SEEN มหาสารคาม _๑๔ : ขับเคลื่อน ปศพพ. สู่โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์ (๔) ถอดบทเรียนเชื่อมโยง


บันทึกที่ ๑...
บันทึกที่ ๒...
บันทึกที่ ๓...

หลังจากเน้นให้ ทุกคนตระหนักถึง "พื้นฐาน" ของการขับเคลื่อน ปศพพ. คือ "พลัง ๕" และ สิ่งแรกที่ต้องคำนึกถึงในการขับเคลือนฯ คือ "รู้จักตนเอง" แล้ว ผมได้บรรยายเพื่อจะ เน้นย้ำว่า "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา" ที่เราจะนำมาใช้ในโรงเรียนนั้นควรมองเป็น "หลักคิด" คือ "หลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียง" โดยใช้วิธีการอธิบายที่ผมเขียนไว้ที่นี่ และเสนอเป้าหมายรายทางระหว่างนำ "หลักคิด" ไปใช้ ได้แก่ ใช้หลักคิด -> วิธีปฏิบัติ -> แนวปฏิบัติที่ดี -> หลักปฏบัติ -> ผลลัพธ์ที่ภูมิใจ -> ขยายผลสู่ผู้อื่น ซึ่งได้เขียนอธิบายไว้ที่นี่  ก่อนจะมอบหมายให้ ครูและนักเรียนแบ่งเป็นกลุ่มย่อย เพื่อ ระดมสมองใน ๒ ประเด็น ได้แก่

  • การนำ "หลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียง" ไปใช้ในโรงเรียน ตามบทบาทหน้าที่ของตน
  • การนำ "หลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียง" ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ก่อนจะใหัพักรับประทานอาหารเที่ยง แล้วนำกลับมานำเสนอในภาคบ่าย ผมพบว่า การสื่อสารของผมไม่ค่อยดีนัก เพราะมีคำถามมากมาย จึงปรับวิธีการโดยใช้การอธิบายในกลุ่มย่อยทีละกลุ่ม และปล่อยให้แต่กลุ่มมีอิสระ ในการะดมความคิด ผลกลับกลายเป็นดีมาก เพราะมีการนำเสนอที่หลากเรื่องหลายประเด็น  ต่อไปนี้เป็นประเด็นสำคัญๆ ที่ผมได้ให้ "ความเห็น" หรือ "คอมเมนต์" กับตัวแทนกลุ่มที่ได้ออกมานำเสนอ 

ถอดบทเรียนให้เชื่อมโยง

เท่าที่ผ่านมา วิธีการที่ถือว่า "เป็นแนวปฏิบัติที่ดี" ในการขับเคลื่อนฯ ให้ "เข้าใจ" หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การตีความเชื่อมโยงสิ่งที่ทำแล้วหรือกำลังจะทำ ให้เข้ากับ ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ๔ มิติ ตามกรอบคิดเศรษฐกิจพอเพียง (ผมจัดระดับบทบาทของการขับเคลื่อนฯ แบบนี้อยู่ในระดับ ๒ อ่านได้ที่นี่)  ดังภาพด้านล่าง

จากภาพ จะเห็นว่า

  • เป็นการตีความสิ่งที่ทำคือ ค่ายคณิตศาสตร์ ให้เข้ากับ "ทฤษฎี ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ๔ มิติ" เราเรียกในภาษาพูดของการขับเคลื่อนฯ ว่า ถอดบทเรียนแบบ "จับใส่กล่อง"  ประโยชน์คือ จะทำให้เกิดทักษะในการตีความ แยกแยะ วิเคราะห์  และเกิดความเข้าใจในหลัก ปศพพ. มากขึ้น 
  • เห็นตัวอย่างองค์ประกอบต่างๆ ของแต่ละห่วง แต่ละเงื่อน แต่ละมิติ แต่จะไม่เห็นวิธีการขั้นตอนในการปฏิบัติมากนัก  กล่าวคือ จะเห็นแต่ "หลักคิด" แต่ไม่เห็น "หลักปฏิบัติ" หรือ "แนวปฏิบัติ" ในการจัดค่ายคณิตศาสตร์  จะถอดบทเรียนกิจกรรมอะไร ผลจะได้คล้ายๆ กัน แยกไม่ออก  อย่างไรก็ตาม ผู้นำเสนอได้อธิบายขั้นตอนและวิธีโดยละเอียด 

ที่เห็นโดยทั่วไป การถอดบทเรียนในลักษณะเดียวกันนี้ จะใช้รูปหรือสีที่สวยงาม แต่ไม่ได้สื่อความหมายรูปนั้นกับข้อความ...  ผมเรียกการถอดบทเรียนแบบนี้ว่า "การถอดบทเรียนแบบดอกไม้"  ซึ่งสามารถแยกได้เป็นดอกไม้แต่ละดอกแยกกันดังรูป

ข้อ "คอมเมนต์" หรือ "ความเห็น" ของผมคือ  ลักษณะประการสำคัญของ "หลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียง" คือ ทั้ง ๓ ห่วง จะร้อยเรียงไม่แยกจากกัน ดังนั้นการถอดบทเรียนควรจะแสดงให้เห็นถึง "ความเชื่อมโยง" และในการถอดบทเรียนควรกระตุ้นให้นักเรียนคิดละเอียดถึงขั้นตอน วิธี หรือแนวปฏิบัติในการทำสิ่งนั้นๆ  ตัวอย่างเช่น การถอดบทเรียนลงใน "พวงผลไม้" ดังรูป

หากจะให้ดี หรือ หากทำได้ ควรท้าทายให้นักเรียนใช้ Mind Mapping แสดงความเชื่อมโยงของแต่ละองค์ประกอบของการทำงาน ว่ามีเชื่อมโยง ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ๔ มิติอย่างไร  หรืออาจใช้ "พวงองุ่น" ที่เชื่อมโยงกันหลายมิติ ฯลฯ

หมายเลขบันทึก: 571469เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2014 05:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กรกฎาคม 2014 05:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบพระคุณอาจารย์ ดร.ฤทธิไกร มากครับ  พรุ่งนี้  ผมประชุมประจำเดือน  จะนำข้อชี้แนะของอาจารย์เข้าไปพิจารณาในที่ประชุมครับ....

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท