กิจกรรมบำบัดศึกษากับการสอนนศ.ฝึกคลินิก


กราบขอบพระคุณศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ. วราวุธ สุมาวงศ์ ที่ได้ส่องแสงและจุดประกายกระบวนทัศน์และกลยุทธิ์ในการพัฒนาทักษะกาสอนนศ.ขณะฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกกิจกรรมบำบัด

    เนื้อหาที่ท่านอาจารย์วราวุธสอนดร.ป๊อปในวันนี้มีหลายประเด็นที่ผมได้เคยร่ำเรียนผ่าน NLP และขอนำมาบันทึกให้กัลยาณมิตรได้เรียนรู้โดยทั่วกันแบบสรุปดังนี้:-

    1. ความรู้ที่ได้จากการสอนทางคลินิกกับผู้รับบริการมิอาจทดแทนได้ด้วยการสอนแบบอื่นๆ จึงต้องหล่อหลอมความเคารพในสิทธิและความรู้สึกของผู้รับบริการ เช่น ไม่ใช้เวลาสอนกับผู้รับบริการเกิน 25 นาที มีการพูดคุยเตรียมผู้รับบริการ (ขออนุญาต ถามความสมัครใจ แจ้งให้อย่าสนใจหรือมีสิทธิปฏิเสธถ้านศ.ให้ความเห็นที่ต่างจากอาจารย์) มีการซักซ้อมนศ.ก่อนพบผู้รับบริการ 5 นาที ถ้ามีประเด็นที่นศ.ไม่เข้าใจมากๆ ให้พูดคุยกับนศ.ไม่ต่อหน้าผู้รับบริการ ไม่เน้นบรรยายข้างผู้รับบริการ ให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้รับบริการ (พระเอก/นางเอก) กับนศ.กับอจ.แบบธรรมชาติ ฯลฯ

    2. การสอนทางคลินิกที่มีเวลาจำกัดและต้องบูรณาการร่วมกับการให้บริการทางคลินิก จะใช้ย้ำความรู้ที่เคยเรียนมาแล้ว ใช้ตรวจสอบนศ. เน้นประเด็นสำคัญ และถามด้วยใจเมตตา ที่สำคัญต้องหล่อหลอมการให้เหตุผลทางคลินิกและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้สัมผัสหัวใจของผู้รับบริการ เช่น จับชีพจรและให้กำลังใจ โดยผู้สอนเป็นต้นแบบให้ผู้เรียนกลุ่มเล็กๆ ที่มีสมุดจดและปฏิบัติบ้างเล็กน้อย

    3. การพัฒนาผู้สอนถึง 50% คือ การให้ความรู้ 25% และการพัฒนาทักษะชีวิตของนศ.ตามนโยบายคณะ/มหาวิทยาลัยอีก 25% แต่อีก 50% ที่เหลือคือการเป็นผู้ให้ข้อมูลให้นศ.เกิดการใคร่ครวญการปฏิบัติ การฝึกใจที่กว้างโดยรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเพื่อการพัฒนาตนเอง (Feedback) รวมทั้งผู้สอนได้หล่อหลอมความเป็นมนุษยชาติที่ดีในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต อย่างไรก็ตามผู้สอนควรระบุพฤติกรรมที่นศ.ต้องพัฒนาทีละเรื่อง พร้อมใช้ความคิดเห็นที่เป็นบวก-ลบ-บวก (Sandwich Feedback) ในสัดส่วนที่เหมาะสมและเป็นเรื่องที่ผู้สอนเห็น-ได้ยิน-สัมผัสเองจริงๆ โดยระวังภาษากายที่ไม่รีบร้อน ไม่ใช้อารมณ์ และไม่ทำขณะมีงานยุ่ง จะทำให้นศ.แปลเจตนาผิดได้

    4. ผู้สอนควรฝึกทักษะการตั้งคำถามในกรณีมีนศ.มาขอรับคำปรึกษาขณะทำการสอนทางคลินิกด้วยเทคนิค One-minute Preceptor หรือจุลทักษะ 5 ประการคือ

    • M (Make Commitment) การตั้งคำถามเพื่อทดสอบการตัดสินใจ (ตอบสรุปความรู้) ของนศ. ซึ่งถูกหรือผิดก็ได้
    • E (Explore Reasoning) การตั้งคำถามเพื่อทดสอบการให้เหตุผลทางคลินิกของนศ.
    • T (Teach General Rule) การเลือกหลักการสำคัญมาสอนนศ.
    • R (Reinforce What Was Done Right) การให้ข้อมูลโดยระบุชื่นชมการปฏิบัติทางคลินิกที่ดีของนศ.
    • C (Correct Mistake) การให้ข้อมูลโดยระบุการปฏิบัติทางคลินิกที่ควรปรับปรุงของนศ.

    5. ผู้สอนแนะนำให้นศ.รายงานข้อมูลผู้รับบริการแบบ SBAR ซึ่งดร.ป๊อปก็เพิ่มข้อมูลตามกรอบการทำงานกิจกรรมบำบัดสากล คือ

    • S (Situation) การรายงานข้อมูลการส่งต่อ/การส่งปรึกษา/การเข้ามารับบริการทางกิจกรรมบำบัด มีการแจ้งนามสมมติของผู้รับบริการ และความต้องการที่แท้จริงต่อการพัฒนาขอบเขตกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการ
    • B (Background) การรายงานประวัติสำคัญทางการแพทย์ของผู้รับบริการ เช่น การวินิจฉัยโรค อาการของโรค ผลกระทบของโรคต่อหน้าที่/ระบบต่างๆ ของร่างกาย ข้อควรระวัง ฯลฯ
    • A (Assessment) การรายงานผลการประเมินทางการแพทย์และกิจกรรมบำบัดที่สำคัญเป็นแฟ้มกิจกรรมการดำเนินชีวิตรายบุคคล ได้แก่:-
      • คุณค่า ความเชื่อ ประสบการณ์ (ความหมาย/เป้าหมาย)
      • โครงสร้างร่างกาย (กายวิภาคศาสตร์) เป็นไปตามหน้าที่ร่างกาย
      • หน้าที่ร่างกาย (สรีรวิทยา) ประกอบด้วย 1.จิต (อารมณ์ ความรู้ความเข้าใจการรับรู้) 2. การรับความรู้สึก 3. ประสาทกล้ามเนื้อ/การเคลื่อนไหว 4. หัวใจ หลอดเลือด เลือด ภูมิคุ้มกัน และหายใจ 5. เสียง สื่อสาร ย่อยอาหาร ต่อมไร้ท่อ ขับถ่าย และสืบพันธุ์ และ 6. ผิวหนัง
    • R (Recommendation) การรายงานผลการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดด้วยเหตุผลทางคลินิกเชิงวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ความจริง-หลักฐานเชิงประจักษ์ กระบวนการ เงื่อนไข และการวิเคาะห์กิจกรรมบำบัด) โดยเน้นการเชื่อมโยงขอบเขตและกระบวนการ ประกอบด้วย
      • ทักษะการเคลื่อนไหว: พฤติกรรมของคนในการเคลื่อนย้ายวัตถุและตัวเองรอบๆสิ่งแวดล้อมที่ทำงานแต่ละอย่าง - หลักชีวกลศาสตร์
      • ทักษะกระบวนการ: เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ การกระทำในแต่ละขั้นตอน และการปรับตัวแก้ไขปัญหา - หลักการยศาสตร์
      • ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม: การแลกเปลี่ยนทางสังคมขณะทำกิจกรรมใดๆ (ภาษากายกับภาษาพูด)-หลักพฤติกรรมศาสตร์
      • รูปแบบนิสัย สัญลักษณ์ความเชื่อ/จิตวิญญาณ การกระทำซ้ำๆ และการแสดงบทบาท
      • บริบททางวัฒนธรรม บุคคล ประสบการณ์ชีวิต และการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
      • สิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคม
    • ทั้งนี้สื่อการรักษาทางกิจกรรมบำบัดที่ใช้ในกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดสากล...นักกิจกรรมบำบัดพึงฝึกฝนทักษะเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่:-

      ก. การฝึกบุคลิกภาพและการสื่อสาร (ภาษากายและภาษาพูด) ให้พร้อมใช้ตัวเราเป็นผู้บำบัด (Therapeutic Use of Self)

      ข. การฝึกทักษะการแสดงความมีเมตตาธรรม (Empathy Skills)

      ค. การฝึกสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้รับบริการ ครอบครัว และผู้ดูแล ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการและ/หรือการให้คำปรึกษาและการจัดกลุ่มในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดกลุ่มสุขภาพจิตศึกษา (ให้ความรู้แก้ไขปัญหา) การจัดกลุ่มสนับสนุนให้กำลังใจ การจัดกลุ่มกิจกรรมพลวัติเพิ่มทักษะทางสังคม การจัดกลุ่มเพิ่มทักษะการจัดการระดับความรู้ความเข้าใจ การจัดกลุ่มเพิ่มระดับการฟื้นคืนสุขภาวะหรือการฟื้นพลังชีวิต ฯลฯ

      ง. การฝึกเลือกกรอบอ้่างอิงทางกิจกรรมบำบัด (ประมาณ 20 กรอบอ้างอิงๆ ละ 10 เทคนิค ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ตามประสบการณ์ทางคลินิก) รวมทั้งการวิเคราะห์กิจกรรมและกิจกรรมการดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุผลทางคลินิกและตามความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการ กับการเตรียมความพร้อมด้วยการออกแบบวัสดุดามและอุปกรณ์เครื่องช่วยในกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมกับบริบท-สิ่งแวดล้อมของผู้รับบริการ

      จ. การทบทวนแผนการให้บริการและความก้าวหน้า: ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนโปรแกรม

      และการให้บริการในสิ่งแวดล้อมใด (คลินิก บ้าน รร. ที่ทำงาน ฯลฯ)

      ฉ. การประเมินผลลัพธ์ของการให้บริการ (OUTCOMES): ภาพลักษณ์ ความเชื่อมั่น ความหวัง ความพึงพอใจในการบรรลุเป้าหมาย ความสนุกสนานในการเล่น ความสุขการให้คุณค่าในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ความมั่นใจในความสามารถของตนเองการฟื้นคืนชีวิตกลับมาที่เดิม การสร้างเครือข่ายทางสังคม รายได้จากการทำงาน และความยุติธรรมทางสังคม

หมายเลขบันทึก: 570372เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2014 18:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2014 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

พี่สนใจเรื่องการทำงานที่มี "เป้าหมาย" ชัดเจน และ ทำอะไรก็ตาม ต้องตอบได้ว่า ทำเพื่อเป้าหมายอะไร  ประเมินเป็น และทบทวนวิธีทำงานอยู่เสมอ

พี่ว่าเป็นกระบวนการคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างยิ่ง  เรายังขาดวิธีคิดแบบนี้นะคะ และสภาพแวดล้อมองค์กรเราก็เอื้อให้คนทำงานคิดเป็นระบบน้อยมากจริงๆ 

เป็น แนวทางสู่การปฏิบัติที่ดีนะคะ   ขอบคุณ ข้อมูลดีดีนี้ค่ะ

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับพี่ nui ที่การเพิ่มกระบวนการรู้คิดและปัญญาผ่านวิธีการค้นหาเป้าหมายในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ขอบพระคุณมากครับ

ขอบพระคุณมากครับพี่ดร.เปิ้นที่ให้กำลังใจงานกิจกรรมบำบัดบริการและงานกิจกรรมบำบัดศึกษาเสมอมาครับผม

ขอบพระคุณมากๆครับสำหรับกำลังใจจากคุณบุษยมาศ

สวัสดีค่ะ น้อง ดร.ป๊อป 

สบายดีนะคะ

ทุกบันทึกเต็มไปด้วยความรู้ที่น่าติดตามนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากๆครับคุณ Bright Lily ผมสบายดีครับ และยินดีอย่างยิ่งที่ติดตามบันทึกกิจกรรมบำบัดชีวิตครับผม

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท