การเหยียดผิวสี...............การนิรโทษกรรมอย่างมีเงื่อนไข


เนสัล ได้สร้างความกล้าหาญให้เกิดกับประชากรของตน กล้าที่จะยอมรับผิด ยอมที่จะเปิดใจในความขุ่นเคือง คับข้องใจต่อกัน กล้าที่จะรับฟัง รับรู้ และเข้าใจฝ่ายตรงข้าม กล้าที่จะยกโทษให้กับบุคคล ที่ต่างขั้วกันจนเหมือนศัตรูถาวรเหล่านั้น

   เป็นการยากมาก ที่เมื่อพูดว่าความสมานฉันท์ และสันติสุข ต้องเริ่มต้นด้วยการไม่ถือโทษกัน ให้อภัยกัน หรือจะเรียกให้ฟังดูยิ่งใหญ่ คือการนิรโทษกรรม แต่เชื่อหรือไม่ว่า ท่านประธานาธิษดี เนสัล แมเดล่า แห่งแอฟริการใต้ ได้นำกระบวนการนิรโทษกรรมมาใช้ เพื่อให้คนทั้งประเทศ กลับหันหน้าเข้าหากันและอยู่ร่วมกัน อย่างสิ้นความหวาดระแวงและเครียดแค้นชิงชังกันตราบเท่าทุกวันนี้ ได้สำเร็จอย่างน่ายกย่อง

  เนสัล แมเดล่า เป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของแอฟริกา และเป็นเพียงสมัยเดียว คือตั้งแต่ พ.ศ 2537-2542 แต่ในระยะเวลาเพียงห้าปี เขาได้ปลดโซ่ตรวนในหัวใจของคนผิวขาวและผิวดำได้อย่า


                                                     ( ภาพจาก Internet )

  การที่คนพื้นเมืองของแอฟริกา ต้องผจญกับการรุกรานและถูกปกครองอย่างไร้เกียรติ ของชนผิวขาว ยาวนานถึง 350 ปี จนเนสัล แมเดล่า ได้ขึ้นมาปกครองประเทศนั้น ก็ยังไม่ได้ทำให้ทั้งสองฝ่าย ลืมความอัปยศคับแค้นใจต่อกันได้ การถูกฆ่า เป็นความสูญเสียของเผ่าพันธฺ์ การข่มเหงเหยียดหยาม สร้างความชิงชังที่ฝังลึกในสายเลือดกันมายาวนาน แต่ทั้งสองฝ่าย ก็ต้องอาศัยอยู่ในผืนแผ่นดินเดียวกัน

   ด้วยความสุดยอดของผู้นำเช่น เนสัล เขาจึงเฝ้ามองและครุ่นคิดถึงวิธีการ ที่จะทำให้คนผิวขาว ผิวดำ หมดความบาดหมางกัน ที่สุดเขาก็ได้กระทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด แม้จะทำได้ยาก แต่ก็ทำสำเร็จจนได้ นั่นคือการนิรโทษกรรมทั้งสองฝ่าย

  โดยการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งที่มีความเที่ยงตรงยุติธรรม เพื่อสอบสวนผู้ที่ต้องการจะได้รับการนิรโทษกรรม แต่มีข้อแม้ว่า บุคคลนั้น ต้องสารภาพ ทั้งเหตุผล การกระทำ และยอมรับความผิดพลาดที่ได้กระทำไปแล้ว เรียกแนวทางนี้ว่า การตามหาความจริง เมื่อต่างก็มาเข้ากระบวนการนิรโทษกรรม ข้อมูลความเป็นจริงทั้งหลายก็ปรากฏขึ้น ทำให้เห็นความเป็นมาของปัญหา ที่หมักหมมกันมาช้านาน อีกทั้งผู้ที่ได้สารภาพเรื่องทั้งหมด ก็เหมือนการสารภาพบาป เกิดความโล่งใจ ส่วนบุคคลที่เคยได้รับการถูกกระทำความรุนแรงเหล่านั้น ก็เกิดสปิริต ด้วยเห็นถึงความสำนึก และยอมรับผิดของฝ่ายตรงข้ามอย่างจริงใจ ก็เกิดการอภัยและก็รู้สึกปลอดโปร่งไปด้วยเช่นกัน

                                                             ( ภาพจากInternet-วันชัย ตัน )

  การนิรโทษกรรม จึงเปรียบเสมือนการเริ่มต้นกันใหม่ของทุกคนในสังคมเดียวกัน ให้ยอมรับว่า ไม่มีใครเลว หรือดี แต่อย่างเดียว การนิรโทษกรรม เป็นยิ่งกว่าการให้อภัยโทษ เพราะนิรโทษ คือไม่มีความผิดเลย

  เนสัล ได้สร้างความกล้าหาญให้เกิดกับประชากรของตน กล้าที่จะยอมรับผิด ยอมที่จะเปิดใจในความขุ่นเคือง คับข้องใจต่อกัน กล้าที่จะรับฟัง รับรู้ และเข้าใจฝ่ายตรงข้าม กล้าที่จะยกโทษให้กับบุคคล ที่ต่างขั้วกันจนเหมือนศัตรูถาวรเหล่านั้น

   ชาวแอฟริกา ก้าวข้ามความแตกแยกกันมาได้ สงครามภายใน ที่เคยสร้างปัญหาอันยิ่งใหญ่ เพราะแต่ละครั้งที่ลงมือต่อกัน ก็ต้องมีการสูญเสียชีวิตนับร้อยเสมอ ชาวแอฟริกา ที่มักถูกมองว่าเป็นคนป่า ดุดันน่ากลัว แต่แท้จริงแล้ว จิตใจของพวกเขา กลับสามารถสะอาดผ่องใสได้ เพียงการรู้จักให้อภัยและ ยินดีที่จะปลดปล่อยโซ่ตรวนผูกใจ ให้คับแคบมาตลอด 

     ขอยกย่องท่านเนสัล แมนเดล่า ที่มีความตั้งใจจริง และเรียนรู้เข้าถึงจิตใจมนุษย์ด้วยกัน การแก้ไขที่ปัญหาที่แสนยาก จึงจบลงอย่างงดงาม ผิวสีเปลี่ยนแปลงไม่ได้ คนขาวก็ยังขาว คนดำก็ยังดำ ใจต่างหากที่เปลี่ยนได้  ไม่ว่าอุปสรรคใดๆ ที่เป็นเชิงสัญญลักษณ์ ก็ไม่มีอิทธิพลให้พวกเขาแบ่งแยก แตกแยกอีกต่อไป

    ตามหาความจริงในหัวใจตนเองให้เจอ แล้วลบความอัปยศนั้นทิ้งเสีย  สันติสุขย่อมเกิดที่ใจของเรา ก่อน ที่จะขยายไปยังหมู่คณะ และคนทั่วทั้งโลกได้อย่างน่าอัศจรรย์..

หมายเลขบันทึก: 569492เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2014 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2014 22:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

เป็นบันทึกที่น่าสนใจมากเลยนะครับ

ขอบคุณค่ะ

กำลังศีกษาประวัติศาสตร์ที่ทำได้สำเร็จมาแล้ว

ก็ได้แต่หวังว่าสักวัน บ้านเราคงดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท