สิทธิเสรีภาพของคนต่างด้าว


                คนต่างด้าวนั้น อาจไม่ได้หมายความในแง่ลบเสมอไป คนต่างด้าวนั้นหมายถึงใครก็ตามที่ไม่ได้มีสัญชาติของรัฐที่ตนไปอยู่ อาศัยอาจมีได้ทั้งถูกกฏหมายและผิดกฏหมาย เช่น นักเรียนแลกเปลี่ยน แรงงานต่างด้าว เป็นต้น

                ส่วนในกรณีเรื่องสิทธิและเสรีภาพของคนต่างด้าวนั้น ในฐานะมนุษย์ คนต่างด้าวย่อมมีสิทธิมนุษยชนเหมือนๆกับมนุษย์ทุกๆคน ตามที่กฏหมายต่างๆของทั้งระหว่างประเทศ และ ที่รัฐที่เขาไปอยู่รับรองไว้ แต่อย่างไรก็ดีคนต่างด้าวเนื่องจากไม่มีสัญชาติของรัฐๆนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะมีสิทธิเท่าเทียมกับประชาชน หรือ พลเมืองของรัฐนั้นๆทุกประการ เพราะในเรื่องสิทธินั้นเรามีสิ่งที่เรียกว่า สิทธิพลเมืองอยู่ด้วย

                 ซึ่งประด็นที่มักจะเป็นปัญหานั้นส่วนมากเกิดจากการที่มีความสับสนระหว่างสิทธิทั้งสองอย่างนี้ รหือบางอย่างก็เป็นสิ่งที่ยังแยกไม่ได้อย่างชัดเจนว่าเป็นสิทธิแบบใดนั่นเอง

                  โดยกรณศึกษาที่เห้นได้ชัดเพราะเป็นข่าวในปัจจุบันเป็นกรณีของคุณสาธิต เซกาล

                  สาธิต เสกัล เป็นประธานหอการค้าไทย – อินเดีย และเป็นประธานนักธุรกิจซึ่งมีสัญชาติอินเดีย ซึ่งคุณสาธิตนั้นได้เป็นแกนนำของกลุ่ม กปปส.และได้ขึ้นเวทีปราศรัย ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันซึ่งได้มีประเด็นโต้เถียงเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของคุณสาธิตว่าเป็นคนต่างด้าว ไม่สามารถเข้าร่วมในการดำเนินการในการแสดงสิทธิทางการเมืองได้ ซึ่งหากพิจารณาจากรัฐธรรมนุญแล้วนั้น ได้ปรากฏเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นแก่ชนชาวไทย แต่เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นก็เป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เป็นสิทธิพลเมืองแต่อย่างใด ดังนั้นเขาย่อมมีสิทธินี้

                   โดยอาศัยหลักกฏหมาย ระหว่างประเทศ UDHR

ข้อ 19

ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงอิสรภาพในการที่จะถือเกา[เอา]ความเห็นโดยปราศจากการแรกสอดและที่จะแสวงหา รับและแจกจ่ายข่าวสารและความคิดเห็นไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ และโดยไม่คำนึงถึงเขตแดน

                  ดังนั้นสิทธิในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองจึงถือว่าเป็นสิทธิมนุษยชน์เบื้องต้น ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคนต่างด้าวหรือไม่ก็มีสิทธินี้เช่นกันทั้งสิ้นนั่นเอง ดังนั้นการที่เราจะไปกล่าวหาเรื่องสิทธิต่างๆนั้นควรจะดูให้ดีก่อน

                  นอกจากนี้ยังมีกรณีของรัฐที่เป็นสมาชิกสหภาะเช่นในกรณีของสหภาพยุโรปนั้นกลุ่มคนต่างด้าวยังสามารถแบ่งออกได้อีกเป็นสองกลุ่มด้วยคือกลุ่มคนต่างด้าวแต่เป็นประชากรของสหภาพยุโรปและคนต่างด้าวที่ไม่ใช่ประชากรของรัฐสหภาพซึ่งก็จะได้รับสิทธิที่ต่างกันออกไป

อ้างอิง

1. http://news.kapook.com/topics/%E0%B8%82%E0%B9%88%E... สาธิต เซกัล

2. UDHR http://www.unicode.org/udhr/d/udhr_tha.html

หมายเลขบันทึก: 568687เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท