นวัตกรรมอุดมศึกษา (4) : ปัจฉิมเสวนา


ทำให้ผู้เข้าประชุมเข้าใจภาพรวมของการประชุมร่วม 3 สภา ตั้งแต่ครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน ได้เห็นพัฒนาการ ซึ่งท่านคงได้ออกแบบเอาไว้แล้ว ได้เข้าใจเรื่องต่างๆ ในการประชุมครั้งนี้ชัดเจนขึ้น

วันที่ 16 พฤษภาคม 2557 (ต่อ)

เวลา 12.00-13.30 น. เรารับประทานอาหารกลางวัน (Banquet) ณ ห้องแซฟไฟร์ 101-104 ฟังปัจฉิมเสวนาโดย ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ที่ทำให้ผู้เข้าประชุมเข้าใจภาพรวมของการประชุมร่วม 3 สภา ตั้งแต่ครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน ได้เห็นพัฒนาการ ซึ่งท่านคงได้ออกแบบเอาไว้แล้ว ได้เข้าใจเรื่องต่างๆ ในการประชุมครั้งนี้ชัดเจนขึ้น

ที่มาของการสัมมนา 3 สภามหาวิทยาลัยว่ามาจากกรอบแผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ที่กำหนดให้การกำกับและการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (Governance and Management) เป็นปัจจัยสำคัญของการขับเคลื่อนการพัฒนามหาวิทยาลัย จึงต้องปฏิรูปสภามหาวิทยาลัยให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ มติของสภาผูกพันกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่อำนาจเฉพาะตัวบุคคล ถ้าสภาเข้มแข็ง มหาวิทยาลัยจะเข้มแข็งด้วย ต้องเข้มแข็งทั้งสองฝ่าย ต้องปฏิรูปสภาให้เข้มแข็ง มหาวิทยาลัยจึงจะบรรลุพันธกิจ

สภามหาวิทยาลัยเป็นปฐมบทของการปฏิรูปอุดมศึกษา

ได้มีการจัดสัมมนา 3 สภาประจำปี โดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพหลัก ก่อนเปิดภาคการศึกษา เพื่อนำผลการปฏิรูปสภาของแต่ละแห่งมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มพูนสมรรถนะของกรรมการสภาและผู้บริหาร ทำข้อตกลงและวางแผนดำเนินการในปีต่อไป และยังเปิดโอกาสให้กรรมการสภาและผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยอื่นเข้าร่วมประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์ด้วย

การจัดการกับตัวเอง เอาออกจากกระดาษสู่การปฏิบัติ เริ่มจากการมีสำนักงานสภา เดิมเอาไปฝากไว้กับอธิการบดี เวลาออกออกหมด สภาจำเป็นต้องมีคนช่วยงาน บุคลากรไม่ต้องเยอะ แต่ต้องรู้งานของสภาและทำงานเป็นทีมเป็น

สมรรถนะการเป็นกรรมการสภาสำคัญ ส่วนใหญ่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมากกว่าคนใน คนเหล่านี้เก่งในเรื่องของตนเอง แต่จะรู้ในอุดมการณ์ของมหาวิทยาลัยหรือเปล่า จึงเป็นหน้าที่ของสภาในการพัฒนา

กรรมการสภามีความหมายเพราะ one man one vote กรรมการสภาสำคัญ มีจำนวนไม่มากไม่น้อย และอย่าไปซ้ำซ้อนกับฝ่ายบริหาร การทำงานต้องเปิดให้มีส่วนร่วม

การประชุมปีนี้เป็นปีที่ 5 เป็นปีแรกที่งดเว้นการปฏิรูปงานประจำและนำเรื่อง "นวัตกรรมอุดมศึกษา” มาเสวนาเชิงนโยบาย 

การปฏิรูปการประชุมสภาสำคัญมาก ต้องอาศัยการประชุมที่ดี การประชุมสภาที่มีประสิทธิภาพเป็นหัวใจสำคัญ เรื่องความมีอิสระ นายกสภาเป็นตัวการที่จะทำให้มีความอิสระหรือไม่ เอาผลมาคุยกันแล้วปฏิรูปให้ดีขึ้น จะเอาเรื่องเก่าๆ มาคุยกันไม่ได้แล้ว

นวัตกรรมที่ทำใน 3 สภาในช่วงที่ผ่านมาคือ

  • การเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย (Benchmarking of University Governance) ภาพใยแมงมุม ถ้าจะดีต้องเต็มหมด ต้องฝากให้สภาเอาไปพูดคุยกัน
  • การประเมินผลการดำเนินงานของสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดี
  • การเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) วัด (ด้วย Happinometer) ที่ไหนก็คล้ายๆ กัน คนไม่ happy เรื่องเงิน มีเงินแต่ใช้ไม่เป็น เครียด ต้องทำต่อ แล้วเอาไปคุยในสภา

นวัตกรรมอุดมศึกษาในประชาคมโลกที่เสนอคราวนี้

  • พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับชุมชน (University Community Engagement)
  • กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ทำด้วย business model ด้วยวิธีการที่แปลกใหม่ เอากำไรไปทำ social development เช่น Googwill Solution ของ Northampton ที่ช่วยคนคุก ช่วยแก้ปัญหาสังคม ไม่ได้มุ่งว่าทุกมหาวิทยาลัยจะต้องทำ... เป็นสิ่งที่ท้าทาย ต้องการนโยบายและการสนับสนุนจากสภา
  • มาตรฐานวิชาชีพเพื่อการสอนและการสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของประเทศสหราชอาณาจักร (UKPSF for Quality Teaching and Support of Learning) ชม รศ.ดร.ประภาศรี อัศวกุล ว่าถ่ายทอดความในใจของ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ได้ดี มทส.เคร่งครัดเรื่องนี้ ถ้าได้อาจารย์เก่ง มหาวิทยาลัยก็เก่ง productivity ของมหาวิทยาลัยเกิดจากอาจารย์เก่ง เป็นเรื่องที่ใกล้หัวใจ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ตำแหน่งทางวิชาการเอียงไปทางการสร้างความรู้และการเอาความรู้ไปเผยแพร่ อยากเห็นการเรียนการสอนเปลี่ยนไป… ชื่นชมเป็นพิเศษกับ Dr.Craig

ปีนี้ต่างจากการประชุมปีที่แล้วที่เปิดให้คนของมหาวิทยาลัยอื่นเข้าร่วมได้ เป็นการขยายจากที่ประชุม 3 สภา ขอแสดงความขอบคุณ มทส. เจ้าภาพหลัก มวล. และ มรท. เจ้าภาพร่วม วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภายในประเทศและจากต่างประเทศ

ต่อจากนั้นมีพิธีส่งมอบการเป็นเจ้าภาพในปีถัดไปให้กับอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ช่วงบ่ายเป็นการประชุมแยกห้องของแต่ละสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารสามารถเข้ารับฟังการประชุมได้

วัลลา ตันตโยทัย

บันทึกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2557

หมายเลขบันทึก: 570455เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2014 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2014 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท