กิจกรรมบำบัดศึกษา - การฝึกบันทึกผู้รับบริการ


ขอขอบพระคุณกรณีศึกษาทั้ง 3 รายที่เพิ่มความรู้ความเข้าใจในการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดและการจัดระบบกิจกรรมบำบัดศึกษา...การบันทึกแบบ SOAP Note (Subjective, Objective, Assessment, Plan/Progression/Program)

กรณีศึกษาฝ่ายผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายในรร.การจัดการความสุข คลินิกกิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล

S: วัยทำงานชายชาวอังกฤษ (55 ปี) มีภาวะวิตกกังวลปานกลาง ต้องการพัฒนาทักษะการทำงาน หลังจากตกจากที่สูงและผ่าตัดคอกับหลัง มีอาการเจ็บขณะเดิน ปลายเท้าชา นอนไม่หลับเพราะปวดหลัง

O: pt. มีอาการอ่อนแรงที่ขาขวามากกว่าขาซ้าย (4- & 5), ยืนทรงตัวบนบอร์ดได้นาน 5 นาที, pain scale 6/10

A: Poor endurance & Fair Balance & Hypersensitive Pain & Tactile @ both hands & feet (Physical & Psychosocial Rehabilitation FoR)

P: Psychoeducation & Psychosupport (Pain & Tactile Pathway related Circulation) + Balance training + Progressive Muscle Relaxation ทำให้ยืนทรงตัวบนบอร์ดได้นาน 15 นาที ให้ Home Programs (Single leg exercise + Proprioceptive Stimulation + Lower Limb Movementin supine– Isotonic + Meditation/Breathing), pain scale 2/10 – Self-efficacy 8/10& Happiness 9/10

กรณีศึกษาฝ่ายผู้ที่มีความบกพร่องทางจิตสังคมในรร.การจัดการความสุข คลินิกกิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล

S: วัยรุ่นหญิง (15 ปี) มีภาวะซึมเศร้า ผู้ปกครองต้องการพัฒนาทักษะการเข้าสังคมให้ความร่วมมือเล็กน้อย มีร้องไห้นาน 5 นาทีเมื่อถามถึงความต้องการมีเพื่อน ผู้ปกครองให้ข้อมูลว่า pt. คิดถึงอดีตที่แอบชอบเพื่อนหน้าตาดี

O: pt. สำรวจและอยากเล่นเกมส์ แต่ต้องกระตุ้น 1-2 ครั้งในการสื่อสารขณะทำกิจกรรม ไม่อยากวาดรูปแปรผลทางจิต และต้องพัฒนาความรู้ความเข้าใจ

A: Poor self-esteem & Poor Cognitive Level @ 2nd (Manipulative) (Psychosocial FoR)

P: Psychoeducation + Passive Leisure Games + ทักทาย OT 2 ท่าน @ Clinical Env. + นัดหมายมาประเมินเพิ่มเติมและวิเคราะห์กิจกรรมที่สนใจจริงๆ ยังคงต้องสร้างสัมพันธภาพและกระตุ้นการสื่อสาร – Self-efficacy ผู้ปกครอง 4/10 & Happiness ผู้ปกครอง 3/10

กรณีศึกษาฝ่ายผู้ที่มีความบกพร่องทางการพัฒนาเด็กในรร.การจัดการความสุข คลินิกกิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล

S: เด็กชาย (5 ปี) สายตาเลือนราง (Visual field 6 mm. Rt. & 11 mm. Lt.) ผู้ปกครองต้องการพัฒนาทักษะการศึกษา (Home School + OT)

O: Short attention span (3 min) ในการเล่นต่อรูปทรงบนโต๊ะ (ของเล่นที่ไม่คุ้นเคยที่คลินิก) และ Fair Balance + ต้องการเรียนรู้จากสัมผัสกับการทรงตัว ในการสังเกตเปรียบเทียบการเล่นในห้อง Multisensory กับในห้องแสงปกติ

A: Imbalance tactile-vestibular sensitivity (NeuroDevelopment FoR)

P: Tactile Education + Balance Training @ Home Env. + นัดหมายวิเคราะห์กิจกรรม Visual Perception จากรูปถ่ายของเล่นในและนอกบ้านติดตามผล Graphesthesia ในวันนี้ให้คุณแม่เล่นบอร์ดสัมผัส + ทรงตัว + ผ่อนคลายในอ่างบอล + การกอดเงียบ (15 นาที * 2 รอบ) เด็กมี attention span ดีขึ้น (6 min) ในการเล่นต่อรูปทรงบนโต๊ะ (ของเล่นที่ไม่คุ้นเคยที่คลินิก) – Self-efficacy ผู้ปกครอง 9/10 & Happiness ผู้ปกครอง 10/10

หมายเลขบันทึก: 570374เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2014 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2014 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ถ้าย้อนเวลาได้ พี่สนใจมาเป็นลูกศิษย์อาจารย์นะ  อิ..อิ..

ผู้ป่วยและญาติ   ต้องการกำลังใจจาก  ผู้ให้บริการ (พวกเรา)  มากๆๆนะคะ  ขอบคุณค่ะ

ขอบพระคุณมากครับพี่ nui พี่ดร.เปิ้น และคุณบุษยมาศ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท