือ ในช่วงของละครนั้นเเละกระบวนการคิดนั้น พี่ไม่ควรเป็นนักตัดสินเเทนน้อง เเละไม่ควรเอาความคิดตนครอบงำความคิดน้อง เราต้องมองว่า น้องมีวุฒิภาวะในการเเรียนรู้ได้เพียงเท่านี้ ก็ให้เขาได้เท่านี้ เพราะการเเรียนรู้จะต้องคู่ไปกับกระบวนกการคิดของน้องที่เกิดขึ้น ในค่ายนี้จากการ AAR ผมก็เห็นทักษะในเเง่ของการพูดเป็นพิธีกรของ เกมส์ เเละป๊อป โดยเฉพาะเกมส์มราสามารถนำเพื่อน ทำกิจกรรม Check in ได้ที่มีความกล้ามากยิ่งขึ้น เเต่สิ่งที่ควรเสริมอยู่นิดนึง คือ การเว้นจังหวะในการพูด เเละการวางเเผนว่าในการ เช็ดอินนั้น เราจะพูดอะไรก่อนเเละหลัง เช่น เช้านี้รู้สึกอย่างไร เมื่อวานนี้มีกิจกรรมที่เราประทับใจอะไร เราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากกิจกรรมที่เราประทับใจนั้น ฯ

 

สิ่งที่ควรเสริมเข้าไปให้กับพี่เลี้ยงเพื่อพี่เลี้ยงจะไปเสริมน้อง ได้เเก่

  • ความเป็นตัวของตัวเอง โดยเน้นย้ำว่า เป็นงานของน้องเอง นี่เป็นงานของตนเรา ลองใส่สิ่งที่อราอยากให้เกิดขึ้นในละคร ลองใส่จินตนาการ ของเราลงไป งานที่ออกมาจะได้มีเรา เเล้วเราอยากถ่ายทอดออกไป โดยออกจากตัวของน้องเอง ทั้งจินตนาการ สมาธิ เเละความเชื่อ พี่จะรับบทบาทเป็น โค๊ช ที่คอยดูอยู่ใกล้ๆ ที่ในบางครั้งอาจช่วยน้องทำได้ ในหลายๆครั้งอาจพาน้องคิดด้วยหลักคิดที่ไม่ว่าจะเป็น ปศพพ. หรือหลักคิด 5 ภาพละคร หรือหลักคิด หลักทรงงาน ของในหลวง หรือหลักคิดเเง่หลักธรรมคำสอนเเต่จะไม่ทำเเทนน้อง น้องมีภาวะทางปัญหาที่สามารถเกิดได้เเค่นี้ เรายอมรับว่าน้องในตอนนี้มีภาวะทางปัญญาได้เท่านี้ ซึ่งเราก็ต้องคอยป้อนให้เขาเป็นระยะ ตามอายุของกล้าที่เจริญเติบโต
  • ความเชื่อมโยงในละคร โดยเสวริมน้องในเเง่ที่ว่า ละครเรานั้นมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร เช่น จากที่เกิดปัญหานี้ขึ้น เเล้วอะไรที่มันส่งผลต่อเรา ซึ่งอาจส่งผลออกมาเป็นทอดๆ เป็นสายตรรกกะยามๆจนส่งผลมาถึงเราก็เป็นได้ โดยอาจใช้คำว่า เรื่องนี้มันเกี่ยวอะไรกันอย่างไร กับเรา หรือกับปัญหาที่เกิดขึ้น(เชื่อมโยงในเเง่ของการฝึกการคิด) ในการเชื่อมโยงในเเง่ของการการเติมเต็มให้งานออกมาเป็นร้อน คือ การนำภูมิปัญญามาเป็นเส้นเรื่องที่ชัดเจนควบคู่กับปัญหาที่เราเลือกเเก้ไข โดยในการเชื่อมโยงสิ่งนี้นั้นเราเองต้องชวนน้องในการเลือกปัญญา 1 อย่าง ขึ้นเพื่อเพื่อเป็นเส้นเรื่องเเล้วค่อยเติมเเละสอดเเทรกปัญหาของเราเข้าไปให้ชัดเจน โดยไม่เป็นการยัดเยียดข้อมูลให้ผู้ชมเเต่ให้ผู้ชมรู้ได้้วยตนเอง เช่น ไม่บอกคำว่า ควันจากการเผาอ้อยเป็นอันตรายต่อปอด เเต่ให้เขารู้ได้ด้วยการกระทำหรือคำพูดอ้อมๆที่เราสื่อออกมา

.

.

.

.

.

หมายเลขบันทึก: 572243เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2014 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2014 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท