ผู้ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนด้วยหรือ


          จากความเป็นจริงแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจทุกคนโดยทั่วไปแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอันดับแรกคือเงินหรือกำไรที่จะได้จากการประกอบธุรกิจ แต่เมื่อการทำธุรกิจได้พัฒนามาเรื่อยๆ จนในปัจจุบันเนื่องจากธุรกิจรูปแบบเดิมหลายประเภทไม่สามารถอยู่รอดได้ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ที่ได้กำไรมหาศาลแต่อาจกระทบต่อสิทธิมนุษยชน 

ยกตัวอย่างเช่น

              ตัวอย่างที่ได้กล่าวในห้องเรียน เช่น การสร้างเขื่อนไซยะบุรีที่ไม่มีการสำรวจความคิดเห็นของชาวบ้านและไม่มีการสำรวจสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะสร้างเขื่อนทำให้มีการต่อต้านการสร้างเขื่อนเป็นอย่างมาก 

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 

              ข้อ 25 (1) ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอสำหรับสุขภาพและความอยู่ดีของตนและของครอบครัว รวมทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและการดูแลรักษาทางการแพทย์ และบริการสังคมที่จำเป็น และมีสิทธิในหลักประกันยามว่างงาน เจ็บป่วย พิการ หม้าย วัยชรา หรือปราศจากการดำรงชีพอื่นในสภาวะแวดล้อมนอกเหนือการควบคุมของตน

             เนื่องจากเมื่อไม่มีการสำรวจสิ่งแวดล้อมและผลกระทบก่อน การสร้างเขื่อนจึงทำให้ที่อยู่อาศัยของชาวบ้านแถวนั้นมีสิ่งแวดล้อมไม่ดี เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญานี้ 

            อีกทั้งกรณีของการโฆษณาของ Dunkin' Donuts ที่ให้คนทาผิวดำถือโดนัทสีดำ ในประเทศไทยอาจไม่รู้สึกว่าเป็นการเหยียดสีผิวซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากมักเพราะประเทศไทยไม่มีประวัติศาสตร์กับคนผิวสี แต่ทางด้านสหรัฐอเมริกาซึ่งเคยมีทาสเป็นคนผิวสี การโฆษณาดังกล่าวมีผู้เห็นว่าเป็นการเหยียดสีผิวซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนแห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งบัญญัติไว้ว่า ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพทั้งปวง ตามที่กำหนดไว้ในปฏิญญานี้ โดยปราศจากการแบ่งแยกไม่ว่าชนิดใด อาทิ เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่น พื้นเพทางชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน การเกิดหรือสถานะอื่น เนื่องจาก การกระทำดังกล่าวเป็นการแบ่งแยกสีผิวคือเปรียบเทียบคนผิวสีคู่กับโดนัทสีดำ จึงเป็นการกระทำที่ขัดกับปฏิญญาสากลฯและเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย 

            และอีกกรณีหนึ่งคือการโฆษณาครีมบำรุงผิวในประเทศไทยที่มีการนำคนผิวดำไปเทียบเป็นสัตว์ หรือโฆษณาด้วยวิธี   การติดป้ายที่นั่งบนรถไฟฟ้าเป็นที่นั่งสำหรับคนผิวขาว เป็นการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุของสีผิว ทั้งสองกรณีก็เป็นการเหยียดสีผิวและละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย

              จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า มีการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่พอใจ มีกระแสต่อต้าน จนอาจปัญหาในสังคมทำให้เกิดความวุ่นวายทะเลาะกันได้ ดังนั้น แม้ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องกระทำการต่างๆที่จำเป็นเพื่อให้ธุรกิจของตนดำรงอยู่และเจริญรุ่งเรืองต่อไปได้ แต่ผู้ประกอบธุรกิจก็ต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของบุคคลอื่น โดยหลีกเลี่ยงไม่ กระทำการที่เป็นการกระทบหรือขัดแย้งกับสิทธิมนุษยชน ไม่ควรยั่วยุให้เกิดปัญหาเป็นการก่อให้เกิดความขัดแย้งได้ และหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดปัญหาได้ โดยจะทำสิ่งใดก็ควรคิดถึงผู้อื่นที่อยู่บริเวณนั้น หรือบุคคลซึ่งอาจได้รับผลกระทำจากการกระทำนั้นได้

                และในทางกลับกัน การกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ย่อมมีผลกระทบต่อตัวผู้กระทำด้วย ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อาจจะเป็นทางชื่อเสียง หรือความยากลำบากในการดำเนินกิจการ เช่น กรณีที่ธนาคารปล่อยสินเชื่อที่กล่าวไปแล้วข้างต้น การสร้างเขื่อนอาจกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารระดับโลก ย่อมกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจด้วย ไม่มากก็น้อย หรืออาจถูกขัดขวางการดำเนินธุรกิจโดยผู้ที่เสียประโยชน์จากธุรกิจดังกล่าว ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจควรต้องคิดให้ถี่ถ้วนก่อนกระทำการใดๆก็ตาม

อ้างอิง

กระทรวงการต่างประเทศ.ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน.[ออนไลน์]. http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/bo…

-จริยธรรมกับการปล่อยสินเชื่อ กรณีเขื่อนไซยะบุรี. แหล่งที่มา 

:http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content...

-กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR). แหล่งที่มา :http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/ic...

หมายเลขบันทึก: 568217เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2014 01:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท