กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย

“สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่มีติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด” ด้วยข้อความคิดนี้ทำให้รัฐต่างๆใช้ความพยายามเป็นอย่างมากในหารคุ้มครองสิทธิมนุษยชนนี้ ซึ่งเครื่องมือหนึ่งซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดของรัฐในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนคือ กฎหมาย ซึ่งแม้ว่ากฎหมายจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่มีประสิทธิภาพที่สุดก็ตาม บางคราวเครื่องมือชิ้นนี้กลับเป็นดาบสองคมที่เป็นเครื่องละเมิดสิทธิมนุษนชนเสียเอง ในบทความนี้จะขอหยิบยกกฎหมายของประเทศไทยที่ข้าพเจาเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยไม่จำเป็นขึ้นกล่าวอ้าง ซึ่งนั่นคือ กฎหมายว่าด้วยโทษประหารชีวิต

อย่างที่ทราบกันดีว่าโทษประหารชีวิตเป็นโทษที่มีความร้ายแรงที่สุดเพราะเป็นการพรากเอาชีวิตไปจากมนุษย์ ซึ่งการมีชีวิตอยู่นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในเรื่องของสิทธิมนุษยชนเลยก็ว่าได้นั้นคือเรื่องของ สิทธิในการมีชีวิตอยู่นั่นเอง เราจึงต้องมาพิจารณาอย่างรอบคอบว่าโทษประหารชีวิตนั้นมีข้อดีข้อเสียอย่างไร และเป็นการสมควรหรือไม่ที่ประเทศไทยจะคงไว้ซึ่งโทษประหารชีวิต ในยุคสมัยที่เรื่องราวของสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ

โทษประหารชีวิตนั้นเป็นโทษที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างช้านาน อย่างที่เห็นได้จากในอดีตที่เมื่อมีการกระทำความผิดร้ายแรงก็จะทำการลงโทษด้วยวิธีการตัดคอ และหากความผิดนั้นเป็นความผิดร้ายแรงและเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการให้ประชาฃนเอาเป็นเยี่ยงอย่าง ก็อาจมีการเสียบหัวประจานด้วย นับว่าเป็นการลงโทษที่โหดร้ายทารุณมากเลยทีเดียว และเมื่อประชาชนเห็นการลงโทษที่รุนแรง และเด็ดขาด ในสมัยนั้นย่อมทำให้เกิดความเกรงกลัวต่อการกระทำความผิดขึ้น รวมทั้งผ็ได้รับความเสียหายยังได้รับการแก้แค้นอีกด้วย ซึ่งที่กล่าวมาเป็นการชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของการลงโทษในอดีตที่เรื่องของสิทธิมนุษยชนยังไม่เป็นที่แพร่หลายใดนัก เพราะฉะนั้นการลงโทษจึงเป็นไปด้วยความรุนแรงโดยปราศจากการคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน แต่ในทางกลับกันกลับสร้างความเกรงกลัวต่อกฎหมายได้เป็นอย่างดี ในเวลาต่อมาประเทศไทยได้เปลี่ยนวิธีการลงโทษจากการตัดคอ มาใช้วิธีการยิงเป้า ซึ่งมีความโหดร้ายทารุณน้อยกว่า

นับตั้งแต่ประเทศไทยเปลี่ยนมาใช้วิธีการดังกล่าวในปี2478จนถึงปัจจุบันมีผู้โดนประหารชีวิต 319 รายด้วยกัน และค่อยๆลดลงมาในทุกปี ซึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนนักโทษในคดีโทษประหารฃีวิต อัตตราส่วนของการลงโทษสถานนี้จริงๆมีน้อยมาก เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมในปัจจุบันมักเปิดโอกาศให้นักโทษได้รับการลดโทษลง จากประหารชีวิตอาจกลายเป็นจำคุกตลอดชีวิต สิ่งนี้ทำให้ความน่าเกรงกลัวของการได้รับโทษประหารชีวิตมีน้อยลงอย่างไม่ต้องสงสัย เมื่อพิจารณาจากอัตตราส่วนที่ปรากฏ เมื่อเป็นเช่นนั้นย่อมทำให้โทษประหารชีวิตไม่สามารถสร้างความเกรงกลัวต่อกฎหมายแก่ประชาชนได้อย่างแท้จริงเสมือนเมื่อในอดีต ดังนั้นทุกครั้งที่มีการประหารชีวิตก็เป็นแค่เพียงการแก้แค้นแก่ผู้เสียหายเท่านั้น

เมื่อมองในมุมของนักสิทธิมนุษยชนแล้วนั้นย่อมเกิดคำถามว่าในปัจจุบันมีความคุ้มค่าเพียงใดที่จะลงโทษประหารชีวิตแก่บุคคลเพียงเพื่อการแก้แค้น เมื่อเทียบกับสิทธิมนุษยชนที่โดนพรากเอาไปด้วยการปลิดชีพของผู้นั้นอันเป็นการพรากสิทธิในการมีชีวิตอยู่ไป ซึ่งในเรื่องนี้ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า เป็นเรื่องที่ไม่มีความคุ้มค่าอย่างยิ่ง และเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างไม่จำเป็น เนื่องจากฃีวิตของบุคคลนั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดและไม่สามารถประเมินค่าได้ การพรากเอาสิ่งนี้ไปเพียงเพื่อเหตุผลที่ว่า เป็นการแก้แค้นให้แก่ผู้เสียหาย หรือเป็นการรับผลกรรมของผู้กระทำย่อมเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่า

อ้างอิง

ประวัติการราชทัณฑ์ : http://61.19.241.70/rkj/uploadword/691441.doc สืบค้นเมื่อ15/5/57

โทษประหารชีวิต ความจำเป็นที่ต้องคงอยู่ หรือ ความรุนแรงที่ต้องยกเลิก : http://www.dailynews.co.th/Content/Article/127538/... สืบค้นเมื่อ 15/5/57

สิทธิในการมีชีวิต : http://www.l3nr.org/posts/535544 สืบค้นเมื่อ 15/5/57

หมายเลขบันทึก: 568686เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 13:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท