กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนมีลักษณะเป็นสนธิสัญญาพหุภาคี กล่าวคือ เป็นสนธิสัญญาที่มีรัฐมากกว่าสองรัฐขึ้นไปเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งกระบวนการในการทำสนธิสัญญามีหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การเจรจา การให้ความยินยอมของรัฐเพื่อผู้พันตามสนธิสัญญาโดยการลงนาม การให้สัตยาบัน การภาคยานุวัติ และบางรัฐอาจตั้งข้อสงวน หรือตีความสนธิสัญญา และเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนในการทำสัญญาครบถ้วนแล้ว ภาคีก็มีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาต่อไป การเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาก่อให้เกิดพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับสนธิสัญญา มิฉะนั้นอาจต้องรับผิดในทางระหว่างประเทศ ดังนั้น เมื่อประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยก็ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญาดังกล่าว พันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของไทย(1)

 

ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญา ด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งสหประชาชาติถือเป็น สนธิสัญญาหลัก จำนวน 7 ฉบับได้แก่

1. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women-CEDAW) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2528      

 

2. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child-CRC) เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2535 ประกอบด้วยบทบัญญัติ 54 ข้อ ได้แก่เรื่องเกี่ยวข้องกับสิทธิของเด็กโดยตรง

 

3. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2539

 4. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights-ICESCR) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542

 5. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination-CERD) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2546

 6. อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment-CAT) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550

 7. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2551

กฎหมายไทยได้มีมาตรการในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนในรูปแบบต่างๆ  มานานรับจากประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบกันปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2491 หลังจากนั้นประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนอีกหลายฉบับด้วยกัน เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Froms of Discriminay=tion against Women) เป็นต้น(2)

            อย่างไรก็ตามแม้ประเทศไทยจะมีพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนตามสนธิสัญญาต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่ประเทศไทยก็ยังมีปัญหาที่เกิดจากการขาดการส่งเสริมละคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่รอแก้ไขอีกหลายประการในที่นี้จะยกตัวอย่างปัญกาสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาให้ทราบพอสังเขป ดังนี้

โดยอาชีพส่วนใหญ่ที่แรงงานเหล่านี้เข้ามาทำ คือ งานประมงทะเล งานเกี่ยวเนื่องกับการประมง (ทำงานในโรงงานผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง อาทิ แกะกุ้ง ลอกหนังปลาหมึก) ทำงานในโรงงานปลาป่นที่ใช้เป็นหารสัตว์ ทำงานในโรงงานน้ำปลา ทำงานในโรงงานอาหารทะเลตากแห้ง ทำงานเกษตร เช่น กรีดยางในสวนยาง งานก่อสร้าง งานบริการ เป็นต้น

ดังที่กล่าวมาแล้วว่าประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศจึงทำให้ประชาชนของประเทศเพื่อนบ้านบางส่วน เช่น สหภาพพม่า ราชอาณาจักรกัมพูชา พยายามเดินทางเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทย ทั้งที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมายและลักลอบเข้ามาย่างปิดกฎหมาย

 ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ

ชาวต่างชาติบางส่วนที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายก็ได้สร้างปัญหาต่อความมั่นคงของสังคมโดยรวมปละประเทศชาติ เช่น ปัญหาอาชยากรรม ปัญหาโรคระบาด เป็นต้น  

 ชาวต่างชาติบางส่วนที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายก็ได้สร้างปัญหาต่อความมั่นคงของสังคมโดยรวมและประเทศชาติ เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาโรคระบาด เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศไทยปลายทางรับแรงงานต่างชาติเหล่านี้เข้ามาทำงานจึงพยายามควบคุมแรงงานดังกล่าวให้มีจำนวนจำกัด เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยได้กำหนดยุทธศาสตร์บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวทั้งระบบขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2547 คือให้นายจ้างนำแรงงานที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายมาจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวให้เข้าสู้ระบบการจ้างแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย

รวมทั้งขอความร่วมมือจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติให้ช่วยกดดันประเทศมหาอำนาจหรือประเทศที่ร่ำรวยกว่าประเทศไทยให้ช่วยรับแรงงานเหล่านี้เข้าไปอยู่ในประเทศ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ยังผลให้ประเทศไทยต้องรับภาระดูแลชาวต่างชาติดังกล่าวมากขึ้นทุกปี และยังต้องนำงบประมาณของประเทศอีกจำนวนมากมาดูแลแรงงานเหล่านี้นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยต้องรับภาระดูแลชาวต่างชาติเหล่านี้ ยังส่งผลให้อัตราประชากรเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนนำไปสู้ปัญหาชุมชนแออัดเพิ่มมากขึ้นในเขตเมืองหลวงและเขตอุตสาหกรรมตามพื้นที่ต่างๆ

แนวทางแก้ไขปัญหา

1.นโยบายการจดทะเบียนแรงงานต่างชาติควรจะมีการเปิดโอกาสให้จดทะเบียนได้ตลอดทั้งปี เพื่อสอดรับการหมุนเวียนแรงงานตามความต้องการแรงงานในตลาด

2.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการจัดหางานควรทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจ้างงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง โดยให้แรงงานมาขึ้นทะเบียนโดยตรงกับสำนักงานจัดหางาน และให้นายจ้างทำสัญญาจ้างกับลูกจ้าง เพราะการที่ให้นายจ้างพาลูกจ้างมาจดทะเบียนนั้นเป็นช่องว่างให้นายจ้างหลีกเลี่ยงที่จะจดทะเบียนได้ง่ายและจะทำให้แรงงานกลายเป็นเพียงทรัพย์สินของนายจ้างเท่านั้น รวมทั้งการจัดทำเอกสารหรือสื่อต่างๆ ควรมีภาษาของแรงงานต่างชาติเหล่านี้ด้วย เพื่อให้แรงงานเหล่านี้เข้าใจขั้นตอนการจดทะเบียน เพื่อขออนุญาตทำงานอย่างถูกต้องครบถ้วน

3.ภาครัฐจะต้องมีการจัดทำกลไกการคุ้มครองสิทธิแรงงานตามกฎหมายที่แรงงานสามารถเข้าถึงได้จริง เช่น มีมาตรการลงโทษที่ชัดเจนใรกรณีที่นายจ้างยึดบัตรประจำตัวของแรงงานต่างชาติไว้ เป็นต้น

4.สร้างการมีส่วนร่วมของแรงงานละฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องมีตัวแทนของแรงงานไทยและแรงงานต่างชาติในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแรงงานต่างชาติในทุกระดับ เพื่อให้นโยบายมีมุมมมองที่หลากหลายและสอดคล้องกับความเป็นจริงที่สุด

                        การแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาตินั้นต้องใช้เวลาและความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศต้นทางของแรงงานเหล่านั้น ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องส่งเสริมให้ประเทศเพื่อนบ้านเหล่านั้นมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพื่อจะได้ไม่เข้ามาหางานทำในประเทศไทยถือเป็นการป้องกันการลักลอบเข้ามาเป็นแรงงานผิดกฎหมายได้ดีที่สุด และอาจทำให้ปัญหาแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายในประเทศไทยลดน้อยลงได้ (3)

ที่มา

1.พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนคืออะไร http://www.nhrc.or.th/2012/wb/th/contentpage.php?i...

2.ไทยเป็นภาคีในอนุสัญญาใดบ้าง http://www.l3nr.org/posts/467177

3.ปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศและแนวทางการแก้ไขและพัฒนา https://sites.google.com/site/30318hayatee/6-payha...

 1-3 ค้นหาเมื่อ 16 พ.ค. 2557

หมายเลขบันทึก: 568215เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 00:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท