แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สู่การพัฒนา ปีการศึกษา ๒๕๕๗ : Lesson study ที่คลองใหญ่


วันนี้  ผมได้ไปประชุมพัฒนาครูคณิตศาสตร์  โรงเรียนในอำเภอคลองใหญ่  ทั้งหมด ๕  โรงเรียนด้วยหลักการ Lesson study 

    เกริ่นนำด้วย โครงการต่อเนื่องจาก การพัฒนาครูด้วย Coaching &  Mentoring ซึ่งสืบเนื่องมาจากปีที่แล้ว   




 ประเด็นหลักของโครงการดังกล่าว อยู่ที่การพัฒนาครูด้วย Lesson  study



         โดยจะเน้นการสอนคณิตศาสตร์  แบบ Active learning  เพื่อให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์  จากหลักการของสามเหลี่ยมแหงการเรียนรู้ ซึ่งที่ผ่านมา  ก็มักจะสอนแบบ Passive learning  นั่นคือ  ครูสาธิต  หรือ ครูอธิบาย  ซึ่งเด็กจะเรียนรู้น้อยมาก เรียนรู้จากการจำ   เปลี่ยนเป็น Active learning ใหเผู้เรียนปฏิบัติจริงด้วยตนเอง  และ ค้นพบคำตอบจากการปฏิบัติจริง   เด็กจะเรียนรู้ได้  ร้อยละ ๙๐   เรียนรู้จากการคิดวิเคราห์  

    วันนี้  ทดลองให้คุณครูนั่งกับพื้นล้อมวง  โดยไม่มีโต๊ะ มีเก้าอี้   โดยบอกว่า  ใครที่ไม่ถนัด  จะนั่งเก้าอี้ก็ได้   แต่ก็ไม่มีใครนั่งเก้าอี้   ก็เชิญคุณครูคณิตศาสตร์ ทั้ง ๕  โรงเรียน   ตั้งแต่ ป.๑ - ม.๓  มานำเสนอแผนการจัดการเรียนรู้  คนละ ๑  แผน



   ผมเองก็เป็นหนึ่งในสมาชิก  ของผู้วิพากษ์แผน   โดยให้ทุกคน ช่วยกันวิพากษ์แผนก่อนสอน


     บรรยากาศการวิพากษ์แผนก่อนสอน  ส่วนใหญ่จะเป็นผมที่เป็นคนวิพากษ์  ส่วนคุณครูวิพากษ์แผนกันเอง  ก็มีบ้างเล็กน้อย   เนื่องจากอาจจะเป็นเพราะว่า  มาจากต่างโรงเรียนกัน  อาจจะเกรงใจกัน  อีกทั้ง เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องใหม่   เรื่องการวิพากษ์แผนก่อนสอน  ยังไม่คุ้นเคย   และ   ผมก็ใช้เวลาทั้งหมดเพียงครึ่งวัน  เวลาอาจจะรวบรัดไป  อาจจะยังปรับตัวกันไม่ทัน


     แต่แค่ระยะเวลาเพียงสั้นๅ แค่ สามชั่วโมง  ก็ได้แนวคิดและหลักการดีๆ ของคุณครู  มาเผยแพร่ในที่ประชุม ให้แต่ละท่านได้นำไปใช้    และ  ผมเองก็ได้ทราบว่า  คุณครูท่านใด  สอนแบบ  Passive learning    คุณครูท่านใด สอนแบบ  Active learning    ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาครูในโอกาสต่อไป


      พบว่า   คุณครูที่สอนแบบ  Active  learning    อย่างมีความรู้ความเข้าใจ  มีประมาณ  ร้อยละ ๒๐  ซึ่งจำนวนนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่มาจากการที่ผมได้ให้หลักการไปในคราวที่ผ่านมา  ในเรื่องของการสอนแบบ "ค้นพบ"  ให้ผู้เรนียนค้นพบความรู้ด้วยตัวเอง      อีกร้อยละ ๖๐   พร้อมที่จะเปลี่ยนมาสอนแบบ Active learning  แต่ยังไม่ทราบแยงทางที่ชัดเจนง่าจะไปอย่างไร ทำอย่างไร    และ   อีก  ร้อยละ ๒๐  ยังไม่สามารถที่จะสอนแบบ Active learning ได้   โดยมักจะอ้างปัญหาต่างๆ  เช่น   ๑.  ไม่มีเวลา  ต้องทำงานอื่น    ๒.  เด็กเป็นเด็กอ่อน    ๓.  เป็นเด็กที่มีปัญหาทางบ้าน

 

      ก็คงจะไปพัฒนาในส่วน ร้อยละ ๖๐  ก่อน


      ขั้นตอนต่อไป  จะเป็นขั้น "สังเกตการสอนในชั้นเรียน"

คำสำคัญ (Tags): #lesson study
หมายเลขบันทึก: 570377เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2014 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2014 07:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คนไทยไม่ค่อยชอบวิพากษืกันนะครับ

ความจริงถ้าวิพากษ์ดีๆจะได้เห็นประเด็นของการพัฒนา

ชอบใจการเรียนรู้แบบ Active learning 

อันนี้เป็นข้ออ้างของครูหลายๆที่เช่นกัน

๑. ไม่มีเวลา ต้องทำงานอื่น ๒. เด็กเป็นเด็กอ่อน ๓. เป็นเด็กที่มีปัญหาทางบ้าน

สู้ๆครับ  เอาใจช่วย

ตามมาอ่าน ค่ะ  การเป็นคุณครู  ต้องมีแรงจูงใจ  ความมุ่งมั่นนะคะ  อาชีพอะไรๆ  ก็มีปัญหา  นะคะ   ผู้นำสำคัญมากๆๆ  ต่อการพัฒนาในเรื่องต่างๆๆ  นะคะ   ขอบคุณค่ะ

อ.ขจิต ครับ ขอบคุณมากครับที่มาให้กำลังใจ

             เรื่องการวิพากษ์แผนการสอน วิพากษ์การสอน  เป็นเรื่องใหม่สำหรับคุณครูที่นี่เลยครับ   คงจะต้องเขามาทำบ่อยๆ และต่อเนื่องเท่าที่จะพอมีเวลาครับ

             เรื่องของการบ่น  ก็มีทุกที่ครับ ต้องทำงานอื่น  เด็กอ่อน

                                           ขอบคุณครับ

ขอบคุณมาครับ ท่าน Dr.Ple ที่มาให้กำลังใจ

                      ถูกต้องครับ อาชีพอะไรก็มีปัญหาหมด  การมานิเทศกำกับติดตามดูแล  ก็พอได้ช่วยให้ปัญหาเบาบางลงไปบ้าง      

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท