เรื่องดีที่ มวล. : นกแขกเต้า และนกหัวขวานหลังทอง


การที่พบเห็นนกหลายชนิดแสดงว่าสภาพแวดล้อมภายในเขตบ้านพักของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความอุดมสมบูรณ์ นกนานาชนิดจึงมาอยู่อาศัย จะเห็นนกตัวผู้ตัวเมียคู่กันเสมอ นกตัวผู้มีสีสันสดใสกว่าตัวเมีย

อ้างถึงบันทึกก่อนหน้านี้ ในที่สุดก็ค่อนข้างแน่ใจว่านกสีเขียวคล้ายนกแก้วคือนกแขกเต้า Red-breasted Parakeet เมื่อเย็นวันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน 2557 ได้คุยกับ ผศ.ดร.พิมผกา ฮาร์ดิง รศ.ดร.เดวิด เจมส์ ฮาร์ดิง เดินเล่นตามถนนในหมู่บ้านพร้อมลูกชาย อาจารย์พิมผกาเคยดูนกมาก่อน กลับไปเอาหนังสือภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนกที่บ้านมาเปิดดูรูปเทียบกับรูปที่ถ่ายไว้ได้ ก็เห็นตรงกัน ที่น่าแปลกใจคือทั้งข้อมูลในหนังสือและที่ค้นได้จากเว็บไซต์ บอกตรงกันว่าพื้นที่นี้ไม่ใช่ถิ่นของนกแขกเต้ากลุ่มนี้


นกแขกเต้า Red-breasted Parakeet ชอบเกาะที่ยอดไม้สูง


ส่วนนกที่มีหงอนสีสด ปีกสีน้ำตาลออกส้ม นั้น ในหนังสือบอกว่าเป็น นกหัวขวานหลังทอง อาจารย์พิมบอกว่าให้ดูที่นิ้วด้วยว่ามีสามนิ้วหรือสี่นิ้ว ดิฉันเลยเฝ้าคอยแต่จะถ่ายรูปนกตัวนี้ให้ได้ พอได้ยินเสียงร้องที่จำได้ว่าเป็นนกชนิดนี้อยู่ใกล้ๆ ก็จะพยายามย่องหามุมถ่ายรูป ทั้งจากระเบียงบ้านที่ชั้นสองและหน้าบ้านชั้นล่าง แต่นกก็รู้ตัวเร็วมาก บินหนีไปเสียทุกครั้ง

ดิฉันพบว่านกหลายชนิดมากินลูกปาล์มที่ต้นหน้าบ้านและเกาะที่ต้นชมพู่ใกล้ๆ จึงหาวิธีการใหม่คือเปิดประตูหน้าบ้านทิ้งไว้ให้พอมองเห็นต้นปาล์มและต้นชมพู่ นั่งทำงานไปด้วยซุ่มแอบดูไปด้วย ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ ได้รูปนกหัวขวานหลังทองครบทั้งตัวผู้ตัวเมีย และเห็นด้วยว่ามีนิ้วสามนิ้ว


นกหัวขวานหลังทองตัวผู้บนต้นชมพู่


กำลังกินลูกปาล์มกับเพื่อนนกอื่น เห็นนิ้วเท้าสามนิ้ว


นกหัวขวานหลังทองตัวเมีย 


ยังมีนกอื่นๆ อีก ที่ยังไม่รู้จัก ต้องค้นหากันต่อไป การที่พบเห็นนกหลายชนิดแสดงว่าสภาพแวดล้อมภายในเขตบ้านพักของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความอุดมสมบูรณ์ นกนานาชนิดจึงมาอยู่อาศัย จะเห็นนกตัวผู้ตัวเมียคู่กันเสมอ นกตัวผู้มีสีสันสดใสกว่าตัวเมีย

การเฝ้าดูนกเป็นความสุขอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้ฟังเสียงร้องจนจำได้แล้วว่าเป็นเสียงของนกอะไร


วัลลา ตันตโยทัย

วันที่  23 มิถุนายน 2557

หมายเลขบันทึก: 570871เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2014 07:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2014 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

<p>นกประเภทนี้..กำลังสูญพัน๊ธุ์ไปเรื่อยๆ..เพราะสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง</p>

มีหลายพันธุ์มากเลยครับ

ดีใจเจอนกแขกเต้า

ปกติหายากแล้วนะครับ

นกหัวขวานเป็น หัวขวานสามนิ้วหลังทองครับ ดูนิ้วยากครับต้องดูลายแถบดำที่หน้า

ขอบคุณอาจารย์ปิยะพงศ์ ช่วงนี้ฝูงนกแขกเต้ายังอยู่แถวบ้าน แต่ไม่ค่อยเห็นนกหัวขวานแล้ว

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท