เหตุใดจึงต้องเปิดหน้าต่างและปิดไฟห้องโดยสารขณะเครื่องบินขึ้นลง


การที่ผู้โดยสารและลูกเรือสามารถสังเกตุเห็นความผิดปกติและเป็นข้อมูลให้นักบิน ทำให้โอกาสในการตัดสินใจของนักบิน ที่สามารถตัดสินใจได้ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงมีสูงขึ้นอีกด้วย........ ........เป็นเหตุผลที่ สถาบันการฝึกอบรมผู้ช่วยนักบิน Flight Attendance จึงต้องเน้นการติดต่อสื่อสารระหว่างกันกับกับตัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีฉุกเฉิน ผู้ช่วยนักบินจะสามารถสังเกตุและรายงานความผิดปกติให้นักบินทราบได้ถูกต้อง ทำให้โอกาสในการตัดสินใจของนักบิน ที่สามารถตัดสินใจได้ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงมีสูงขึ้น...ปรบมือให้ขั้นตอนปฏิบัติที่ดีๆ(Best Practice)ตรงนี้....ความสวยงามของการที่ ภาครัฐและเอกชน ร่วมช่วยกันคุ้มครองผู้บริโภคก็คือ เพิ่มขั้นตอนปฏิบัติที่จะลดภาวะอันตรายลง อย่างขั้นตอนนี้มีผู้สูญเสีย 175 คนจึงได้เกิดสิ่งนี้ครับ

เหตุใดจึงต้องเปิดหน้าต่างและปิดไฟห้องโดยสารขณะเครื่องบินขึ้นลง

จากผลการวิเคราะห์การลดความเสี่ยงต่อกรณีศึกษาผลการสอบสวนรายงานอุบัติเหตุจากพาหนะรถไฟ จากรายงานสอบสวนอุบัติเหตุจากการขนส่ง NTSB (National Transportation Safety Board) คณะกรรมการความปลอดภัยในการขนส่งแห่งสหพันธรัฐอเมริกา ได้กำหนดให้มีมาตรการการปฏิบัติงานด้านการขนส่งรวมถึงการขนส่งด้านการบินที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น ในทั่วโลกให้ทุกสายการบินเพิ่มขั้นตอนการปฏิบัติ ในการเปิดม่านหน้าต่างและปิดไฟห้องโดยสารขณะเครื่องบินขึ้น-ลง ดังนี้

1.ทำให้หน่วยกู้ภัยที่อยู่ด้านนอก สามารถมองเห็นเหตุการณ์ภายในและสามารถประเมินสถาณการณ์และช่วยเหลือได้อย่างถูกวิธี

เคยเกิดกรณีศึกษาเรื่อง รถไฟในอเมริกาเกิดไฟไหม้ในขบวนโบกี้มีผู้โดยสารเสียชีวิตมากมาย แต่จากผลการสอบสวนผู้โดยสารรถไฟที่เสียชีวิตนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้เสียชีวิตจากถูกไฟไหม้ แต่เป็นการเสียชีวิตจากถูกน้ำเดือดลวกร่างกาย เหตุเพราะหน้าต่างรถไฟตู้โบกี้นั้นจำนวนมากถูกปิด พนักงานดับเพลิงกู้ภัย ไม่อาจเห็นเหตุการณ์ภายในตู้โบกี้รถไฟนั้น ทำให้ประเมินสถานการณ์และดำเนินการกู้ภัยผิดพลาด เป็นเหตุให้น้ำที่ฉีดเพื่อการดับเพลิงนั้นพุ่งไปถูกผู้โดยสารจำนวนมากภายในตู้โบกี้นั่นเอง

2. การที่ต้องปิดไฟข้างในเครื่องและเปิดหน้าต่าง เพื่อให้สายตาของผู้โดยสารปรับม่านตารูรับแสงให้ชินกับความมืด

คนเราจะมีระยะ dark adaptation ราว 30นาทีเผื่อกรณีฉุกเฉิน ผู้โดยสารและลูกเรือจะได้มองสิ่งต่างๆได้ดีขึ้นมนความมืด โดยเฉพาะเมื่อเกิดอุบัติเหตุจะได้สังเกตุสิ่งต่างๆและปฏิบัติสิ่งต่างๆเพื่อช่วยตัวเองและทำตามผู้ช่วยการบิน(Flight Attendance)ได้โดยที่มองเห็นได้ดีในความมืด และเหตุนี้จึงกำหนดกฎการบินให้นักบินที่จะทำการปฏิบัติการบินในเวลากลางคืน จะต้องนั่งอยู่ในห้องมืดๆก่อนบินอย่างน้อย 30 นาทีเพื่อให้สายตาถูกปรับให้มองเห็นในที่มืดได้ดีที่สุดครับ

3. เปิดหน้าต่างเพื่อให้ผู้ช่วยการบิน(Flight Attendance)หรือแอร์โฮสเตสช่วยสังเกตุว่ามีอะไรผิดปกติกับโครงสร้างหรือเครื่องยนต์ภายนอกเครื่องบิน

.........เป็นช่องทางการแจ้งความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ จากเคสที่เคยเกิดไฟไหม้เครื่องยนต์เครื่องบินB-737 รุ่นเก่าแอร์ใช้แรงขับจากเครื่องยนต์ขวา ต่อมารุ่นใหม่ขับจากทั้งสองข้าง เคสนั้นเครื่องยนต์ระเบิดและมีกลิ่นควันเข้ามาผ่านทางช่องแอร์ กัปตันเข้าใจผิดคิดว่าเครื่องยนต์ขวาไฟไหม้ จึงดับเครื่องยนต์นั้น ซึ่งความจริงคือ B-737 เป็นรุ่นใหม่ และเครื่องยนต์ซ้ายที่ไฟไหม้ ทำให้ไม่สามารถใช้กำลังของเครื่องขวาในการลงจอดในครั้งนั้น เป็นการเพิ่มโอกาสในการมองเห็นสิ่งผิดปกติภายนอกเครื่องบินได้แต่เนิ่นๆ ย่อมเป็นสิ่งที่ดี ทั้งๆที่เครื่องยนต์มีระบบการแจ้งเตือนความผิดปกติต่างๆ อยู่แล้วก็ตาม(ภายหลังการแสดงผลถูกแก้ไขให้เห็นชัดขึ้นใน B-737 แทนที่จะเป็น 3 dot และวางมาตรวัดการสั่นสะเทือน VIB:Vibration ในตำแหน่งต่ำ ) การที่ผู้โดยสารและลูกเรือสามารถสังเกตุเห็นความผิดปกติและเป็นข้อมูลให้นักบินประกอบด้วย ทำให้โอกาสในการตัดสินใจของนักบิน ที่สามารถตัดสินใจได้ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงมีสูงขึ้นอีกด้วย

.......การที่ผู้โดยสารและลูกเรือสามารถสังเกตุเห็นความผิดปกติและเป็นข้อมูลให้นักบินประกอบด้วย ทำให้โอกาสในการตัดสินใจของนักบิน ที่สามารถตัดสินใจได้ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงมีสูงขึ้น..... สถาบันการฝึกอบรมผู้ช่วยนักบิน Flight Attendance จึงต้องเน้นการติดต่อสื่อสารระหว่างกันกับกับตัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีฉุกเฉิน ผู้ช่วยนักบินจะสามารถสังเกตุและรายงานความผิดปกติให้นักบินทราบได้ถูกต้อง ทำให้โอกาสในการตัดสินใจของนักบิน ที่สามารถตัดสินใจได้ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงมีสูงขึ้น...ปรบมือให้ขั้นตอนปฏิบัติที่ดีๆ(Best Practice)ตรงนี้ครับ..ความสวยงามของการที่ ภาครัฐและเอกชน ร่วมช่วยกันคุ้มครองผู้บริโภคก็คือ เพิ่มขั้นตอนปฏิบัติที่จะลดภาวะอันตรายลง อย่างขั้นตอนนี้มีผู้สูญเสีย 175 คนจึงได้เกิดสิ่งนี้ครับ......

......ครับประเด็นสำคัญของเรื่องนี้อยู่ที่ การนำผลการสอบสวน วิเคราะห์ หาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ นำมาหามาตรการป้องกันที่จะทำให้เกิดภาวะอันตราย(unsafe condition) เป็นการลดสาเหตุลดปัจจัยการกระทำที่ทำให้เกิดภาวะอันตรายสูงขึ้น(unsafe act) ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาคนผิดหรือความผิดพลาดของคน แต่เน้นการก่อให้เกิดมาตรการ ข้อปฏิบัติที่ดีและปลอดภัย(Best Practice) ที่นำไปใช้แล้วความเสี่ยงอันตรายลดลง ระบุเพิ่มเติมขั้นตอนมาตรฐานการปฏิบัติงาน(SOP:Standard Operation Procedure) ทั้งนี้เพื่อให้การคมนาคมขนส่งเกิดความปลอดภัยสูงสุดครับ

หัวข้อที่ 3. มาจากคุณ : ฮันนิบาลที่รัก ขอบคุณครับ

วันที่ 20 ก.ค.2549

เรียบเรียงและขยายความ : โสตถิทัศน์ เอี่ยมลำเนา

วิศวกรไฟฟ้าชำนาญการ

คณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติงานตามคู่มือดำเนินงานสนามบิน

กรมการบินพลเรือน

23 มิ.ย. 2557

หมายเลขบันทึก: 570875เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2014 08:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กรกฎาคม 2016 12:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณค่ะ เป็นความรู้ใหม่ค่ะนั่งเครื่องบินมานานแล้วเพิ่งทราบค่ะ

...คือต้องการให้ผู้โดยสารช่วยเป็นหูเป็นตามองดูความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นบริเวณรอบๆตัวเครื่องนะคะ...แต่ส่วนใหญ่ชอบมองที่จอภาพ...เห็นทางรันเวย์ ...คอยลุ้นให้ล้อเครื่องบินแตะพื้นอย่างนุ่มนวลนะคะ

เวลาขึ้นเครื่องน่าจะมีเอกสาร คือ คำอธิบาย จะได้เรียนรู้ มากกว่า ดดน ดุ เวลา ไม่ได้ทำครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท