มนุษย์ที่ข้ามชาติ


มนุษย์ข้ามชาติ คือใคร?

             คือ   คนที่ข้ามชาติจากประเทศเดิมของตนไปอยู่อีกประเทศหนึ่ง เช่น แรงงานข้ามชาติ นักท่องเที่ยว เป็นต้น โดยมีทั้งการข้ามชาติปกติ คือ มีการเข้าเมืองอย่างถูกกฎหมาย มีพาสปอร์ต มีวิซ่าในการอาศัย หรือ การทำงาน และ การข้ามชาติไม่ปกติ คือ การข้ามชาติโดยลับลอบเข้ามาซึ่งในประเทศไทย มักมีข่าวให้เห็นอยู่เนืองๆว่า มีการลักลอบนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาในเมืองไทย ซึ่งทำให้พวกเขาเหล่านั้นเป็นคนเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย มีความผิด และ สิทธ์ที่ควรได้รับก็ไม่ได้รับตามปกติ เช่น สิทธิตามสหภาพแรงงานหรือ สิทธิในสัญชาติของบุตร เป็นต้น

กรณีศึกษา

               จากกรณีศึกษาน้องดนัย ยื่อบ๊อ เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2542 ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของนายอาบู กับนางหมี่ยื่ม ยื่อบ๊อ ซึ่งทั้งสองเป็นชาวอาข่าที่อพยพมาจากฝั่งเมียนมาร์ โดยบิดานายอาบูได้รับบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยขึ้นต้นด้วยเลข 6 ซึ่งเป็นบัตรบุคคลบนพื้นที่สูง มารดาหมี่ยื่มมีบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข 5 และนางหมี่ย่อมได้รับสัญชาติไทยเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 ภายหลังน้องดนัยเกิด ทำให้สูติบัตรของน้องดนัยระบุว่าไม่ได้สัญชาติไทย เพราะอะไร ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

             ซึ่งจากกฎหมาย พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้กำหนดการได้รับสัญชาติไทยตาม

มาตรา ๗ บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(๑) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

(๒) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นบุคคลตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคหนึ่ง

คำว่าบิดาตาม (๑) ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบิดาของผู้เกิดตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง แม้ผู้นั้นจะมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เกิด และมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม

มาตรา ๗ ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดาหรือมารดาของผู้นั้นเป็น

(๑) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย

(๒) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ

(๓) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

               ในกรณีที่เห็นสมควร รัฐมนตรีจะพิจารณาและสั่งเฉพาะรายหรือเป็นการทั่วไปให้บุคคลตามวรรคหนึ่งได้สัญชาติไทยก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

                ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยตามวรรคหนึ่งจะอยู่ในราชอาณาจักรไทยในฐานะใด ภายใต้เงื่อนไขใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรและสิทธิมนุษยชนประกอบกัน ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวงดังกล่าว ให้ถือว่าผู้นั้นเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

                 จากข้อเท็จจริงข้างต้นแล้ว จะเห็นได้ว่ามารดาของน้องดนัยเป็นคนไทยที่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ และได้รับสัญชาติ ดังนั้นตามข้อเท็จจริงแล้วน้องดนัยควรได้รับสัญชาติไทยโดยการเกิด ตามมาตรา 7 แต่อย่างไรก็ตามการได้สัญชาติของมารดาน้องดนัยเกิดขึ้นภายหลังการเกิดของน้องดนัย ส่งผลให้ในขณะที่น้องดนัยเกิดมารดาของน้องก็ตกอยู่ในสถานะของบุคคลที่ไร้สัญชาติเช่นกัน และที่สำคัญคือในขณะเกิดบิดาของน้องดนัยอยู่ในสถานะของคนต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ตามมาตรา 7 ทวิ(3) ทำให้การได้รับสัญชาติของน้องดนัยจึงไม่เกิดขึ้น

                  แต่กระนั้นข้าพเจ้าก็มองว่ามารดาของน้องดนัยเป็นคนไทย เกิดในประเทศไทย และได้รับการพิสูจน์สัญชาติแล้วว่ามีสัญชาติไทย เมื่อมารดาของน้องดนัยได้รับการพิสูจน์สัญชาติแล้วน้องดนัยก็ควรที่จะได้รับสัญชาติไทยตามมาตรา 7 (1) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้องดนัยมิได้รับสัญชาติตามมารดาแต่อย่างใด

                   สำหรับข้าพเจ้าคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรี่องไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะขัดกับกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติว่าด้วยเรื่องของการได้สัญชาติไทยแล้ว การที่น้องดนัยไร้รัฐ ไร้สัญชาติทั้งๆที่มีกฎหมายบัญญัติให้ได้รับสัญชาติไทยตามมารดา ก็เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของน้องอย่างชัดเจน จนทำให้น้องไม่สามารถเข้าถึงสิทธิต่างๆได้อย่างที่ควรจะเป็น ทั้งนี้อาจเพราะถูกละเลย จากหน่วยงานราชการ ที่มักจะละเลยและปฏิเสธที่จะดำเนินการตามกฎหมายให้กับบุคคลที่ไร้สัญชาติและทำเรื่องขอสัญชาติไทยจนทำให้เกิดเป็นปัญหามนุษย์ที่ไร้รัฐและละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลเหล่านี้ในที่สุด

                 ดังนั้นประเทศไทยของเราควรเร่งการแก้ไขระบบ และรัฐจึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาที่เป็นสาเหตุเหล่านี้ด้วย เพื่อให้แนวทางการปฏิบัติตามข้อเท็จจริงได้เป็นไปตามข้อกฎหมายภายในประเทศและระหว่างประเทศที่รัฐไทยเป็นภาคี ซึ่งนอกจากนี้แล้วยังเป็นการส่งเสริมความก้าวหน้าทางด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยอีกด้วย

อ้างอิง

-พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508

http://www.thaigeneralkonsulat.de/th/consular/nati...

-การได้สัญชาติไทยของบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย

http://www.gotoknow.org/posts/510683

-นิลวรรณ์ / ปาจรีย์ (5 มิ.ย. 46) พระราชบัญญัติว่าด้วยสัญชาติ พ.ศ. 2508 แหล่งที่มา :http://www.thaigeneralkonsulat.de/th/consular/nationality1.pdf

หมายเลขบันทึก: 568221เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 00:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 00:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท