เจ็ดหน้าที่ของอจ.เพิ่มทักษะนศ.ในศต.21


กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์วิจารณ์ พานิช ผู้ถ่ายทอดหลักสำคัญของการพัฒนาระบบการศึกษาที่มีความสุขทั้งผู้สอน ผู้เรียน ผู้บริหาร และสังคมไทย

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านนายกสภาม.มหิดลเกี่ยวกับประเด็นของการพัฒนาระบบการศึกษาในเวที "เทคนิคการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาครูเพื่อเพิ่มทักษะของนักศึกษาม.มหิดล ในศตวรรษที่ 21" ในวันเสาร์ที่ผ่านมา ผมขอสรุปประเด็นสำคัญที่อาจารย์กายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดจะนำไป "คิดปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษาที่จะถึงนี้ได้ทันที" ได้แก่ 

1. อาจารย์มีหน้าที่ 7 ประการในการพัฒนาทักษะความเป็นมนุษย์ที่ดี มีปัญญา นำพาสุข ในศต.ที่ 21 ได้แก่ 

  • ตั้งเป้าหมายการเรียนรู้และวิธีพิสูจน์ (เกณฑ์การบรรลุเป้าหมายฯที่หลากหลาย) โดยให้นศ.รู้สึกมีความเป็นเจ้าของในการเรียนรายวิชาหรือหัวข้อนั้นๆ (Self-Organized Learning Environment - SOLE)
  • ออกแบบการเรียนรู้ให้นศ.รู้ว่า การเรียนรายวิชาหรือหัวข้อนั้นๆ มีคุณค่าต่อการใช้ชีวิตเพื่ออะไร นศ.จะได้อะไรบ้าง นศ.ต้องทำอะไรให้ตนบรรลุ ฝึกฝน (เคี่ยวกรำจนเกิดทักษะ) และอจ.จะช่วยเหลืออะไรบ้าง (Transformative Learning)
  • เป็น "คุณอำนวย" จัดกระบวนการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวาด้วยตัวนศ.เอง หรือ Teach Less Learn More  
  • เป็นผู้ประเมินความก้าวหน้าของนศ.อย่างเนื่องตลอดที่นศ.อยู่กับอจ. (Embedded Formative Assessment)
  • เน้นกระบวนการตั้งคำถามกลับไปที่นศ.ให้สะท้อนคิดไปข้างหน้า - นำทฤษฎีมาฝึกใช้จนเกิดทักษะจากประสบการณ์จริงและถือเป็นการให้รางวัลแห่งการเรียนรู้ คือ การต่อยอดความรู้ใหม่ด้วยตนเอง ผ่านการสังเกตและเข้าใจสถานการณ์จริงๆแล้วทำเป็นทำได้ตลอดชีวิต (Formative Feedback - Mastery Learning)
  • เน้นกระบวนการประเมินการพัฒนาความดีภายในของตนเองทั้งอจ.และนศ.เพื่อมีส่วนร่วมทำงานสร้างสรรค์นอกห้องเรียนและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น (Summative Evaluation) 
  • เป็นตัวอย่างที่ดีของการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง (Learning by Doing) เช่น ไม่อ่านตำรามาสอน พัฒนาวิธีการเรียนการสอนใหม่ๆ ที่ไม่มีสูตรตายตัว ติดกล้องวิดีโอหลังห้องเพื่อประเมินว่า ในชั้นเรียนอจ.พูดมากกว่านศ.หรือไม่ อจ.ควรคิด-ฟัง-ถาม-ให้นศ.คิด-พูด-ทำเอง ไม่จัดชั้นเรียนแบบบรรยายแต่จัดเป็นกลุ่มการเรียนรู้ที่นศ.แลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังเข้าใจเนื้อหาสำคัญจากอจ.ไม่เกิน 15-30 นาที ฯลฯ

2. ผลงานของอาจารย์คือคุณภาพของลูกศิษย์ มิใช่การประเมินอาจารย์ด้วย PA มิใช่ครูต้นแบบ มิใช่การเป็นผู้รู้ (เอาตัวเองเป็นตัวตั้งหรือแสดงความเป็นตัวเอง) แต่อาจารย์ต้องปรับจริตให้เป็น "ผู้เรียนรู้และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (ชอบสนุกในการเรียนรู้จนเกิดคุณค่าในการช่วยเหลือผู้อื่น ทำงานเป็นทีมได้กับคนหลายบุคลิกภาพ)"

3.  ระบบการศึกษาจะพัฒนาได้เมื่อทีมบริหารและทีมอาจารย์-เจ้าหน้าที่-นศ.เกิดการจัดการการเปลี่ยนแปลงในความคิดของคนที่หลากหลายแต่มีเป้าเป็นขั้นตอนเดียวกัน (เป้าหมายรายทาง - พูดคุยกับทีมบ่อยครั้งแม้ว่าจะเห็นความก้าวหน้าเล็กน้อย กับเป้าหมายปลายทางที่ฝันให้ใหญ่-ไกล-ร่วม) จากนั้นใช้เครื่องมือ 3 อย่างที่สร้างความสร้างสรรค์รวมหมู่ ได้แก่ 

  • ทุกคนส่งเสริมการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เกิดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ที่มีอยู่ในตัวตนหลังการลงมือปฏิบัติจริงและตีความด้วยทฤษฎีที่ชัดเจน
  • การฝึกเป็นคุณอำนวย (Facilitator) ทำให้เกิดอาจารย์แกนนำผ่านการเล่าและการแขร์เรื่องราวดีๆ จากการจัดเวทีข้างต้น ทำให้ไม่เรียนรู้ที่เริ่มจากศูนย์แต่เป็นการเรียนรู้จากพวกเราอย่างจริงใจ
  • การจัดระบบหลักฐานความรู้ (Evidence) ที่พิสูจน์ได้เห็นเป็นรูปธรรมผ่านเทคโนโลยีที่หลากหลาย เช่น การให้รางวัลหลักสูตรติดดาวแบบ Active Learning ในปี 57 เพียง 30% ของรายวิชาทั้งหมดแล้วค่อยๆเพิ่มปีละ 10% จนถึงยกย่องหลักสูตรดาวทอง ซึ่งการให้รางวัลเป็นเพียงกุศโลบายแต่เน้นการสื่อสารร่วมกันเพื่อตอบโจทย์ว่า ในแต่ละปีเราจะทำอย่างไรถึงจะให้นศ.เป็นคนดี มีปัญญา นำพาสุข

4. หลักสูตรที่แท้จริงมีอยู่ 3 รูปแบบที่อาจารย์ควรตระหนักรู้และปรับเนื้อหาให้ยืดหยุ่นทั้งวัน เวลา สถานที่ บุคคล โดยเน้นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้แบบบูรณาการให้นศ.รู้จริงตลอดชีวิตแบบ Adult Learning ได้แก่ 

  • หลักสูตรที่เขียนตามรูปแบบที่เขียนตาม Thailand Quality Framework มคอ.ต่างๆ 
  • หลักสูตรที่อยู่ในหนังสือประกอบการเรียนรู้
  • หลักสูตรที่อยู่ในการเรียนรู้ของนศ.จริงๆ  

5. อาจารย์สามารถศึกษาเพิ่มเติมจาก LINK ต่อไปนี้ ด้วยความขอบพระคุณคำแนะนำจากท่านอ.วิจารณ์ พานิช เป็นอย่างสูง

หมายเลขบันทึก: 568809เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2014 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2014 17:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอบคุณแนวคิดดีๆเพื่อการขับเคลื่อนคุณภาพทางการศึกษาค่ะ...

-สวัสดีครับอาจารย์

-ตามมาร่วมให้กำลังใจ

-การศึกษาแบบ ส่งเสริมการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เกิดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ที่มีอยู่ในตัวตนหลังการลงมือปฏิบัติจริงและตีความด้วยทฤษฎีที่ชัดเจน ถือเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆครับ

-เก็บผลไม้ป่ามาฝาก..พี่หมอจะรู้จักไหมหนอ?


ขอบพระคุณมากๆครับพี่นงนาท คุณเพชรน้ำหนึ่ง พี่ขจิต ท่านวอญ่า และอ.บูรพากรณ์

...ชอบมากค่ะ ...การต่อยอดความรู้ใหม่ด้วยตนเอง

คำว่า ลูกศิษย์ เป็นคำที่มาจาก ลูก + ศิษย์ ดังนั้น ครู/อาจารย์ ต้อง ดู แล takecare ให้สม ความหมาย ครับท่าน

ขอบคุณ Dr. Pop ที่แบ่งปันสิ่งดีๆ ค่ะ

..... ดีใจด้วยค่ะ   แนวคิดการศึกษาดีดี ... จากอาจารย์ ...สู่...ศิษย์ นะคะ...เอา....ข้าวแซ่เมืองเพชรมาฝากค่ะ



ขอบพระคุณมากๆครับท่านอาจารย์ JJ พี่ดร.พจนา คุณจิตศิริน พี่ดร.เปิ้น พี่โอ๋ คุณ tuknarak และคุณอักขณิช

ชอบใจการเรียนรู้ครับ

"เทคนิคการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาครูเพื่อเพิ่มทักษะของนักศึกษาม.มหิดล ในศตวรรษที่ 21"

เคยเห็นอันนี้ไหมครับ

เคยเขียนไว้นานแล้ว

ผู้เขียนชอบเรื่อง ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมคือเรื่อง

-ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม(กดอ่านต่อที่ภาษาอังกฤษได้ )Creativity and Innovation

-การคิดเชิงวิพากษ์ Critical Thinking and Problem Solving

-การสื่อสารและการร่วมมือทำงาน Communication and Collaboration

นอกจากนี้ยังมีเรื่อง ทักษะชีวิตและการทำงาน Life and Career Skills

-ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว FLEXIBILITY AND ADAPTABILITY

-ความคิดริเริ่มและการชี้นำตนเอง INITIATIVE AND SELF-DIRECTION

-ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม SOCIAL AND CROSS-CULTURAL SKILLS

-การเพิ่มผลผลิตและความรู้รับผิด PRODUCTIVITY AND ACCOUNTABILITY

-ความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ LEADERSHIP AND RESPONSIBILITY

ขอบคุณมากๆครับ

ขอบพระคุณมากๆครับพี่ขจิต เป็น LINK ที่มีประโยชน์มากๆครับผม 

ตอนนี้ผมกำลังสนใจที่จะทำเรื่องราวของ ทักษะชีวิตและอาชีพให้เกิดขึ้นกับ นศ.ของผมครับ

เพราะหลังจากที่น้องๆกลับมาจากฝึกงาน แต่ละคนก็มีเรื่องราวที่ต้องมาแลกเปลี่ยนกันเกือบทุกคนเลยครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท