ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก


ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก

กล่าวได้ว่าในปัจจุบันปัญหาในเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นปัญหาที่สามาถพบได้ทั่วทุกมุมโลก แม้จะมีหลักสากลอันเป็นที่ยอมรับตาม ปฏิญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมามีความเท่าเทียมกัน มีสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานซึ่งไม่อาจมีใครพรากเอาไปได้ก็ตาม แต่การละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นอย่างหลีดเลี่ยงไม่ได้ด้วยเหตุผลนานา นับประการ ซึ่งในบทความนี้จะมุ่งพิจารณาว่า ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในสังคมไทยนั้น ไปมีความเชื่อมโยงกับสังคมโลกได้อย่างไร

เป็นเรื่องที่น่าขบคิดอย่างยิ่งว่า หากมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นกับบุคคลคนหนึ่ง ใคร หรือ ประเทศใดจะเป็นปู้ที่ต้องยื่นมือเข้ามาปกป้องบุคคลเหล่านั้น ซึ่งอาจตอบได้ในเบื้องต้นว่าหากเขาเป็นบุคคลที่มีสัญชาติรัฐสัญชาติของบุคคลนั้นก็น่าจะเป็นผู้ให้ความคุ้มครอง แต่หากบุคคลนั้นเป็นคนไร้สัญชาติ รัฐใดจะเป็นผู้ให้ความคุ้มครองแก่บุคคลเหล่านี้ เรื่องนี้เป็นปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือเป็นปัญหาของนานาชาติ

กรณีศึกษาเกิดขึ้นกับชาวโรฮิงญา ซึ่งชาวโรฮิงญานี้เป็นบุคคลกลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศพม่า มาเป็นเวลายาวนานแต่ทว่ารัฐบาลทหารพม่าไม่เห็นว่าคนกลุ่มนี้เป็นชาวพม่า และเป็นผู้ที่อยูในประเทศอย่างผิดกฎหมาย จึงได้ใช้มาตรการต่างๆกวาดล้างอย่างต่อเนื่อง ซึ่งชาวโรฮิงญานี้ นับถือศาสนาอิสลามและได้เข้ามาอยู่ในประเทศพม่าในช่วงที่พม่าเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฦษ ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวโรฮิงญาจำนวนมากจำต้องอพยพย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศต่างๆในฐานะของคนไร้สัญชาติ และเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีชายแดนติดกับประเทศพม่าทำให้ชาวโรฮิงญาจำนวนมากเดินทางเข้ามายังประเทศไทย อย่างผิดกฎหมาย

ชาวโรฮิงญาที่หนีเข้ามาในประเทศไทยนั้นมีสถานะเป็นคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย ตามตัวบทกฎหมายของประเทศไทย ไม่ใช่การหนีเข้ามาในสถานะของผู้ลี้ภัยหรือผู้หนีภัยความตาย ดังนั้นหากถูกจับได้ก็จะต้องทำการส่งตัวกลับไปยังประเทศที่จากมา ซึ่งเรื่องนี้มองว่าเป็นเรื่องที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างยิ่งเนื่องจากการส่งบุคคลเหล่านี้กลับไปยังประเทศของตน จะเป็นเสมือนกับการปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มคนที่ใกล้เคียงกับความตายเป็นอย่างมาก หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นหารส่งเขาให้กลับไปตายนั่นเอง

ดังนี้ประเทศไทยจึงต้องทำหน้าที่เป็นประเทศ ระหว่างทาง เพื่อที่จะรอส่งชาวโรฮิงญาไปยังประเทศปลายทางไม่ใช่ส่งกลับไปที่ประเทศพม่าอีกครั้ง แม้ว่าไทยจะไม่ได้เป็นภาคีสมาชิกของ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ หรือ CRED ก็ตาม ซึ่งปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะส่งชาวโรฮิงญาไปยังประเทศต่างๆที่พร้อมจะให้การรองรับ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศมุสลิมด้วยกัน

ในความคิดเห็นของข้าพเจ้าเห็นว่าองค์กรระหว่างประเทศอย่าง UNHCR ควรจะเข้ามาให้ความช่วยเหลือมากกว่านี้ และควรเป็นเรื่องที่นานาประเทศให้ตวามสนใจไม่ใช่แต่เพียงประเทศใดประเทศหนึ่ง นอกจากนี้รัฐบาลพม่าควรเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของบุคคลกลุ่มนี้ และออกมาแสดงความรับผิดชอบแก่กรณีที่เกิดขึ้นด้วย

อ้างอิง

ประวัติของชาวโรฮิงญา : http://www.tacdb-burmese.org/web/index.php?option=... สืบค้นเมื่อวันที่ 15/5/57

โรฮิงญา ชีวิตภายใต้อำนาจ จากดินแดนพม่าถึงไทย : http://prachatai.com/journal/2013/08/48462 สืบค้นเมื่อวันที่ 15/5/57

บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศ : https://sites.google.com/site/30318hayatee/ngan สืบค้นเมื่อวันที่ 15/5/57

อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย การขจดัการเลอืกปฏิบัตทิางเชื้อชาตใินทุกรูปแบบ : http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/ce... สืบค้นเมื่อ 15/5/57

หมายเลขบันทึก: 568685เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 13:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท