ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/คนหนีภัยความตาย


ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/หนีภัยความตาย

ในเบื้องต้นสำหรับการทำความเข้าใจในหัวข้อดังกล่าวในเบื้องต้นเราต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า คำว่าผู้ลี้ภัยหรือผู้หนีภัยคสามตายนั้น เหมือนและ แตกต่างกันอย่างไรโดย “อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951” ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า

ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่อยู่นอกประเทศแห่งสัญชาติของตน เนื่องด้วยความหวาดกลัวที่มีมูลเหตุอันจะ กล่าวอ้างได้ว่าจะถูกประหัตประหารด้วยสาเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ สมาชิกภาพในกลุ่มสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือความคิดเห็นทางการเมือง และไม่สามารถหรือด้วยความหวาดกลัวนั้น ไม่เต็มใจที่จะได้รับความคุ้มครองจากประเทศนั้น ในกรณีของบุคคลไร้สัญชาติ และอยู่นอกประเทศที่เดิมมีที่อาศัยอยู่ประจำ ด้วยความหวาดกลัวที่กล่าวมาจึงไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะกลับไปอยู่อาศัยในประเทศนั้น

จากบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาดังกล่าวพอจะสรุปได้ว่า “ผู้ลี้ภัย” หมายถึง บุคคลซึ่งเป็นบุคคลที่จำต้องละทิ้งประเทศแห่งสัญชาติของตนเอง เนื้องด้วยความหวาดกลัว ต่อภัยที่อันตรายถึงชีวิต และเชื่อว่าประเทศแห่งสัญชาติของตนไม่อาจจะให้ความคุ้มครองหรือ เป็นผู้ละเมิดสิทธิเสียเองซึ่งทั้งคำว่าผู้ลี้ภัย และผู้หนีภัยความตายนั้นมีความหมายที่เหมือนกัน แตกต่างกันตรงที่ว่า หากประเทศใดให้การยอมรับในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย เราจะเรียกกลุ่มบุคคลตามความในอนุสัญญาว่าผู้ลี้ภัย ส่วนประเทศใดไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญาเราจะเรียกว่า ผู้หนีภัยความตาย

ทั้งนี้ประเทศไทยไม่ได้ลงนามในอนุสัญญาดังกล่าวดังนั้นเราจึงเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า”ผู้หนีภัยความตาย” แต่อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัติมักมีการเรียกปะปนกันเพื่อความเข้าใจอันง่ายของสาะรณะชน ซึ่งมีให้เห็นบ่อยครั้งตามสื่อ สาธารณะต่างๆ

เนื่องจากว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศของประเทศไทยนั้น ยังคงมีปัญหาความไม่สงบให้พบอยู้ได้เป้นการทั้วไปทั้งปัญหาเรื่องเชื้อชาติ หรือความขัดแย้งอื่นๆ ทำให้ประเทศไทยเป็นสถานที่หนึ่งแห่งที่จะมีผุ้ลี้ภัย หลบหนีเข้ามาขอพึ่งพิงเป็นจำนวนมาก ซึ่งแม้ว่าบุคคลเหล่านี้จะเป็นเพียงผู้ลี้ภัยแต่สามารถกล่าวได้ว่าพวกเขาทุดคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในฐานะบุคคลคนหนึ่งอยู่อย่างเต็มเปลี่ยม ซึ่งประเทศไทยจำต้องมุ่งคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนเหล่านี้ด้วย แต่ในทางปฏิบัตินั้นปรากฏว่าผู้หนีภัยความตายที่หนีเข้ามาในประเทศไทยนั้นยังไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้ดีเท่าที่ควร ตัวอย่างเช่น การที่ผู้ลี้ภัยจะไม่สามรถออกจากค่ายผู้ลี้ภัยได้ ซึ่งหากออกจากค่ายผู้ลี้ภัยไปก็จะมีสถานะเป็นบุคคลต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และแจถูกดำเนินการส่งกลับประเทศได้ ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้หนีภัยความตายที่เข้ามาในประเทศไทยขาดโอกาศในการพัฒนาตนเอง ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่า การกระทำเช่นนี้เป็นการกดขี่สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเสียด้วยซ้ำ

ดังนั้นประเทศไทยควรมีระบบบริหารจัดการผู้หนีภัยความตาย ให้เป็นระบบและเป็นรูปธรรมมากกว่านี้ โดยยึดเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก ซึ่งอาจเริ่มจากการเข้าเป็นภาคีสมาชิด ของอนุสัญญาสถานภาพผู้ลี้ภัยเสียก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อให้ผ็ลี้ภัยได้รับการตุ้มครองขั้นพื้นฐานตามกฎหมายระหว่างประเทศเสียก่อน 

อ้างอิง

อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 : https://www.unhcr.or.th/th/refugee/convention สืบค้นเมื่อ 15/5/57

ผู้ลี้ภัยคือใคร : https://www.unhcr.or.th/th/refugee/about_refugee สืบค้นเมื่อ 15/5/57

รวมงานเขียนเรื่องคนหนีภัยความตาย : http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=2&s_id=62&d_id=46 สืบค้นเมื่อ 15/5/57

หมายเลขบันทึก: 568684เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 13:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท