ส่งงานอาจารย์ดร.ประกอบ


ไอทีการเรียนรู้
  จากอดีตสู่ปัจจุบันสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ IT (Information Thechnology)
ได้มีวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตามลำดับ ขณะนี้มีวิธีการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและซับซ้อนมากกว่ายุคใด ๆ ที่ผ่านมา ซึ่งต้องระดมสมองเพื่อที่จะให้เกิดการพัฒนาประเทศ เพื่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันในเวทีโลกประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมสำหรับภาคการศึกษา  หรือที่เรียกว่า เทคโนโลยีการศึกษา (Education Thechnology) ซึ่งเน้นการให้ความสะดวกในด้านการบริหารจัดการและให้เกิดความคล่องตัวต่อการ ดำเนินงานไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน จึงได้วางนโยบาย e-Thailand นโยบายของ e-Thailand คือ การส่งเสริมพัฒนาสังคม สิ่งที่ควรจะคำนึงถึงก็ คือ e-Education เป็นการให้การศึกษาแก่มนุษย์ให้มี ความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาเพื่อนำมาปรับใช้ในทุกส่วนงานในวงการศึกษาที่ทันสมัยโดยใช้ระบบไอที่ซึ่งมีการนำหลักการ 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ คือ
1. e-MIS
ด้านการบริหารงาน
เป็นการนำไปใช้ ด้านการบริหารงานและการจัดการศึกษา เน้นด้านการจัดพิมพ์เอกสาร ทำฐานข้อมูล การประมวลผล เพื่อจัดทำสารสนเทศทางการศึกษา สำหรับการประกอบการตัดสินใจของ ผู้บริหารในทุกระดับ
2. e-Learning
เป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งที่เป็นเครื่องเดียวเรียกว่า stand-alone หรือการเรียนผ่านเครือข่ายเชื่อมโยงสู่อินเตอร์เน็ต เพื่อการค้นคว้าหาข้อมูล แลกเปลี่ยนความรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งที่ผ่านมาเราใช้สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบของสื่อประสม (Multimedia) ใช้ในการนำเสนอลงบนแผ่นซีดี-รอมโดยใช้ Authoring Tool ทั้งภาพและเสียงเพื่อเกิดการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ให้กับผู้เรียน ยุคของ e-Learning สู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต
        e-Learning
เป็นการเรียนการสอนผ่านทางคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตการศึกษาที่นิยมกันมากในขณะนี้ คือ Web Base Learning การเรียนแบบนี้ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหนก็ได้ เวลาใด ก็ได้ไม่มีข้อจำกัด ผู้สอนเป็นผู้สร้างเนื้อหาวิชาโดยมีระบบบริหารจัดการรายวิชา (LMS : Learning Management System) ที่สามรถจัดการ ปรับปรุง ควบคุม สำรองข้อมูล สนับสนุนข้อมูล ติดต่อ สื่อสาร บันทึกสถิติผู้เรียน และตรวจคะแนนผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนและผู้สอน สามารถเรียกใช้เครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ผ่านเว็บโดยใช้โปรแกรม web browser มาตราฐานทั่วไป ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนมีลักษณะดังต่อไปนี้

1. การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education) เป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์เทคโนโลยีหลายๆ อย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประชุมทางไกลชนิดภาพและเสียง รวมถึงเอกสารต่างๆ เพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
 2.
แบบมหาวิทยาลัยออนไลน์ เรียกว่า Online University หรือ Virtual University เป็นระบบการเรียนการสอนที่อยู่บนเครือข่ายในรูปเว็บเพจ มีการสร้างกระดานถาม-ตอบ อิเล็กทรอนิกส์ (Web Board)
 3.
การเรียนการสอนผ่านทางอินเทอร์เน็ตและเว็บเพจ (Online Learning, Internet Web Base Education) เป็นการนำเสนอเนื้อหาและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยเน้นสื่อประสมหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน มีการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ประสานงานกัน ให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าถึงฐานข้อมูลหลายชนิดได้ โดยผู้เรียนต้องควบคุมจังหวะการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็น และเลือกเวลา สถานที่ในการเรียนรู้
 4.
โครงข่ายการเรียนการสอนแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning Network: ALN) เป็นการเรียนการสอนที่ต้องมีการติดตามผลระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การทดสอบบทเรียน เป็นตัวโต้ตอบ

เครื่องมือช่วยเหลือการเรียนการสอนแบบ e-Learning
        
เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต จะช่วยให้การเรียนการสอนแ     eLearning ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด เราสามารถนำซอฟแวร์ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนเว็บเพจ การส่งอีเมล การใช้ Search Engine Newsgroup การใช้ http, ftp หรือ โปรแกรมทางด้าน Authoring Tool เช่น FrontPage, Macromedia Dreamweaver เป็นต้น การสร้าง Web Board
        
สิ่งที่ควรคำนึงถึงการเรียนการสอนแบบ e-Learning ในบ้านเราก็คือ คน องค์ประกอบที่สำคัญที่ จะทำให้รูปแบบพัฒนาไปในทิศทางใด ประโยชน์ที่ได้รับ เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน โดยใช้สื่ออุปกรณ์ และคลังความรู้ที่มีอยู่บนอินเตอร์เน็ต เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของครูและนักเรียน ·         เกิดเครือข่ายความรู้ ที่สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมซึ่งกันและกันบนอินเตอร์เน็ต ข้อมูลจะมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ สะดวกและรวดเร็ว ·         ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สามารถสืบค้นวิชาความรู้ไดด้วยตนเอง โดยมีการให้คำปรึกษาและชี้แนะโดยครู/อาจารย์

·         ลดช่องว่างระหว่างการศึกษาในเมืองและชนบท สร้างความเท่าเทียมกันและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้เด็กชนบทได้รู้เท่าทัน เพื่อสนับสนุนนโยบายและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีการศึกษาและเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อความสอดคล้องและสนับสนุน การปฏิรูปการศึกษาตาม ... การศึกษาแห่งชาติ ..2542  

ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคต ·         สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนามหาวิทยาลัยโทรสนเทศ (Virtual University) เพื่อลดช่องว่างทางด้านคุณภาพการศึกษา (Quality Devide) ·         สร้างกลไกการให้มีส่วนร่วมของภาคเอกชนและองค์กรที่ไม่มุ่งหวังกำไรในการพัฒนามหาวิทยาลัยโทรสนเทศ

·         สนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อลดการนำเข้า  

·          จัดทำมาตรฐานและการรับรองคุณภาพ ให้ครอบคลุม 3 ระดับคือ คุณภาพและมาตรฐานของ หลักสูตร มาตรฐานของกระบวนการให้บริการการศึกษา คุณภาพของผลผลิตหรือตัวบัณฑิต ·         สนับสนุนและจัดทำโครงการเพื่อทำความเข้าใจกับประเด็นต่างๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาและ กลไกลการขยายผลในอนาคต   http://www.edu.msu.ac.th/edunew/doctor/techno/modules.php?name=News&file=popupnews&sid= 
หมายเลขบันทึก: 57058เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2006 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท