การจัดการศึกษานอกโรงเรียนที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตผู้เรียนกลุ่มเป้าหมาย


ผมคิดว่าเรื่องเหมาะเจาะหรือไม่นี้คงจะเบาบางลงแน่นอนหากจะได้ใช้การจัดการความรู้กับกลุ่มเป้าหมายหรือผู้เรียนครับ ถามเป้าหมายการเรียนรู้กับคุณกิจในเวทีเรียนรู้นั่นแหละครับ เอากันสดๆเลย ไม่ว่าจะ segment ไหน ก็จะได้ทั้ง usefull และ relevant ครับ แต่ต้องทีมคุณอำนวยที่เก่งๆนะครับ

เมื่อ 31 ตุลาคม 2549 ผมได้มีโอกาสเข้าพบ อ.ดร.อุทัย ดุลยเกษม คณบดีสำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ห้องทำงานของท่าน ไปครั้งนี้ก็ไม่มีธุระอะไรมากครับ นำเงินทำบุญทอดกฐินไปให้ท่าน ท่านส่งฎีกาบอกบุญผมมาหลายวันแล้ว ผมไม่ได้นำไปมอบให้ท่านสักที ปีนี้ท่านเป็นเจ้าภาพกฐินที่วัดบ้านเกิดของทานที่จังหวัดพังงา ในฐานะที่ผมรู้จักท่านเคยเป็นลูกศิษย์ท่านตั้งแต่เมื่อครั้งท่านเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ทับแก้ว นครปฐม เมื่อราว พ.ศ.2532 หรือ2533 ประมาณนี้นี่แหละ ตอนนั้นกรมการศึกษานอกโรงเรียนส่งผมเข้ารับการอบรมการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยคนหนึ่งกับทีมงานของท่าน ท่านเป็นผู้อำนวยการหลักสูตร หลังจากนั้นก็พบเจอกันเรื่อยโดยเฉพาะระยะหลังๆเมื่อท่านมารับหน้าที่ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผมเลยได้รู้รู้จักกับผู้ใหญ่ของบ้านเมือง โดยเฉพาะในวงการการศึกษาท่านนี้ ที่สมถะและไม่ถือเนื้อถือตัว

พบกันครั้งนี้ก็คุยกันหลายเรื่องเช่นเคย เรื่องหนึ่งที่เป็นแง่คิดคือเรื่องงานการศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาตลอดชีวิตนี่แหละครับ ท่านมีความเป็นห่วงอนาคตของการศึกษานอกโรงเรียน ท่านคาดหวังกับงานการศึกษานอกโรงเรียนมาก ท่านบอกว่าการศึกษาในระบบโรงเรียน มีข้อจำกัดเยอะตั้งแต่ระดับอนุบาล...จนถึงอุดมศึกษา จัดการศึกษาเพื่ออนาคต เห็นผลช้า ไม่ใช่วันนี้เดี๋ยวนี้.....ยิ่งทุกวันนี้ยุคโลกาภิวัฒน์ที่ทุกอย่างเปลี่ยนรวดเร็วมาก โดยเฉพาะความรู้ หนังสือตำรานี้เปลี่ยนกันบ่อยมาก การศึกษานอกโรงเรียนการศึกษาตลอดชีวิตนี่คือทางออกของชาติถ้าหากจะได้จัดกันดีๆ จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลง เห็นผลอย่างรวดเร็วได้ แต่ท่านก็อดเป็นห่วงว่ากระบวนการจัด กศน.ปัจจุบันไม่ได้ว่า มีสิ่งที่จะต้องปรับปรุงมากมาย ท่านว่า กศน.จะต้อง แยกแยะให้ได้ว่ากลุ่มไหน จะเรียนรู้เรื่องใด จะต้องมีกระบวนการตรงนี้ ไม่ใช่คลุมให้เรียนเรื่องเดียวกันทุกกลุ่ม ท่านพูดศัพท์ภาษาอังกฤษว่า   segment  ไหน เห็นว่าเรื่องไหน usefull และ relevant ท่านยกตัวอย่างว่าคุณยายอยู่บ้าน (เปรียบเหมือนกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนหรือ segment ) หลานซื้อกับข้าวกับปลามาเต็มตะกร้ามาฝากคุณยาย หวังว่าทุกอย่างที่ซื้อมาคงเป็นประโยชน์หมดกับคุณยาย แต่คุณยายบอกว่ากินข้าวอิ่มเสียแล้ว ทุกสิ่งที่ซื้อมาเป็นประโยชน์หมดก็จริง ไอ้นั่นก็เป็นประโยชน์ไอ้นี่ก็เป็นประโยชน์ (usefull ) แต่มันตอบสนองปัญหาให้คุณยายเดี๋ยวนั้นไม่ได้ ไม่สัมพันธ์ไม่เหมาะเจาะกับคุณยายเสียแล้ว ( relevant) แม้สิ่งนั้นจะเป็นประโยชน์ก็จริง แต่ในเวลานั้นสิ่งนั้นมันไม่เหมาะเจาะ ไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคุณยายเสียแล้ว....ผมว่าตัวอย่างที่อาจารย์ยกมาพูดนี้ชัดมากเรื่องของประโยชน์กับความเหมาะเจาะ

ตัวอย่างที่อาจารย์ยกมาทำให้ผมนึกถึงการทำคลังหลักสูตรครับว่า ทำหลักสูตรกันเยอะแยะมากมาย ทำล่วงหน้านาน กระบวนการทำผู้เรียนหรือชาวบ้านจะมีส่วนสร้างหรือไม่ก็ไม่มีใครรับรองได้ เมื่อส่งไปให้แต่ละ   segmentใช้แล้ว มันจะ relevant เหมาะเจาะหรือเปล่า ผมคิดว่าเรื่องเหมาะเจาะหรือไม่นี้คงจะเบาบางลงแน่นอนหากจะได้ใช้การจัดการความรู้กับกลุ่มเป้าหมายหรือผู้เรียนครับ ถามเป้าหมายการเรียนรู้กับคุณกิจในเวทีเรียนรู้นั่นแหละครับ เอากันสดๆเลย ไม่ว่าจะ segment  ไหน ก็จะได้ทั้ง usefull และ relevant ครับ แต่ต้องทีมคุณอำนวยที่เก่งๆนะครับ

ไปหาอาจารย์เที่ยวนี้ ได้ทั้งบุญกุศลและได้ทั้งความรู้ครับ ผมก็ขอนำความรู้อาจารย์มาเผยแพร่ต่อ เพราะในทางพุทธศาสนาสอนว่า  การให้ธรรม ให้ความรู้เป็นทานถือว่าชนะการให้ทั้งปวง สัพพะทานัง ธัมมะทานังชินาติ

หมายเลขบันทึก: 56823เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2006 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • จริงอย่างที่ ดร.อุทัยได้ให้ข้อคิดไว้นะครับ ขึ้นอยู่กับผู้เรียนหรือผู้รับเป็นสำคัญ
  • ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับการพัฒนาคนที่จะไปทำงานในพื้นที่ให้เป็นผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง ฯลฯ   แต่ควรพัฒนาคนที่จะไปทำงานให้เป็นนักจัดกระบวนการน่าจะเหมาะสมกว่า
  • ทุกที่..ทุกเวลา..ทุกโอกาส..พวกเราคงต้องร่วมกันสร้าง "คุณอำนวย" ให้เพิ่มมากขึ้นกระจายๆ ไป น่าจะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยพัฒนา "คน" ได้ในวงกว้างในทุกสาขาอาชีพ
  • ...คงต้องออกแรงกันอีกนานนะครับ...ขอเป็นกำลังใจให้ครับ

เรียน น้องสิงห์ป่าสัก

           เป็นความเห็นที่ล้ำยุคมากครับ

ผมได้เรียนรู้ไปด้วยกับบันทึกนี้

ขอบคุณครูมากครับ

..........................

ให้ความรู้เป็นทานถือว่าชนะการให้ทั้งปวง สัพพะทานัง ธัมมะทานังชินาติ

เรียน คุณจตุพร

           ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมเยียน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท